ภาษาคีตัน
ภาษาคีตัน | |
---|---|
ประเทศที่มีการพูด | จีนตอนเหนือ, มองโกเลียตอนใต้, ไซบีเรียตะวันออก |
ภูมิภาค | เหนือ |
สูญแล้ว | ประมาณ ค.ศ. 1243 (Yelü Chucai, บุคคลสุดท้ายที่สามารถพูดและเขียนภาษาคีตัน) |
ตระกูลภาษา | เซอร์บี–มองโกลิก ?
|
ระบบการเขียน | อักษรคีตันใหญ่และอักษรคีตันเล็ก |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | zkt |
นักภาษาศาสตร์ | zkt |
ภาษาคีตัน ( ในอักษรใหญ่ หรือ ในอักษรเล็ก, Khitai;[2] จีน: 契丹語, Qìdānyǔ) เป็นภาษาที่เคยใช้พูดในหมู่ชาวคีตัน มีอักษรเป็นของตนเองคืออักษรคีตันซึ่งมีสองแบบคืออักษรเล็กกับอักษรใหญ่ อักษรใหญ่ได้อิทธิพลจากอักษรจีน ส่วนอักษรเล็กประดิษฐ์โดยเดียลา เมื่อ พ.ศ. 1468 โดยได้แรงดลใจจากอักษรอุยกูร์ ภาษาคีตันเป็นภาษากลุ่มมองโกลและเป็นภาษารูปคำติดต่อ อักษรของชาวคีตันเป็นต้นแบบของอักษรจูร์เชนของชาวจูร์เชนที่เป็นบรรพบุรุษของชาวแมนจู
การจัดอันดับ
[แก้]ภาษาคีตันดูเหมือนมีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มภาษามองโกล;[3] Juha Janhunen กล่าวว่า "ความคิดที่ได้รับการสนับสนุนว่าภาษาคีตันเป็นภาษาที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากภาษากลุ่มมองโกเลียที่รู้จักกันในอดีต ถ้ามุมมองนี้พิสูจน์ว่าถูกต้อง ดังนั้น ภาษาคีตันจึงควรจัดเป็นภาษาพารา-มองโกลิก"[1]
Alexander Vovin (2017) โต้แย้งว่าภาษาคีตันมีคำยืมภาษาตระกูลเกาหลีบางคำ[4] เนื่องจากทั้งราชวงศ์โครยอของเกาหลีและราชวงศ์เหลียวของคีตันอ้างว่าเป็นผู้สืบทอดจากอาณาจักรโคกูรยอ จึงมีความเป็นไปได้ว่าศัพท์ภาษาเกาหลีในภาษาคีตันยืมมาจากภาษาโคกูรยอ[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Janhunen 2006, p. 393.
- ↑ "Khitan". Omniglot (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-08-24.
- ↑ Herbert Franke, John King Fairbank, Denis Crispin Twitchett, Roderick MacFarquhar, Denis Twitchett, Albert Feuerwerker. The Cambridge History of China, Vol. 3: Sui and T'ang China, 589–906. Part 1, p.364
- ↑ 4.0 4.1 Vovin 2017, p. 207.
บรรณานุกรม
[แก้]- Janhunen, Juha (2006). "Para-Mongolic". ใน Janhunen, Juha (บ.ก.). The Mongolic Languages (ภาษาอังกฤษ). Routledge. pp. 391–402. ISBN 978-1-135-79690-7.
- Vovin, Alexander (2017). "Koreanic Loanwords in Khitan and Their Importance in the Decipherment of the Latter". Acta Orientalia Academiae Scientiarum Hungaricae (ภาษาอังกฤษ). 70 (2): 207–215. doi:10.1556/062.2017.70.2.4.