ข้ามไปเนื้อหา

กริช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กริช
ꦏꦼꦫꦶꦱ꧀/ꦮꦁꦏꦶꦔꦤ꧀
กริชแบ่งออกเป็นสามส่วน; ใบมีด (วีละฮ์), ด้ามมีด (ฮูลู) และฝัก (วารังกา)
ชนิดมีดสั้นสองคม
แหล่งกำเนิดเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย[1][2][3]
บทบาท
ประจำการคาบสมุทรมลายู กลุ่มเกาะอินโดนีเซียในปัจจุบัน[4]
ผู้ใช้งานชวา (โดยหลักและดั้งเดิม)
ประวัติการผลิต
ผู้ออกแบบชาวชวา
แบบอื่นกาลิซ, Balasiong, ปูญัล (กูนง), จุนดริก[5]
ข้อมูลจำเพาะ
ประเภทใบมีดดาบเหล็กหรือเหล็กกล้าผสมนิกเกิลสองคม
ชนิดด้ามจับงาช้าง, กระดูก, เขาสัตว์, ไม้หรือเหล็ก บางครั้งเคลือบด้วยทองหรือเงิน และตกแต่งด้วยอัญมณี
ฝักดาบ/ปลอกฝักไม้ที่เคลือบและตกแต่งด้วยงาช้างหรือเหล็ก (ทอง, เงิน, ทองแดง, เหล็ก, ทองเหลือง หรือเหล็กกล้า)
กริชอินโดนีเซีย *
  มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมโดยยูเนสโก
กริชบาหลี
ประเทศ อินโดนีเซีย
ภูมิภาค **เอเชียและแปซิฟิก
สาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม
อ้างอิง00112
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2551 (คณะกรรมการสมัยที่ 3)
รายการตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและการสงวนรักษาที่ดี
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

กริช[n 1] เป็นมีดสั้นแบบหนึ่ง ใบมีดคดแบบลูกคลื่น เป็นเอกลักษณ์เฉพาะในหมู่ผู้คนในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย กริชนั้นเป็นทั้งอาวุธและวัตถุมงคล บ่งบอกถึงเหตุดีร้ายในชีวิตได้ ปัจจุบันยังนิยมสะสมเป็นของเก่าที่มีคุณค่าสูง

คำว่า กริช ในภาษาไทย น่าจะถอดมาจาก keris ในภาษามลายู ซึ่งหมายถึง "มีดสั้น" คำนี้รับผ่านมาจากภาษาชวาโบราณอีกทอดหนึ่ง คือ งริช หรือ เงอะริช หมายถึง "แทง" ภาษาต่าง ๆ ในยุโรป ใช้ว่า kris ตามมลายู

เชื่อกันว่ากริชนั้นเริ่มมีใช้ในเกาะชวา แล้วแพร่หลายไปทั่วหมู่เกาะอินโดนีเซีย ผ่านไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันเป็นที่รู้จักในมาเลเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ตอนใต้ กัมพูชา ภาคใต้ของไทย สิงคโปร์ และแม้กระทั่งเวียดนาม

ลักษณะ

[แก้]

ตัวกริชหรีอส่วนใบมีดนั้นมักจะเรียวและคด ส่วนโคนกว้าง ความยาวของกริชนั้นแตกต่างกันไปไม่จำกัด ใบมีดก็ตีจากแร่เหล็กต่าง ๆ กัน แต่โดยมากจะมีนิกเกิลผสมอยู่ ช่างทำกริชหรือ เอิมปู จะตีใบมีดเป็นชั้น ๆ ด้วยโลหะต่าง ๆ กัน กริชบางเล่มใช้เวลาสั้น บางเล่มใช้เวลาตีนานเป็นปี ๆ หรือใช้เวลาชั่วชีวิตก็มี กริชที่มีคุณภาพสูง ตัวใบมีดจะพับทบเป็นสิบ ๆ หรือร้อย ๆ ครั้ง โดยมีความแม่นยำสูงมาก ใบมีดนั้นอาจมีรอยประทับของช่างกริช เช่นรอยนิ้วหัวแม่มือ ริมฝีปาก ในระหว่างการตีใบมีดนั้น การใช้โลหะต่างชนิดกันมาตีเป็นมีดใบเดียวทำให้เกิดเป็นลายน้ำที่แตกต่างกัน ซึ่งเรียกว่า ปาโมร์ หรือ ปามีร์ อันเป็นแนวคิดเดียวกับเหล็กกล้าดามัสกัสและญี่ปุ่น มีการใช้กรดกัดตัวใบมีดหลังจากตีแล้ว เพื่อให้เกิดรอยเงาและทึบบนโลหะ สำหรับแหล่งแร่เหล็กนั้นจะเป็นแหล่งแร่ที่หายากแถบมาเลเซียหรืออินโดนีเซีย

ใบกริชนั้นจะคดหรือหยักเป็นลอนคลื่น เรียกว่า ลุก หรือ ลก กริชส่วนใหญ่มีน้อยกว่า 13 หยัก และนับเลขคี่เสมอ

หมายเหตุ

[แก้]
  1. (ชวา: แบบโงโก: ꦏꦼꦫꦶꦱ꧀;[6] แบบกรามาอิงกิล: ꦮꦁꦏꦶꦔꦤ꧀; โงโก: keris; กรามา; dhuwung; กรามาอิงกิล: wangkingan, แปลว่า "แล่"; ซุนดา: ᮊᮢᮤᮞ᮪; มีนังกาเบา: karih; บูกิซและมากัซซาร์: ᨔᨙᨒᨙ sele; บาหลีและซาซัก: ᬓᭂᬭᬶᬲ᭄ keris; มลายู: keris; เขมร: គ្រីស; ตากาล็อก: kalis

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Keris Indonesia". Kebudayaan.kemendikbud.go.id (ภาษาอินโดนีเซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-06. สืบค้นเมื่อ 2020-08-22.
  2. Top 100 Cultural Wonders of Indonesia. Jakarta: Ministry of Education and Culture of the Republic of Indonesia. 2015. ISBN 978-979-1274-66-1.
  3. Pires, Tomé (1990). The Suma Oriental of Tome Pires: An Account of the East. New Delhi: Asian Educational Services. p. 179. ISBN 81-206-0535-7.
  4. Albert G Van Zonneveld (2002). Traditional Weapons of the Indonesian Archipelago. Koninklijk Instituut Voor Taal Land. ISBN 90-5450-004-2.
  5. James Richardson Logan (1853). The Journal of the Indian Archipelago and Eastern Asia, Volume 7. Miss. Press. p. 281.
  6. Sudaryanto, Pranowo (2001). Kamus Pepak Basa Jawa (ภาษาชวา). p. 1359.

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]