การแบ่งอินเดีย
ศาสนาเด่นในบริติชราช (ค.ศ. 1901) ซึ่งใช้เป็นเกณฑ์แบ่งดินแดน | |
วันที่ | 14–15 สิงหาคม ค.ศ. 1947 |
---|---|
ที่ตั้ง | อนุทวีปอินเดีย |
สาเหตุ | พระราชบัญญัติอิสรภาพของอินเดีย ค.ศ. 1947 |
ผล | การแบ่งบริติชอินเดียเป็นอินเดียและปากีสถาน นำไปสู่ความรุนแรงทางนิกาย การเบียดเบียนทางศาสนาและวิกฤตผู้ลี้ภัย |
ความสูญเสีย | |
เสียชีวิต 200,000–2,000,000 คน | |
พลัดถิ่น 10–20 ล้านคน |
การแบ่งอินเดียในปี ค.ศ. 1947 แยกบริติชอินเดีย[a] ออกเป็นประเทศอินเดียในเครือจักรภพและประเทศปากีสถานในเครือจักรภพ[1] ประเทศอินเดียในเครือจักรภพคือสาธารณรัฐอินเดียปัจจุบัน ขณะที่ประเทศปากีสถานในเครือจักรภพกลายเป็นสาธารณรัฐอิสลามปากีสถานและสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ เหตุการณ์นี้รวมถึงการแยกเขตปกครองเบงกอลและรัฐปัญจาบตามประชากรส่วนใหญ่ที่เป็นมุสลิมและไม่ใช่มุสลิม และยังก่อให้เกิดการแยกกองทัพบกบริติชอินเดีย กองทัพเรือบริติชอินเดีย กองทัพอากาศบริติชอินเดีย ราชการอินเดีย การรถไฟอินเดียและกองคลังกลาง การแบ่งอินเดียเป็นสาระสำคัญหนึ่งในพระราชบัญญัติอิสรภาพของอินเดีย ค.ศ. 1947 ซึ่งมีผลให้บริติชราชสิ้นสุด การก่อตั้งประเทศอินเดียในเครือจักรภพและประเทศปากีสถานในเครือจักรภพมีผลตามกฎหมายตอนเที่ยงคืนของวันที่ 14–15 สิงหาคม ค.ศ. 1947
การแบ่งอินเดียทำให้ประชาชน 10–20 ล้านคนต้องพลัดถิ่น ก่อให้ภัยพิบัติครั้งใหญ่ในสองประเทศเกิดใหม่[2][3][4][5][6][7][8][b] ประมาณการว่าประชาชน 200,000–1,000,000 คนเสียชีวิตระหว่างการย้ายถิ่นฐาน[c][9] ซึ่งถือเป็นการอพยพหมู่ครั้งใหญ่ที่สุด[10][11] และเป็นหนึ่งในวิกฤตผู้ลี้ภัยครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ยังมีผู้เสียชีวิตจากความรุนแรงประมาณหลายแสนถึงสองล้านคน[9][c] ความรุนแรงที่เกิดขึ้นยังสร้างความเป็นปรปักษ์และความหวาดระแวงระหว่างอินเดียกับปากีสถานจนถึงปัจจุบัน
ทั้งนี้การแบ่งอินเดียไม่ได้รวมถึงการแยกตัวของบังกลาเทศจากปากีสถานในปี ค.ศ. 1971 หรือการแยกตัวก่อนหน้านั้นของพม่า (ประเทศพม่าปัจจุบัน) และบริติชซีลอน (ประเทศศรีลังกาปัจจุบัน) จากการปกครองอินเดีย[d] เหตุการณ์นี้ยังไม่รวมถึงการรวมรัฐมหาราชาเป็นสองประเทศในเครือเอกภพ หรือข้อพิพาทในการผนวกและแยกรัฐไฮเดอราบาด รัฐชูนาครห์และรัฐชัมมูและกัศมีร์ นอกจากนี้ยังไม่รวมถึงการรวมดินแดนแทรกอินเดียของฝรั่งเศสช่วงค.ศ. 1947–1954 หรือการผนวกอินเดียของโปรตุเกสในปี ค.ศ. 1961 อย่างไรก็ตามหน่วยการเมืองอื่นที่อยู่ร่วมสมัย เช่น ราชอาณาจักรสิกขิม ราชอาณาจักรภูฏาน ราชอาณาจักรเนปาล ราชอาณาจักรอัฟกานิสถานและมัลดีฟส์ไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้[e]
เชิงอรรถ
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ บริติชอินเดียประกอบด้วยบริติชราชซึ่งบริเตนปกครองโดยตรง และรัฐมหาราชาซึ่งบริเตนปกครองทางอ้อม
- ↑ "ประชาชนราว 12 ล้านคนต้องพลัดถิ่นในการแยกรัฐปัญจาบ และจำนวนผู้พลัดถิ่นอาจสูงถึง 20 ล้านคนเมื่อนับรวมอนุทวีปอินเดียทั้งหมด"[4]
- ↑ 3.0 3.1 "ยอดผู้เสียชีวิตยังคงเป็นที่ถกเถียง มีการประมาณการที่ 2 แสนถึง 2 ล้านคน"[9]
- ↑ ซีลอนเคยเป็นส่วนหนึ่งของเขตการปกครองมัทราสตั้งแต่ปี ค.ศ. 1796 ก่อนจะแยกเป็นบริติชซีลอนในปี ค.ศ. 1802 ขณะที่พม่าถูกบริเตนผนวกระหว่างค.ศ. 1826–86 และเป็นส่วนหนึ่งของบริติชอินเดียจนถึงปี ค.ศ. 1937 หลังจากนั้นบริเตนปกครองพม่าโดยตรง[12] พม่าและซีลอนได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 1948 และ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1948 ตามลำดับ (ดูบทความประวัติศาสตร์ศรีลังกาและประวัติศาสตร์พม่า)
- ↑ ราชอาณาจักรสิกขิมถูกสถาปนาเป็นรัฐมหาราชาหลังมีการลงนามสนธิสัญญาอังกฤษ-สิกขิมในปี ค.ศ. 1861 อย่างไรก็ตามปัญหาอำนาจอธิปไตยไม่ได้รับการแก้ไข[13] สิกขิมกลายเป็นรัฐเอกราชภายใต้อำนาจของอินเดียในปี ค.ศ. 1947 ก่อนถูกผนวกเข้าเป็นรัฐที่ 22 ของอินเดียในปี ค.ศ. 1975 ด้านเนปาลและภูฏานลงนามสนธิสัญญากับบริเตนซึ่งนิยามทั้งสองรัฐเป็น "รัฐเอกราช" และไม่เป็นส่วนหนึ่งของอินเดียที่บริเตนปกครอง[14] ขณะที่บริเตนรับรองเอกราชของราชอาณาจักรอัฟกานิสถานหลังลงนามในสนธิสัญญาอังกฤษ-อัฟกานิสถาน ค.ศ. 1919 สนธิสัญญานี้กำหนดเส้นดูรันด์เป็นเขตแดนระหว่างสองประเทศ ซึ่งภายหลังนำไปสู่ข้อพิพาทพรมแดนระหว่างอัฟกานิสถานกับปากีสถานหลังได้รับเอกราช[15] ส่วนมัลดีฟส์เป็นรัฐในอารักขาของบริเตนในปี ค.ศ. 1887 ก่อนได้รับเอกราชในปี ค.ศ. 1965
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Partition (n), 7. b (3rd ed.). Oxford English Dictionary. 2005.
The division of British India into India and Pakistan, achieved in 1947.
- ↑ "Rupture in South Asia" (PDF). United Nations High Commission for Refugees. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 11 March 2016. สืบค้นเมื่อ 16 January 2021.
- ↑ Dr Crispin Bates (3 March 2011). "The Hidden Story of Partition and its Legacies". BBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 January 2021. สืบค้นเมื่อ 16 January 2021.
- ↑ 4.0 4.1 Vazira Fazila‐Yacoobali Zamindar (4 February 2013). "India–Pakistan Partition 1947 and forced migration". The Encyclopedia of Global Human Migration. doi:10.1002/9781444351071.wbeghm285. ISBN 9781444334890. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 January 2021. สืบค้นเมื่อ 16 January 2021.
- ↑ Population Redistribution and Development in South Asia. Springer Science & Business Media. 2012. p. 6. ISBN 978-9400953093. สืบค้นเมื่อ 7 September 2017.
- ↑ "Rupture in South Asia" (PDF). United Nations High Commission for Refugees. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 11 March 2016. สืบค้นเมื่อ 16 January 2021.
- ↑ Dr Crispin Bates (3 March 2011). "The Hidden Story of Partition and its Legacies". BBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 January 2021. สืบค้นเมื่อ 16 January 2021.
- ↑ Vazira Fazila‐Yacoobali Zamindar (4 February 2013). "India–Pakistan Partition 1947 and forced migration". The Encyclopedia of Global Human Migration. doi:10.1002/9781444351071.wbeghm285. ISBN 9781444334890. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 January 2021. สืบค้นเมื่อ 16 January 2021.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 Talbot & Singh 2009, p. 2.
- ↑ "Rupture in South Asia" (PDF). UNHCR. สืบค้นเมื่อ 2014-08-16.
- ↑ Bates, Dr Crispin (March 3, 2011). "The Hidden Story of Partition and its Legacies". BBC. สืบค้นเมื่อ August 16, 2014.
- ↑ Sword For Pen, Time, 12 April 1937
- ↑ "Sikkim". Encyclopædia Britannica. 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 December 2007. สืบค้นเมื่อ 23 February 2017.
- ↑ Encyclopædia Britannica. 2008. "Nepal." เก็บถาวร 18 มีนาคม 2006 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Encyclopædia Britannica. 2008. "Bhutan."
- ↑ "The Durand Line: Analysis of the Legal Status of the Disputed Afghanistan-Pakistan Frontier". 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 March 2020. สืบค้นเมื่อ 1 November 2021.