ข้ามไปเนื้อหา

คณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น
ชื่อท้องถิ่น
内閣
ชื่อโรมัน
Naikaku
ก่อตั้ง22 ธันวาคม ค.ศ. 1885
สำนักงานใหญ่ญี่ปุ่น
บุคลากรหลักชิเงรุ อิชิบะ (นายกรัฐมนตรี)
สมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะ (จักรพรรดิ)
เจ้าของรัฐบาลญี่ปุ่น
เว็บไซต์www.kantei.go.jp Edit this on Wikidata

คณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 内閣โรมาจิNaikaku) เป็นองค์การฝ่ายบริหารสูงสุดของรัฐบาลญี่ปุ่นที่ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีซึ่งแต่งตั้งโดยจักรพรรดิหลังจากได้รับการเสนอชื่อโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสมาชิกคนอื่น ๆ มากสุดอีก 19 คน เรียกว่ารัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีได้รับการเสนอชื่อโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และรัฐมนตรีส่วนที่เหลือจะได้รับการแต่งตั้งและถูกขับไล่โดยนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีจะรับผิดชอบต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติร่วมกัน[1] และจะต้องลาออกจากตำแหน่งหากมีการเสนอการอภิปรายไม่ไว้วางใจโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

การแต่งตั้ง

[แก้]
ตราดอกคิริ มักถูกพิจารณาว่าเป็นสัญลักษณ์ของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น คณะรัฐมนตรี และรัฐบาลในภาพรวม

ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่น รัฐมนตรีได้รับการแต่งตั้งหลังจากการคัดเลือกบุคคลเพื่อดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมาชิกส่วนใหญ่ของคณะรัฐมนตรีรวมถึงนายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติและจะต้องเป็นพลเรือนทุกคน ภายใต้กฎหมายคณะรัฐมนตรี จำนวนของรัฐมนตรี (ไม่รวมนายกรัฐมนตรี) ต้องถึง 14 คนหรือน้อยกว่า แต่จำนวนนี้อาจเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 19 คนหากมีเหตุจำเป็นพิเศษ[2][3] ถ้ารัฐมนตรีส่วนใหญ่ลาออก ก็จะยังปฏิบัติราชการแผ่นดินต่อไปจนถึงการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ขณะที่ยังคงดำรงตำแหน่ง[4] การดำเนินการทางกฎหมายต่อรัฐมนตรีจะกระทำไม่ได้หากนายกรัฐมนตรีไม่อนุญาต[5] อีกทั้งคณะรัฐมนตรีจะต้องลาออกทั้งคณะหากเกิดสถานการณ์ดังต่อไปนี้:[6]

  • เมื่อมีการเสนอการอภิปรายไม่ไว้วางใจ หรือการอภิปรายไว้วางใจไม่สำเร็จโดยสภาผู้แทนราษฎร เว้นแต่การยุบสภาภายใน 10 วัน
  • การเรียกประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกหลังการเลือกตั้งเป็นการทั่วไป (แม้ว่านายกรัฐมนตรีจะถูกเลือกและแต่งตั้งซ้ำ และรัฐมนตรีคนอื่น ๆ ได้รับการแต่งตั้งอีกครั้ง)
  • เมื่อตำแหน่งนายกรัฐมนตรีว่างลง หรือนายกรัฐมนตรีประกาศเจตนารมณ์ในการลาออกจากตำแหน่ง

อำนาจ

[แก้]

คณะรัฐมนตรีใช้อำนาจ 2 ทาง อำนาจบางส่วนถูกใช้ภายใต้พระปรมาภิไธยของจักรพรรดิโดย "คำแนะนำและการเห็นชอบ" ของคณะรัฐมนตรี อำนาจอีกส่วนถือโดยคณะรัฐมนตรีอย่างเด่นชัด ขณะที่ประเทศอื่น ๆ ภายใต้ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ จักรพรรดิทรงไม่ถืออำนาจสูงสุดตามตำแหน่งของพระองค์ แต่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติอำนาจบริหารให้เป็นของคณะรัฐมนตรีแทน[7] ด้วยเหตุนี้ กิจการราชการแผ่นดินต่าง ๆ จึงกระทำโดยคณะรัฐมนตรีวันต่อวัน[8]

คณะปัจจุบัน

[แก้]
คณะรัฐมนตรีคิชิดะที่สอง[9]
ตำแหน่ง รูปภาพ ชื่อ วาระ
นายกรัฐมนตรี ฟูมิโอะ คิชิดะ 4 ตุลาคม ค.ศ. 2021–ปัจจุบัน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการภายในประเทศและการสื่อสาร คาซูชิ คาเนโกะ 4 ตุลาคม ค.ศ. 2021–ปัจจุบัน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม โยชิฮิซะ ฟูรูกาวะ 4 ตุลาคม ค.ศ. 2021–ปัจจุบัน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โยชิมาซะ ฮายาชิ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 2021–ปัจจุบัน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
รัฐมนตรีเพื่อการบริการการเงิน
รัฐมนตรีเพื่อการแก้ไขภาวะเงินฝืด
ชุนอิจิ ซูซูกิ 4 ตุลาคม ค.ศ. 2021–ปัจจุบัน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
รัฐมนตรีเพื่อการปรับปรุงการศึกษา
ชินซูเกะ ซูเอมัตสึ 4 ตุลาคม ค.ศ. 2021–ปัจจุบัน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง เก็นจิโร คาเนโกะ 4 ตุลาคม ค.ศ. 2021–ปัจจุบัน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการ ชิเงยูกิ โกโต 4 ตุลาคม ค.ศ. 2021–ปัจจุบัน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม
รัฐมนตรีเพื่อการแข่งขันอุตสาหกรรม
รัฐมนตรีเพื่อการร่วมมือด้านเศรษฐกิจกับประเทศรัสเซีย
รัฐมนตรีเพื่อการตอบโต้ผลกระทบด้านเศรษฐกิจอันเกิดจากอุบัติเหตุในจังหวัดฟูกูชิมะ
รัฐมนตรีเพื่อการชดเชยความเสียหายจากนิวเคลียร์และการถอดถอนโครงสร้างที่ส่งเสริมนิวเคลียร์
โคอิจิ ฮางิอูดะ 4 ตุลาคม ค.ศ. 2021–ปัจจุบัน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยว
รัฐมนตรีเพื่อนโยบายการหมุนเวียนน้ำ
เท็ตซูโอะ ไซโต 4 ตุลาคม ค.ศ. 2021–ปัจจุบัน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อม
รัฐมนตรีเพื่อการเตรียมความพร้อมในเหตุฉุกเฉินนิวเคลียร์
สึโยชิ ยามางูจิ 4 ตุลาคม ค.ศ. 2021–ปัจจุบัน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงป้องกันประเทศ โนบูโอะ คิชิ 16 กันยายน ค.ศ. 2020–ปัจจุบัน
เลขาธิการใหญ่คณะรัฐมนตรี
รัฐมนตรีเพื่อการบรรเทาผลกระทบอันจากกองกำลังทหารสหรัฐในโอกินาวะ
รัฐมนตรีเพื่อการแก้ไขปัญหาการลักพาตัว
ฮิโรกาซุ มัตสึโนะ 4 ตุลาคม ค.ศ. 2021–ปัจจุบัน
รัฐมนตรีเพื่อการส่งเสริมการฉีดวัคซีน 1 เมษายน ค.ศ. 2022–ปัจจุบัน
รัฐมนตรีเพื่อการทำให้เป็นดิจิทัล
รัฐมนตรีเพื่อการปฏิรูประบบราชการ
รัฐมนตรีเพื่อการปฏิรูปข้อบัญญัติ
คาเร็น มากิชิมะ 4 ตุลาคม ค.ศ. 2021–ปัจจุบัน
รัฐมนตรีว่าการสำนักงานการบูรณะ
รัฐมนตรีเพื่อการประสานงานนโยบายฟื้นฟูอย่างกว้างขวางจากอุบัติเหตุนิวเคลียร์ในจังหวัดฟูกูชิมะ
รัฐมนตรีเพื่อกิจการในดินแดนโอกินาวะและทางตอนเหนือ
โคซาบูโระ นิชิเมะ 4 ตุลาคม ค.ศ. 2021–ปัจจุบัน
ประธานคณะกรรมการความปลอดภัยสาธารณะแห่งชาติ
รัฐมนตรีเพื่อการป้องกันความสูญเสียสาธารณะ
รัฐมนตรีเพื่อการจัดการภัยพิบัติและนโยบายมหาสมุทร
รัฐมนตรีเพื่อการปฏิรูประบบข้าราชการ
ซาโตชิ นิโนยุ 4 ตุลาคม ค.ศ. 2021–ปัจจุบัน
รัฐมนตรีเพื่อการส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่างยืดหยุ่นแก่ประชาชน
รัฐมนตรีเพื่อการวางมาตรการตอบโต้อัตราการเกิดลดลง
รัฐมนตรีเพื่อความเท่าเทียมทางเพศ
รัฐมนตรีเพื่อการเพิ่มอำนาจให้แก่สตรี
รัฐมนตรีเพื่อนโยบายที่เกี่ยวข้องกับเยาวชน
รัฐมนตรีเพื่อการจัดการความเหงาและความโดดเดี่ยว
เซโกะ โนดะ 4 ตุลาคม ค.ศ. 2021–ปัจจุบัน
รัฐมนตรีเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ
รัฐมนตรีเพื่อทุนนิยมใหม่
รัฐมนตรีเพื่อวางมาตรการการจัดการโรคติดเชื้อโคโรนาสายพันธุ์ใหม่และวิกฤติการทางการแพทย์
รัฐมนตรีเพื่อการปฏิรูปการประกันสังคม
รัฐมนตรีเพื่อนโยบายเศรษฐกิจและการคลัง
ไดชิโระ ยามางิวะ 4 ตุลาคม ค.ศ. 2021–ปัจจุบัน
รัฐมนตรีเพื่อความปลอดภัยทางการเงิน
รัฐมนตรีเพื่อนโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
รัฐมนตรีเพื่อนโยบายอวกาศ
ทากายูกิ โคบายาชิ 4 ตุลาคม ค.ศ. 2021–ปัจจุบัน
รัฐมนตรีเพื่อเอ็กซ์โป 2025
รัฐมนตรีเพื่อวิสัยทัศน์แห่งชาติว่าด้วยเมืองสวนดิจิทัล
รัฐมนตรีเพื่อสังคมที่แน่นแฟ้น
รัฐมนตรีเพื่อวางมาตรการตอบโต้จำนวนประชากรที่ถดถอยลงและการกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น
รัฐมนตรีเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคและความปลอดภัยทางอาหาร
รัฐมนตรีเพื่อกลยุทธ์คูลเจแปน
รัฐมนตรีเพื่อกลยุทธ์ทรัพย์สินทางปัญญา
เค็นจิ วากามิยะ 4 ตุลาคม ค.ศ. 2021–ปัจจุบัน

อ้างอิง

[แก้]
  1. หมวด 5 มาตรา 66 แห่งรัฐธรรมนูญญี่ปุ่น (1947)
  2. "内閣法". Government of Japan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 April 2010. สืบค้นเมื่อ 1 September 2015.
  3. "Toshiaki Endo appointed Olympics minister". The Japan Times. สืบค้นเมื่อ 1 September 2015.
  4. หมวด 5 มาตรา 71 แห่งรัฐธรรมนูญญี่ปุ่น (1947)
  5. หมวด 5 มาตรา 75 แห่งรัฐธรรมนูญญี่ปุ่น (1947)
  6. หมวด 5 มาตรา 70 แห่งรัฐธรรมนูญญี่ปุ่น (1947)
  7. หมวด 5 มาตรา 65 แห่งรัฐธรรมนูญญี่ปุ่น (1947)
  8. "Bureaucrats of Japan". Library of Congress Country Studies. สืบค้นเมื่อ 1 September 2015.
  9. "List of Ministers". The Cabinet of Japan Prime Minister. 2021-11-10. สืบค้นเมื่อ 2021-11-11.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)