ชะนีมือดำ
ชะนีมือดำ | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Primates |
วงศ์: | Hylobatidae |
สกุล: | Hylobates |
สปีชีส์: | H. agilis |
ชื่อทวินาม | |
Hylobates agilis F. Cuvier, 1821 | |
ชนิดย่อย | |
| |
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ |
ชะนีมือดำ (อังกฤษ: Agile gibbon, Black-handed gibbon) เป็นชะนีชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hylobates agilis
จัดเป็นหนึ่งในสี่ชนิดของชะนีที่สามารถพบได้ในประเทศไทย ชะนีมือดำดั้งเดิมเคยถูกจัดให้เป็นชนิดย่อยของชะนีมือขาวหรือชะนีธรรมดา (H. lar) เช่นเดียวกับชะนีมงกุฎ (H. pileatus) แต่เมื่อมีการศึกษาเพิ่มเติมพบว่ามีบางอย่างที่แตกต่างออกไป เช่น เสียงร้องที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะกว่าและการแพร่กระจายพันธุ์ จึงจัดให้เป็นชนิดใหม่
ชะนีมือดำมีลักษณะทั่วไปคล้ายกับชะนีมือขาว โดยสีของลำตัวจะมีทั้งสีเทา, ดำ และสีน้ำตาลแก่ ซึ่งความแตกต่างของสีนี้จะไม่เกี่ยวกับเพศหรือวัยเช่นเดียวกับในชะนีมือขาว โดยที่ตัวใดเกิดเป็นสีใดก็จะเป็นสีนั้นไปตลอด ชะนีมือดำจะแตกต่างจากชะนีมือขาวตรงที่ขนที่มือและเท้าเป็นสีดำ อันเป็นที่มาของชื่อ บริเวณกระหม่อมแบนกว่า และมีขนข้างส่วนหัวยาวกว่า ทำให้เวลาดูทางด้านหน้าส่วนหัวจะเป็นรูปสามเหลี่ยม ในขณะที่ส่วนหัวของชะนีมือขาวจะดูเป็นรูปกลม
มีการแพร่กระจายพันธุ์ในประเทศไทย เฉพาะในป่าดิบภาคใต้ตอนล่างที่ติดกับมาเลเซียเท่านั้น จากนั้นจะพบได้ตลอดทั้งแหลมมลายู จนถึงเกาะสุมาตราและเกาะบอร์เนียว ขณะที่นิเวศวิทยาและพฤติกรรมก็คล้ายคลึงกับชะนีชนิดอื่น ๆ สถานะการอนุรักษ์ในอนุสัญญาไซเตสจัดให้อยู่ในบัญชีหมายเลข 1 (Appendix I) คือ ห้ามค้าขายหรือมีไว้ครอบครองเด็ดขาด เว้นแต่จะเป็นไปเพื่อการศึกษาหรือวิจัยขยายพันธุ์[2][3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Geissmann, T. & Nijman, V. (2008). Hylobates agilis. In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 4 January 2009.
- ↑ ชะนีมือดำ[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ชะนีมือดำ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-10. สืบค้นเมื่อ 2011-05-13.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Hylobates agilis ที่วิกิสปีชีส์