ข้ามไปเนื้อหา

จามปา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จามปา
ค.ศ. 192–ค.ศ. 1832
สีเขียว คือ ท้องที่ของรัฐจามปาเมื่อราว ค.ศ. 1000–1100 ตั้งอยู่ตามชายฝั่งซึ่งปัจจุบันเป็นเวียดนาม, สีเหลืองทางเหนือ คือ รัฐดั่ยเหวียตของเวียดนาม, สีฟ้าทางตะวันตก คือ รัฐเขมร
สีเขียว คือ ท้องที่ของรัฐจามปาเมื่อราว ค.ศ. 1000–1100 ตั้งอยู่ตามชายฝั่งซึ่งปัจจุบันเป็นเวียดนาม, สีเหลืองทางเหนือ คือ รัฐดั่ยเหวียตของเวียดนาม, สีฟ้าทางตะวันตก คือ รัฐเขมร
เมืองหลวง
ภาษาทั่วไปจาม, สันสกฤต, มาเลย์เก่า
ศาสนา
พื้นบ้าน, ฮินดู, พุทธ, อิสลามนิกายซุนนี
การปกครองราชาธิปไตย
ประวัติศาสตร์ 
• ก่อตั้ง
ค.ศ. 192
• ราชวงศ์งฺเหวียน (Nguyễn) ของเวียดนามผนวกเมืองหลวงของจามปา
ค.ศ. 1832
ถัดไป
ราชวงศ์เหงียน
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ เวียดนาม
 ลาว
 กัมพูชา

จามปา (อักษรโรมัน: Champa; เวียดนาม: Chăm Pa) เป็นกลุ่มรัฐอิสระของชาวจาม (Cham) ที่ตั้งอยู่ทั่วชายฝั่งซึ่งปัจจุบันคือภาคกลางและภาคใต้ของเวียดนาม ดำรงอยู่ตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 2 จนถูกจักรพรรดิมิญ หมั่ง (Minh Mạng) ผนวกเข้ากับเวียดนามเมื่อ ค.ศ. 1832[1]

ในภูมิภาคนี้ รัฐหลินอี้ (จีน: 林邑; เวียดนาม: Lâm Ấp) ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 192 ดำรงอยู่มาก่อนรัฐจามปา แต่ความเกี่ยวเนื่องระหว่างหลินอี้กับจามปานั้นยังไม่อาจระบุให้ชัดแจ้งได้ รัฐจามปารุ่งเรืองถึงขีดสุดในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 9 และ 10 แต่หลังจากนั้นก็เริ่มตกต่ำเพราะถูกกดดันจากรัฐดั่ยเหวียต (Đại Việt) ที่ตั้งอยู่ ณ ดินแดนซึ่งปัจจุบันคือห่าโหน่ย (Hà Nội) ครั้น ค.ศ. 1832 จักรพรรดิมิญ หมั่ง ผนวกแว่นแคว้นต่าง ๆ ของรัฐจามปาเข้ากับเวียดนามเป็นผลสำเร็จ เป็นอันสิ้นสุดรัฐจามปา

ชาวจามที่ปัจจุบันอาศัยอยู่ในเวียดนามและกัมพูชาคือผู้คนที่ตกค้างจากรัฐจามปาโบราณนี้ ชาวจามใช้ภาษาจาม (Chamic) ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของภาษามาลาโย-โพลีเนเซีย (Malayo-Polynesian) ที่สัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาษามาเลย์อิก (Malayic) และภาษา Bali–Sasak–Sumbawa

ในคริสต์ศตวรรษที่ 4 รัฐจามปารับศาสนาฮินดูเข้ามาจากฟูนาน (Funan) รัฐเพื่อนบ้านที่ขัดแย้งกันจนถูกจามปาพิชิตได้ในที่สุด ศาสนาฮินดูช่วยหล่อหลอมศิลปะและวัฒนธรรมของจามปาตลอดมาหลายร้อยปี ดังปรากฏในศาสนวัตถุและศาสนสถานทั่วพื้นที่จามปา ทุกวันนี้ ชาวจามปาส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามซึ่งเปลี่ยนมาเข้ารีตกันตั้งแต่คริสต์ศตวรรษ 10 และเป็นที่ยอมรับของราชวงศ์อย่างเต็มที่ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 แต่ผู้ถือศาสนาฮินดูก็ยังมีอยู่ และยังมีพิธีกรรมและเทศกาลต่อไปตามประเพณี ชาวฮินดูกลุ่มนี้เป็นหนึ่งในฮินดูนอกอินเดียสองกลุ่มดั้งเดิมที่หลงเหลืออยู่ในโลก โดยมีวัฒนธรรมย้อนหลังไปได้หลายพันปี ฮินดูอีกกลุ่ม คือ ฮินดูบาหลี (Balinese Hinduism) ในอินโดนีเซีย[1]

ดินแดนหลายแห่งซึ่งเคยเป็นของจามปา เช่น หมีเซิน (Mỹ Sơn) ศูนย์กลางทางศาสนา และโห่ยอาน (Hội An) เมืองท่า ได้รับการประกาศให้เป็นแหล่งมรดกโลก

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Parker, Vrndavan Brannon. "Vietnam's Champa Kingdom Marches on". Hinduism Today. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-07. สืบค้นเมื่อ 21 November 2015.

แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม

[แก้]
  • ณัฐพล อยู่รุ่งเรืองศักดิ์. (2557). อาณาจักรจัมปา: อาณาจักรฮินดูในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. ใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เบ้าหลอมอารยธรรมสำคัญของโลก. บรรณาธิการโดย วรพร ภู่พงศ์พันธุ์ และคนอื่นๆ. หน้า 183-223. กรุงเทพ: โครงการวิจัย “ปริทรรศน์ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” (สกว.).