การสงบศึก
การสงบศึก คือข้อตกลงอย่างเป็นทางการของฝ่ายที่ทำสงครามเพื่อยุติการต่อสู้ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นการสิ้นสุดของสงคราม เนื่องจากอาจเป็นเพียงการยุติความเป็นปรปักษ์ในขณะที่พยายามเจรจาเพื่อสันติภาพที่ยั่งยืน
วันสงบศึก
[แก้]วันสงบศึก (อังกฤษ: Armistice Day) จัดตรงกับวันที่ 11 พฤศจิกายน เป็นวันเฉลิมฉลองการสงบศึกที่ลงนามระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตรกับเยอรมนีที่ป่ากงเปียญ ประเทศฝรั่งเศสเวลา 5:45 นาฬิกา[1] ในการยุติความเป็นปรปักษ์บนแนวรบด้านตะวันตก ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อ "ชั่วโมงที่สิบเอ็ด ของวันที่สิบเอ็ด ของเดือนที่สิบเอ็ด" ของ ค.ศ. 1918 แต่รายงานจากโทมัส อาร์. โกเวนล็อก เจ้าหน้าที่ข่าวกรองหน่วยแรกของสหรัฐ บันทึกว่ายังคงมีการยิงกันจนถึงเวลากลางคืน[2][3] เดิมที วันสงบศึกสิ้นสุดลงในเวลา 36 วัน และมีการขยายเวลาเรื่อย ๆ ท้ายที่สุดมีการลงนามสนธิสัญญาแวร์ซาย สนธิสัญญาสันติภาพอย่างเป็นทางการในปีถัดมา[4]
ประวัติศาสตร์ยุคใหม่ตอนต้น
[แก้]- การสงบศึกโคเปนเฮเกน - ในปี ค.ศ. 1537 เพื่อยุติสงครามเดนมาร์ก
- การสงบศึกสทูห์มส์ดอร์ฟ - ในปี ค.ศ. 1635 ระหว่าง เครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย กับ สวีเดน
- สัญญาสันติภาพเว็สท์ฟาเลิน - ในปี ค.ศ. 1648 เพื่อยุติ สงครามสามสิบปี และ สงครามแปดสิบปี
คริสต์ศตวรรษที่ 19
[แก้]- การสงบศึกซนาร์ม - ระหว่างจักรวรรดิออสเตรียกับจักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง ค.ศ. 1809
- การสงบศึกมัลเมอ - ระหว่างเดนมาร์กกับปรัสเซีย ค.ศ. 1848 เพื่อยุติสงครามชเลสวิชครั้งที่หนึ่ง
- การสงบศึกแวร์ซาย - ระหว่างฝรั่งเศสกับปรัสเซีย (ต่อมาเยอรมนี) ค.ศ. 1871 เพื่อยุติสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย
คริสต์ศตวรรษที่ 20
[แก้]- สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
- การสงบศึกระหว่างรัสเซียและฝ่ายมหาอำนาจกลาง - ธันวาคม ค.ศ. 1917
- การสงบศึกซาลอนีกา - ระหว่างบัลแกเรียกับฝ่ายสัมพันธมิตร กันยายน ค.ศ. 1918
- การสงบศึกมูโดรส - ระหว่างจักรวรรดิออตโตมันกับฝ่ายสัมพันธมิตร ตุลาคม ค.ศ. 1918
- การสงบศึกวิลล่าจูสติ - เพื่อยุติการต่อสู้ในแนวรบอิตาลีในตอนต้นของเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918
- การสงบศึก 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 - เพื่อยุติการต่อสู้ในแนวรบตะวันตก[5]
- การสงบศึกเบลเกรด - ระหว่างฮังการีกับฝ่ายสัมพันธมิตร 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918
- การสงบศึกมูดันยา - ระหว่างตุรกี อิตาลี ฝรั่งเศส กรีซ และสหราชอาณาจักร ค.ศ. 1922
- สงครามโลกครั้งที่สอง
- การสงบศึก 22 มิถุนายน ค.ศ. 1940 - ระหว่างฝรั่งเศสกับเยอรมนี
- การสงบศึกฝรั่งเศส-อิตาลี - ระหว่างฝรั่งเศสกับอิตาลี ในวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 1940
- Armistice of Saint Jean d'Acre - ระหว่างกองทัพสหราชอาณาจักรในตะวันออกกลางกับกองทัพฝรั่งเศสเขตวีชีในซีเรีย ค.ศ. 1941
- การสงบศึกกัสซีบีเล - ระหว่างอิตาลีกับฝ่ายสัมพันธมิตร ในวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1943
- การสงบศึกมอสโก - ลงนามโดยฟินแลนด์กับสหภาพโซเวียต ในวันที่ 19 กันยายน ค.ศ. 1944 เพื่อยุติสงครามต่อเนื่อง
- ความตกลงการสงบศึก ค.ศ. 1949 - ระหว่างอิสราเอลกับเพื่อนบ้านอียิปต์ จอร์แดน เลบานอน และซีเรีย[6]
- ความตกลงการสงบศึกเกาหลี - กรกฎาคม 1953
- ความตกลงเจนีวา - ลงนามโดยฝรั่งเศสกับเหวียตมิญในวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1954 เพื่อยุติสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง
- การสงบศึกเอวิยอง ในแอลจีเรีย ค.ศ. 1962, เพื่อยุติสงครามแอลจีเรีย
- ความตกลงเดย์ตัน - ลงนามโดยบอสเนีย โครเอเชีย และยูโกสลาเวีย ในวันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 1995 เพื่อยุติสงครามบอสเนีย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Armistice: The End of World War I, 1918". EyeWitness to History. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 November 2018. สืบค้นเมื่อ 26 November 2018.
- ↑ "How World War I Soldiers Celebrated the Armistice". 10 November 2016.
- ↑ Gowenlock, Thomas (1937). Soldiers of Darkness. Doubleday, Doran & Co. OCLC 1827765.
- ↑ Shushkewich, Val (2005). The real Winnie : a one-of-a-kind bear. Natural Heritage Books. p. 42. ISBN 978-1554883509.
- ↑ "The Armistice". The War to End All Wars. FirstWorldWar.com. 1 May 2004. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 January 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-01-04.
- ↑ "1949 Armistice". Middle East, Land of Conflict. CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-03. สืบค้นเมื่อ 2007-01-04.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- "Allied Armistice Terms, 11 November 1918". The War to End All Wars. FirstWorldWar.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 February 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-01-04.
- The Expanded Cease-Fires Data Set Code Book (Emory University)