ชะนี
ชะนี ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 13.8–0Ma สมัยไมโอซีนตอนปลาย–ปัจจุบัน | |
---|---|
ชะนีแก้มขาว (Nomascus leucogenys) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Primates |
วงศ์ใหญ่: | Hominoidea |
วงศ์: | Hylobatidae Gray, 1870 |
สกุล | |
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของชะนีทั้ง 4 สกุล |
ชะนี (วงศ์: Hylobatidae; อังกฤษ: Gibbons; ภาษาเหนือ: อี่ฮุย, อี่วุย) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับวานร (Primates) เป็นลิงไม่มีหาง ซึ่งชะนีถูกจัดให้อยู่ในวงศ์ Hylobatidae และถูกจัดให้เป็น 1 ใน 4 ลิงที่มีความใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุด (ประกอบไปด้วย ชะนี ชิมแปนซี อุรังอุตัง กอริลลา ซึ่งชะนีมีความใกล้เคียงมนุษย์น้อยที่สุดในบรรดาทั้ง 4 นี้ เนื่องจากมีแขนขาเรียวยาว มีฟันเขี้ยวที่แหลมคม และใช้ชีวิตหากินอยู่บนต้นไม้มากกว่าพื้นดิน)[2] ซึ่งนับว่าชะนีมีแขนที่ยาวที่สุดในบรรดาสัตว์อันดับวานรทั้งหมด[3] และมีฟันที่เขียนเป็นสูตรได้ว่า [4]
ชนิด
[แก้]มีทั้งหมด 4 สกุล [5]) แบ่งได้ออกเป็น 18 ชนิด 10 ชนิดพบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ 2 ชนิด พบในเอเชียใต้และจีนตอนใต้
สำหรับในประเทศไทยพบทั้งหมด 4 ชนิด คือ
- ชะนีมือดำ (Hylobates agilis)
- ชะนีมือขาว (Hylobates lar)
- ชะนีมงกุฎ (Hylobates pileatus)
- ชะนีเซียมัง (Symphalangus syndactylus)
ลูกผสม
[แก้]ชะนีหลายชนิดจำแนกได้ยากตามสีของขน ดังนั้นจึงระบุได้ด้วยเสียงหรือพันธุกรรม[6] ความคลุมเครือทางสัณฐานวิทยาเหล่านี้นำไปสู่การผสมพันธุ์ในสวนสัตว์ สวนสัตว์มักจะได้รับชะนีที่ไม่ทราบแหล่งกำเนิด ดังนั้นพวกมันจึงต้องอาศัยการแปรผันทางสัณฐานวิทยาหรือฉลากที่ไม่สามารถตรวจสอบได้เพื่อกำหนดชนิดพันธุ์และชื่อชนิดย่อย ดังนั้นชะนีที่แยกจากกันโดยทั่วไปจึงมีการระบุอย่างไม่ถูกต้องและอยู่รวมกัน ลูกผสมต่างชนิดภายในสกุลหนึ่ง ยังสงสัยว่าจะเกิดขึ้นในชะนีป่าซึ่งมีที่อยู่ทับซ้อนกัน[7] อย่างไรก็ตาม ไม่มีบันทึกลูกผสมที่ไม่เป็นหมันระหว่างชะนีชนิดต่าง ๆ ทั้งในป่าหรือในสวนสัตว์[8]
ลักษณะและพฤติกรรม
[แก้]ชะนีส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในป่าดิบชื้นที่อุดมสมบูรณ์ โดยอยู่กันแบบครอบครัวที่มีผัวเดียวเมียเดียวไปตลอดชีวิต (อายุขัยโดยเฉลี่ย 25-30 ปี โดยที่ชะนีตัวเมียมีลูกได้สูงสุด 5 ตัว ตลอดอายุขัย[9]) แต่อยู่เป็นฝูง ฝูง ๆ หนึ่งมีสมาชิกตั้งแต่ 2-5 ตัว ชะนีมีแขนที่ยาวและแข็งแรงรวมทั้งมือ ใช้สำหรับห้อยโหนต้นไม้จากต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่งอย่างคล่องแคล่ว อาหารของชะนีหลัก ๆ คือ ส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น ใบไม้, ผลไม้และดอกไม้ เป็นต้น แต่อาจจะกินสัตว์ขนาดเล็กได้เพื่อเพิ่มโปรตีน โดยปกติแล้วชะนีจะใช้ชีวิตแทบทั้งหมดอยู่บนต้นไม้สูง จะลงมาพื้นดินก็แค่ดื่มน้ำหรือเหตุอย่างอื่น ซึ่งตามปกติชะนีจะดื่มน้ำโดยการควักล้วงจากโพรงไม้หรือเลียตามใบไม้
ความสัมพันธ์กับมนุษย์
[แก้]ชะนีเป็นสัตว์ที่มนุษย์รับรู้ดีว่า มีเสียงร้องที่สูงและดังมาก มีหลายโทนเสียงและหลายระดับหลากหลายมาก สำหรับติดต่อสื่อสารกัน ซึ่งแต่ละชนิดก็ร้องแตกต่างกันออกไป โดยเสียงร้องของชะนีมักจะร้องว่า "ผัว ๆ ๆ ๆ ๆ" ทั้งตัวเมียและตัวผู้ ดังนั้น บริบททางสังคมไทยที่มักมีการเปรียบเทียบคนกับคำอื่น ๆ เพื่อเหน็บแนม ประชดประชัน หรือด่าทออ้อม ๆ จึงหยิบคำว่า "ชะนี" มาใช้เป็นศัพท์สแลงที่หมายความถึง ผู้หญิงที่มีกิริยาม้าดีดกะโหลกจนน่าหมั่นไส้ ซึ่งมีที่มาจากนิทานพื้นบ้านของไทยเรื่อง จันทโครพ ที่นางโมราเมื่อได้ให้พระขรรค์แก่โจรป่าฆ่าจันทโครพผู้เป็นสามีแล้ว ก็ถูกพระอินทร์สาบให้กลายร่างเป็นชะนีร้องเรียกหาผัวไป[10]
ชะนีทุกชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2535
เชื่อว่าการถูกชะนีกัด หรือข่วนมีโอกาสติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี จากชะนีได้ หากผู้ที่ถูกกัดไม่มีภูมิต้านทานโรค [11]
ความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการของสัตว์ชนิดนั้นกับญาติ
[แก้]ลิงไม่มีหางหรือ Apes มีสายวิวัฒนาการมาจากลิงโลกเก่า แบ่งได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ ชะนี อุรังอุตัง กอริลล่า และชิมแพนซี จากการศึกษาสารพันธุกรรมทำให้เราทราบว่า เอพแอฟริกา ได้แก่ กอริลล่าและชิมแพนซีนั้นมีความใกล้ชิดทางสายวิวัฒนาการกับมนุษย์มากกว่า Apes เอเชีย ซึ่งได้แก่ ชะนีและอุรังอุตัง ซึ่งมีจำนวนโครโมโซม 48 อัน ในขณะที่มนุษย์มี 46 อัน โดยเฉพาะชิมแพนซีนั้น มีหมู่เลือด ABO เช่นเดียวกับมนุษย์ และจากหลักฐานทางชีววิทยาระดับโมเลกุลพบว่าดีเอ็นเอของมนุษย์มีความคล้ายกันกับชิมแพนซีถึง 98.4% นอกจากนี้หลักฐานดังกล่าวยังทำให้สันนิษฐานได้ว่าบรรพบุรุษของมนุษย์ วิวัฒนาการแยกจากลิงไม่มีหางเมื่อประมาณ 7.5-4 ล้านปีที่ผ่านมา [12]
การปรับตัวเชิงวิวัฒนาการด้านต่าง ๆ ของสัตว์
[แก้]เขตครอบครอง
[แก้]ในการเลี้ยงลูกอ่อน และมีการป้องกันมิให้ชะนีครอบครัวอื่นรุกล้ำเข้ามาใน เขตครอบครอง (territory) แต่ละกลุ่มจะอาศัยอยู่ในเขตครอบครองเฉพาะของมันในป่า ตลอดการดำรงชีพของมัน จะมีการประกาศเขตครอบครองโดยวิธีการส่งเสียงร้อง ซึ่งจะแตกต่าง กันไปตามชนิดของชะนี ซึ่งเป็นประโยชน์ที่ใช้เสียงร้องในการจำแนกชนิดและเพศของชะนี ในชะนีธรรมดาและชะนีมือดำ ตัวเมียจะเริ่มส่งเสียงร้องก่อน และเมื่อตัวเมียร้องจบตัวผู้จะขานรับต่อ เสียงร้องของชะนีตัวเมียทั้งสองชนิดนี้จะคล้ายกันมาก แต่เสียงร้องของตัวผู้จะต่างกัน ส่วนในชะนีมงกุฎ ขณะที่ตัวเมียยังร้องไม่จบ ตัวผู้จะร้องรับขึ้นมาเสียงร้องของชะนีจะร้องซ้ำกันทุก ๆ ประมาณ 1-3 นาที และร้องอยู่นานประมาณ 10-30 นาที [13]
สภาพถิ่นที่อยู่อาศัย
[แก้]ชะนีมีกระจายอยู่เฉพาะในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น ซึ่งมีลักษณะของภูมิอากาศร้อน และมีความชุ่มชื้น เรียก Tropical zone จะอาศัยอยู่แต่ในเฉพาะในป่าดงดิบที่มีต้นไม้ขึ้นอยู่หนาแน่น Evergreen forest ชะนีเป็นสัตว์ที่ไม่สร้างรัง แต่จะเลือกต้นไม้ที่สูงใหญ่และมีเรือนยอดหนาทึบเป็นที่อยู่อาศัย มักจะนอนบนต้นไม้ที่สูงใหญ่มีความสูงตั้งแต่ 25 เมตร ขึ้นไป และส่วนมากมักจะเป็นต้นไม้ใน สกุลยางในการนอน ชะนีแต่ละตัวแยกกันนอนต้นไม้คนละต้นไม่นอนรวมกัน นอกจากลูกอ่อน เท่านั้นที่จะนอนบนต้นเดียวกันกับแม่ [14]
การหากิน
[แก้]ชะนีเป็นสัตว์ที่กินพืชเป็นอาหารหลักซึ่งประกอบด้วยผลไม้ ใบไม้อ่อน ยอดอ่อน นอกจากนี้ชะนี ยังสามารถกินสัตว์เล็ก ๆ เป็นอาหารได้ พวกแมลงต่าง ๆ เช่น ปลวก มด ชะนี จะมีการดำเนินชีวิตเกือบทั้งหมดอยู่บนต้นไม้ ไม่ว่าจะหาอาหาร การพักผ่อนตลอดจนพฤติกรรมต่าง ๆ จะห้อยโหนไปมาจากกิ่งไม้หนึ่งไปยังกิ่งอื่น ๆ อย่างคล่องแคล่ว นอกจากนี้ชะนียังสามารถเดิน ด้วยสองขา ไต่ไปตามต้นไม้อย่างชำนาญ มักจะไม่พบชะนีลงมาหากินบนพื้นดินนอกจากคราวจำเป็น เช่น ในช่วงฤดูแล้ง น้ำตามกิ่งไม้ โพรงไม้แห้ง จึงจำเป็นต้องลงมาหาแหล่งน้ำ บนพื้นดินวิธีการกินน้ำของชะนีแบ่งเป็นสามแบบ ดังนี้ 1. ใช้มือจุ่มลงไปในน้ำแล้วยกขึ้นดูดน้ำจากขนบริเวณหลังมือ 2. เลียน้ำที่เกาะอยู่ตามใบไม้ กิ่งไม้หรือตามส่วนต่าง ๆ ของ ต้นไม้ที่มีน้ำเกาะอยู่ 3. ก้มลงกินน้ำจากแหล่งน้ำโดยตรง ซึ่งมักจะเป็นแหล่งน้ำที่ใหญ่ พอที่จะสามารถก้มลงกินได้ [15]
รูปภาพ
[แก้]-
เซียมมัง เป็นชะนีที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และมีเสียงร้องดังที่สุด[16]
-
เสียงร้องของชะนีมือขาว
-
ชะนีมือขาว หรือชะนีธรรมดา ชะนีชนิดที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ["A New Generic Name for the Hoolock Gibbon (Hylobatidae) (อังกฤษ)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-11-12. สืบค้นเมื่อ 2012-09-01. A New Generic Name for the Hoolock Gibbon (Hylobatidae) (อังกฤษ)]
- ↑ "ตีแผ่ชีวิตชะนี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-02. สืบค้นเมื่อ 2012-10-20.
- ↑ วิถีวานร, "พินัยกรรมธรรมชาติ". สารคดีทางทีวีไทย: ศุกร์ที่ 18 มกราคม 2556
- ↑ Myers, P. 2000. Family Hylobatidae, Animal Diversity Web. Accessed April 05, 2011-04-05.
- ↑ จาก itis.gov (อังกฤษ)
- ↑ Tenaza, R. (1984). "Songs of hybrid gibbons (Hylobates lar × H. muelleri)". American Journal of Primatology. 8 (3): 249–253. doi:10.1002/ajp.1350080307. PMID 31986810. S2CID 84957700.
- ↑ Sugawara, K. (1979). "Sociological study of a wild group of hybrid baboons between Papio anubis and P. hamadryas in the Awash Valley, Ethiopia". Primates. 20 (1): 21–56. doi:10.1007/BF02373827. S2CID 23061688.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อCarbone et al. 2014
- ↑ China's Last Elephants, "China Uncovered" สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: เสาร์ที่ 26 มกราคม 2556
- ↑ ฟ้าวันใหม่สุดสัปดาห์ 310 05 58 เบรก 2
- ↑ ชะนีมงกุฎ..สัตว์น่ารัก แต่เป็นพาหะนำไวรัสฯบี ไทยรัฐ 5 มิ.ย. 50
- ↑ [1]
- ↑ [2][ลิงก์เสีย]
- ↑ [3][ลิงก์เสีย]
- ↑ [4][ลิงก์เสีย]
- ↑ เซียมมัง[ลิงก์เสีย]