คลูโด
ผู้จัดทำ | ฮัสโบร วัดดิงตันส์ พาร์เกอร์ บราเธอร์ วินนิง มูฟส์ |
---|---|
วันที่ออกจำหน่าย | 1950 |
จำนวนผู้เล่น | 3 - 6 คน |
ระยะเวลาติดตั้ง | 5 นาที |
ระยะเวลาเล่น | 10 - 60 นาที |
โอกาสสุ่ม | น้อย (ทอยลูกเต๋า) |
ทักษะที่จำเป็น | การเบี่ยงเบนความสนใจ |
คลูโด (Cluedo หรือ Clue ในเวอร์ชันของอเมริกาเหนือ) เป็นเกมกระดานแนวฆาตกรรมสืบสวนสอบสวน สำหรับผู้เล่น 3 – 6 คน คิดค้นเมื่อปี ค.ศ. 1949 โดย แอนโทนี เออร์เนสต์ แพรตต์ และวางจำหน่ายครั้งแรกในปี ค.ศ. 1950 โดยบริษัทแรกที่ผลิตเกมคือ วัดดิงตันส์ ในสหราชอาณาจักร ปัจจุบันสิทธิของการผลิตตกเป็นของฮัสโบร ตัวเกมมีวัตถุประสงค์ให้ผู้เล่นหาตัวคนร้าย สถานที่เกิดเหตุ และใช้อาวุธใดในการฆาตกรรม และด้วยวัตถุประสงค์นี้เองที่ทำให้เกมนี้ได้รับความนิยม จนกระทั่งมีการนำไปทำเป็นนวนิยาย ภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ อัลบั้มเพลง รายการเกมโชว์ทางโทรทัศน์ และยังได้พัฒนาเป็นเกมบนคอมพิวเตอร์และสมาร์ตโฟนอีกด้วย[1]
ประวัติ
[แก้]ในปี 1944 แอนโทนี เออร์เนสต์ แพรตต์ นักดนตรีชาวอังกฤษ ได้จดสิทธิบัตรเกมกระดานแนวฆาตกรรมสืบสวนสอบสวน เมอร์เดอร์ (Murder!)[2] ซึ่งเป็นต้นแบบของคลูโดในปัจจุบัน และหลังจากนั้นไม่นานเขาและเอลวา แพรตต์ ภรรยาได้ร่วมกันคิดค้นเกมกระดานใหม่ โดยนำเสนอให้ผู้จัดการของวัดดิงตันส์ นอร์มัน วัตสัน และนอร์มันได้ทำการซื้อทันที และได้จัดจำหน่ายในชื่อ คลูโด (Cluedo) โดยชื่อนี้มาจากคำว่า Clue ที่แปลว่า เงื่อนงำ อันมาจากลักษณะของเนื้อเรื่องที่เป็นเหตุการณ์ฆาตกรรมที่มีเงื่อนงำ และคำว่า Ludo ซึ่งเป็นภาษาละติน แปลว่า ฉันเล่น ซึ่งก็มาจากลักษณะของเกมที่มีส่วนคล้ายเกมเกมกระดานในชื่อลูโด
แม้ว่าจะได้รับสิทธิบัตรในปี ค.ศ. 1947 แต่ภาวะขาดแคลนในช่วงหลังสงคราม ทำให้มีการเลื่อนการเปิดตัวเกมอย่างเป็นทางการในสหราชอาณาจักรไปจนถึงปี ค.ศ. 1949 [2] โดยพร้อมกันนั้น พาร์เกอร์ บราเธอร์ เป็นผู้ได้รับอนุญาตในสหรัฐ สำหรับการเผยแพร่โดยได้เปลี่ยนชื่อเป็น คลู (Clue)[3]
อุปกรณ์
[แก้]ในชุดเกมนี้จะประกอบไปด้วย กระดานที่จะแสดงห้องต่างในคฤหาสน์ชนบทแห่งหนึ่งของอังกฤษ ชื่อ คฤหาสน์ทิวดอร์ ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองแฮมป์เชอร์ ประเทศอังกฤษ ซึ่งเหตุการณ์เกิดขึ้นในปี 1926 หมากเดิน 6 ตัว คละสีกันซึ่งมี สีแดง สีน้ำเงิน สีเขียว สีเหลือง สีม่วง สีขาว หมากอาวุธ 6 ชนิด(บางก็เป็นไพ่เล็กๆ แสดงอาวุธ) ไพ่ห้องในคฤหาสน์ 9 ใบ ไพ่คนร้าย 6 ใบ ไพ่อาวุธ 6 ใบ ลูกเต๋า 2 ลูก ซองเอกสารสำหรับใส่ไพ่ที่จะกำหนดว่า ใครเป็นผู้ร้าย ฆาตกรรมสถานที่ใด ใช้อะไรในการฆ่า และกระดาษตารางโน้ตสำหรับใช้ในการสอบสวน ซึ่งผู้เล่นสามารถไม่ใช้มันในการเล่นได้
คนร้าย
[แก้]ในแต่ละเวอร์ชันก็จะมีตัวละครแตกต่างกันออกไป ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้ผลิตในแต่ละประเทศ แต่จะมีตัวละครมาตรฐานอยู่ 6 ตัวดังนี้
- "นางสาวสการ์เลต" (Miss Scalet) ในหมากสีแดง
- "ศาสตราจารย์พลัม" (Professor Plum) ในหมากสีม่วง
- "นางพีค็อก" (Mrs. Peacock) ในหมากสีน้ำเงิน
- "นายกรีน" (Mr. Green)[3] ในหมากสีเขียว
- "ผู้พันมัสตาร์ด" (Colonel Mustard) ในหมากสีเหลือง
- "นางไวท์" (Mrs. White) ในหมากสีขาว
อาวุธ
[แก้]ในแต่ละเวอร์ชันก็จะมีอาวุธแตกต่างกันออกไป บางเวอร์ชันมีถึง 9 ชิ้น ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้ผลิตในแต่ละประเทศ แต่จะมีอาวุธมาตรฐานอยู่ 6 ชิ้นดังนี้
ห้อง
[แก้]ในแต่ละเวอร์ชันก็จะมีห้องแตกต่างกันออกไป ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้ผลิตในแต่ละประเทศ แต่จะมีห้องมาตรฐานอยู่ 9 ห้องดังนี้
† | ห้องเต้นรำ | ‡ | ||||||
ห้องครัว | ห้องกระจก | |||||||
ห้องรับประทานอาหาร | "ห้องใต้ดิน" ใช้เป็น ที่วางซองเอกสาร |
ห้องสนุกเกอร์ | ||||||
ห้องสมุด | ||||||||
ห้องโถง | ||||||||
ห้องนั่งเล่น | ห้องเรียน | |||||||
‡ | † | |||||||
† ‡ เป็นช่องทางลับที่สามารถข้ามไปได้โดยไม่ต้องทอยลูกเต๋า
กติกา
[แก้]- แยกไพ่เป็น 3 กอง (1.ไพ่คนร้าย 2.ไพ่อาวุธ 3.ไพ่ห้อง)
- สับไพ่ แล้วเลือกไพ่มา 1 ใบ ใส่ซองเอกสาร
- รวมไพ่ที่เหลือ แล้วสับไพ่ แจกผู้เล่นจนไพ่หมด
- ผู้เล่นที่เล่นหมากสีแดง จะได้เริ่มเล่นก่อน (หรือถ้าไม่มีให้ยึดตามลำดับตัวละครด้านบน) และเล่นวนตามเข็มนาฬิกา
- เดินตามจำนวนที่ทอย
- ถ้าไม่สามารถเข้าห้องได้ ให้ข้ามไปคนต่อไป แต่ถ้าสามารถเข้าห้องได้ มี 2 กรณี
- ไม่สันนิษฐาน ให้ข้ามไปคนต่อไป
- สันนิษฐาน ให้สันนิษฐานว่า ใครเป็นคนฆ่า ใช้อะไรฆ่า ในห้องที่ตนเองอยู่ เมื่อสันนิษฐานแล้ว ให้นำหมากของผู้ต้องสงสัย และหมากอาวุธไว้วางไว้กับผู้สันนิษฐาน แล้วถามผู้เล่นที่อยู่ซ้ายมือ(คนต่อไป) ว่ามีในสิ่งที่ตนพูดไหม ถ้ามีอย่างใดอย่างหนึ่งให้โชว์ไพ่ต่อหน้าผู้ถาม ถ้ามีมากกว่าหนึ่งให้โชว์อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ถ้าไม่มีให้บอกว่าไม่มี เมื่อเสร็จแล้วให้ข้ามไปคนต่อไป ส่วนผู้ต้องสงสัยให้นำหมากไว้ในสถานที่นั้นเลย ไม่ต้องกลับที่จุดเริ่มต้น
- เมื่อกรณีที่จะตอบ ให้ตอบว่า ใครเป็นคนฆ่า ใช้อะไรฆ่า ในห้องอะไร[4] เมื่อตอบแล้วให้เปิดซองเอกสาร โดยห้ามให้ใครเห็นถ้าถูกทั้งสามอย่างถือว่าชนะ แต่ถ้าผิดอย่างใดอย่างหนึ่งถือว่าแพ้ ตัวเองไม่สามารถเดินได้ นำหมากออกจากกระดาน แต่ยังเป็นตัวยืนให้คนด้านขวาสอบถาม ถ้าไม่มีใครตอบถูก คนสุดท้ายที่ยังไม่ได้ตอบถือว่าชนะ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "The 11 Best Classic Board Game App for Your Phone". makeuseof. สืบค้นเมื่อ 4 September 2019.
- ↑ 2.0 2.1 L. A. Petrosjan, V. V. Mazalov (2002). "Game Theory and Applications, Volume 8". p. 26. Nova Publishers
- ↑ 3.0 3.1 Watson, Victor (2008). The Waddingtons Story: From the early days to Monopoly, the Maxwell bids and into the next Millennium. Huddersfield: Jeremy Mills Publishing. p. 81. ISBN 978-1-906600-36-5. สืบค้นเมื่อ June 21, 2011.
- ↑ "Cluedo/Clue" rules. (PDF) . Retrieved on 2011-06-15.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Clue เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ ฮัสโบร (สหรัฐ)
- 50th Anniversary web site (ที่ Archive.org) รุ่นผลิตที่เป็นทางการในปี ค.ศ. 1999–2000
- Board Game Thailand Fanclub[ลิงก์เสีย]
- Geekplanets เก็บถาวร 2018-03-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน