ข้ามไปเนื้อหา

ชาวนฺหวี่เจิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชาวนฺหวี่เจิน
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม女眞
อักษรจีนตัวย่อ女真
ชื่อเกาหลีใต้
ฮันกึล
여진
ชื่อคีตัน
คีตันdʒuuldʒi[2]

นฺหวี่เจิน (จีน: 女真) เป็นกลุ่มคนที่พูดภาษาตุงกูซิกในเอเชียตะวันออกสืบเชื้อสายมาจากชาวตงหู[3] อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีนหรือที่เรียกว่าแมนจูเรียก่อนศตวรรษที่ 18 หฺวัง ไท่จี๋ เปลี่ยนชื่อนฺหวี่เจินเป็นแมนจูในปี ค.ศ. 1635[4] กลุ่มชาวนฺหวี่เจินกลุ่มต่าง ๆ ใช้ชีวิตเป็นนักล่าสัตว์ คนเลี้ยงสัตว์กึ่งเร่ร่อน หรือเกษตรกร

ราชวงศ์หมิงจำแนกพวกเขาออกเป็น 3 กลุ่มซึ่งสะท้อนความใกล้ชิดกับหมิง:

  1. เจี้ยนโจว นฺหวี่เจิน (จีน: 建州) นฺหวี่เจินบางส่วนผสมกับเกาหลีและจีนอาศัยอยู่ใกล้กับแม่น้ำมูดาน ภูเขาฉางไป่ และเหลียวตง พวกเขาได้ชื่อว่าตัดเย็บเสื้อผ้าได้คล้ายกับชาวจีน และดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์และตกปลา ทำการเกษตร ค้าขายไข่มุกและโสม
  2. ไห่ซี นฺหวี่เจิน (จีน: 海西) นฺหวี่เจินซึ่งตั้งชื่อตามแม่น้ำไห่ซีหรือซงฮัว เป็นชนเผ่าที่มีประชากรจำนวนมากและเป็นอิสระ ส่วนใหญ่เป็นผู้เลี้ยงสัตว์กึ่งเร่ร่อนทางตะวันตกและเกษตรกรผู้อยู่ประจำทางตะวันออก พวกเขาเป็นชาวนฺหวี่เจินที่ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากชาวมองโกล
  3. อี้เหริน นฺหวี่เจิน (จีน: 野人) บางครั้งใช้เรียกนฺหวี่เจินทั้งหมด โดยเจาะจงกว่านั้นหมายถึงชาวเมืองทางตอนเหนือของแมนจูเรียที่มีประชากรน้อย เหนือหุบเขาแม่น้ำเหลียวและซงฮัว โดยหาเลี้ยงตัวเองด้วยการล่าสัตว์ ตกปลา เลี้ยงหมู และเกษตรกรรมบางส่วน[5]

ชาวนฺหวี่เจินส่วนใหญ่เป็นที่รู้จักจากบรรพบุรุษของราชวงศ์จินและราชวงศ์ชิงที่พิชิตดินแดนจีน ราชวงศ์หลังซึ่งแต่เดิมเรียกตัวเองว่าจินยุคหลัง ก่อตั้งโดยหนูเอ่อร์ฮาชื่อ ผู้บัญชาการของเจี้ยนโจว นฺหวี่เจิน ผู้ซึ่งรวบรวมชนเผ่านฺหวี่เจินส่วนใหญ่ให้เป็นปึกแผ่น รวมประชากรทั้งหมดของพวกเขาเข้ากับกองทหารที่สืบทอดกันมาซึ่งรู้จักกันในชื่อแปดกองธงและอุปถัมภ์การสร้างอักษรสำหรับภาษาของตนซึ่งอิงจากอักษรมองโกล ในปี ค.ศ. 1635 คำว่า แมนจู ถูกกำหนดให้เป็นชื่อเดียวสำหรับชนชาตินั้น

อ้างอิง

[แก้]
  1. Grand Dictionnaire Ricci de la Langue Chinoise, Vol. IV, Paris: Institut Ricci, 2001, p. 697. (ในภาษาฝรั่งเศส) & (ในภาษาจีน)
  2. "遼朝國號非「哈喇契丹(遼契丹)」考]" [The State Name of the Liao Dynasty was not “Qara Khitai (Liao Khitai )”] (PDF). 愛新覚羅烏拉熙春女真契丹学研究 (ภาษาจีน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 27 September 2011.
  3. Zarrow, Peter (2015-09-23). Educating China: Knowledge, Society and Textbooks in a Modernizing World, 1902–1937 (ภาษาอังกฤษ). Cambridge University Press. p. 191. ISBN 978-1-107-11547-7. Fan and Han noted that the Jurchens were of the Eastern Hu race (Donghuzu)
  4. Lee, Lily Xiao Hong; Wiles, Sue (2014-03-13). Biographical Dictionary of Chinese Women: Tang Through Ming, 618-1644 (ภาษาอังกฤษ). M.E. Sharpe. p. 222. ISBN 978-0-7656-4316-2. The Jin dynasty was established by the Jurchen people, ancestors of the Manchus who later founded the Qing dynasty.
  5. Roth Li 2002, pp. 11–13.

แหล่งข้อมูล

[แก้]