ข้ามไปเนื้อหา

ชะนีเซียมัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชะนีเซียมัง
เสียงร้อง
ถุงลมที่ป่องออกขณะร้อง
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Primates
วงศ์ใหญ่: Hominoidea
วงศ์: Hylobatidae
สกุล: Symphalangus
Gloger, 1841
สปีชีส์: S.  syndactylus
ชื่อทวินาม
Symphalangus syndactylus
(Raffles, 1821)
ชนิดย่อย
  • S. s. continentis
  • S. s. syndactylus
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของชะนีเซียมัง
ชื่อพ้อง[1]
  • Hylobates syndactylus (Raffles, 1821)
  • Symphalangus continentis Thomas, 1908
  • Symphalangus gibbon (Miller, 1779)
  • Symphalangus subfossilis Hooijer, 1960
  • Symphalangus volzi (Pohl, 1911)

ชะนีเซียมัง หรือ เซียมมัง หรือ ชะนีดำใหญ่ (มลายู: Siamang; แปลว่า "ลิงสยาม"; ชื่อวิทยาศาสตร์: Symphalangus syndactylus) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับวานรชนิดหนึ่ง เป็นสัตว์จำพวกชะนี ซึ่งเป็นชะนีชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก จัดเป็นเพียงชนิดเดียวในสกุล Symphalangus[2]

มีรูปร่างคล้ายชะนีทั่วไป แต่มีรูปร่างและลำตัวใหญ่กว่ามาก ขนาดโตเต็มที่มีความยาวลำตัวและหัว 75-90 เซนติเมตร น้ำหนักในเพศผู้ 10.9 กิโลกรัม ตัวเมีย 10.6 กิโลกรัม ขนมีสีดำทั้งตัวทั้งตัวผู้และตัวเมีย มีลักษณะเด่นคือ บริเวณลำคอมีถุงสีเทาปนชมพู โดยถุงดังกล่าวจะป่องออกขณะที่ส่งเสียงร้อง โดยชะนีเซียมังจัดเป็นชะนีที่ร้องได้ดังที่สุด

มีการกระจายพันธุ์ในเขตใต้สุดของไทย, มาเลเซียและเกาะสุมาตรา มี 2 ชนิดย่อย คือ S. s. syndactylus พบในมาเลเซีย และ S. s. continentis พบที่เกาะสุมาตรา อาศัยอยู่ในป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้น

อาหารหลัก ได้แก่ ใบไม้, ผลไม้, ดอกไม้และสัตว์ที่มีขนาดเล็ก อาศัยอยู่รวมกันเป็นครอบครัวแบบผัวเดียวเมียเดียวที่มีลูกอาศัยอยู่ด้วยกัน โดยชะนีเซียมังแต่ละฝูงมีสมาชิกประมาณ 3-5 ตัว แต่ตัวผู้จะเป็นฝ่ายเลี้ยงดูลูกด้วยตัวเอง ซึ่งแตกต่างไปจากชะนีชนิดอื่น ที่ตัวเมียจะเป็นฝ่ายดูแลลูก ในสถานที่เลี้ยงมีอายุขัยประมาณ 35 ปี[3]

ชะนีเซียมัง ในสวนสัตว์ในประเทศไทยมีอยู่เพียงที่เดียวเท่านั้น คือ สวนสัตว์เปิดเขาเขียว จังหวัดชลบุรี เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 ได้มีลูกชะนีเซียมังเกิดขึ้นมาใหม่[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Eudey et al (2000). Symphalangus syndactylus. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 11 May 2006.
  2. genus Symphalangus
  3. "ฮาลา-บาลา... ป่าเพื่อชีวิต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-16. สืบค้นเมื่อ 2008-02-29.
  4. [https://web.archive.org/web/20120728140109/http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9550000085614 เก็บถาวร 2012-07-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สวนสัตว์เขาเขียวเฮ ได้สมาชิกใหม่ลูก"ชะนีเซียมัง" ที่มีเพียงแห่งเดียวในไทย จากผู้จัดการออนไลน์]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Symphalangus syndactylus ที่วิกิสปีชีส์