ข้ามไปเนื้อหา

การบุกครองทิเบตของอังกฤษ พ.ศ. 2446

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การบุกครองทิเบตของอังกฤษ

นายทหารอังกฤษ และ ธิเบตกำลังเจรจาข้อตกลง.
วันที่ธันวาคม ค.ศ. 1903 – กันยายน ค.ศ. 1904
สถานที่
ผล ทหารของกองกำลังผสมอังกฤษ-อินเดียได้รับชัยชนะ, ลงนามในสนธิสัญญา,
ถอยทัพไปที่เมืองกัว.
คู่สงคราม

สหราชอาณาจักร จักรวรรดิอังกฤษ

 ทิเบต Tibetans, particularly Kham fighters.
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
บริติชราช เจมส์ แมคโดนัลล์
บริติชราช พันโท ฟรานซิส ยังฮัสแบนด์
Dapon Tailing,commander at Gyantse Jong
ทะไลลามะ องค์ที่สิบสาม
กำลัง
ทหารชาวกุรข่านและชาวปาทาน 3,000 นาย[ต้องการอ้างอิง]
ชาวเชอร์ปาอีกราว 7,000 คน ช่วยในการลำเลียง
ไม่ทราบจำนวน, ความสูญเสียที่แท้จริงไม่มีการคำนวณไว้ แต่น่าจะมีหลายพันคน[ต้องการอ้างอิง]
ความสูญเสีย
202 นายเสียชีวิตระหว่างการรบ
411 นายเสียชีวิตจากสาเหตุอื่น ๆ
2000–3000 คน[1]

การรุกรานทิเบตของอังกฤษ ใน พ.ศ. 2446 และ 2447 เป็นการรุกรานทิเบตด้วยกำลังทหารของกองกำลังผสมอังกฤษ-อินเดีย มีเป้าหมายเพื่อเข้าขัดขวางการเข้ามามีอิทธิพลของจักรวรรดิรัสเซียในเอเชียกลาง ไม่ให้ครอบงำถึงทิเบต และทำให้ทิเบตเป็นรัฐกันชนระหว่างจักรวรรดิของอังกฤษ และ รัสเซียเช่นเดียวกับที่อังกฤษเคยทำกับอัฟกานิสถานมาก่อนหน้านี้ เมื่ออังกฤษประสบความสำเร็จในการเข้าไปตั้งกองทหารในทิเบต ผลสะท้อนจากการรุกรานนี้ไม่เป็นในทางที่ดีนัก ผลจากการรุกรานทำให้อังกฤษเข้าไปแทรกแซงทิเบตในด้านการค้า อย่างไรก็ตาม ใน พ.ศ. 2453 รัฐบาลจีนส่งกองทหารเข้าไปในทิเบตและสถาปนาอำนาจของตนขึ้นอีกครั้ง

หนทางสู่สงคราม

[แก้]

ต้นเหตุของการรุกรานนี้ยังไม่ชัดเจน สันนิษฐานว่าเกิดจากความระแวงของอังกฤษว่ารัฐบาลจีนยอมให้รัสเซียเข้ามามีอิทธิพลในทิเบตซึ่งทำให้รัฐกันชนระหว่างอังกฤษกับอินเดียทางด้านเหนือต้องเสียไป จึงเป็นเหตุให้ตัวแทนรัฐบาลอังกฤษในอินเดียส่ง พ.ท. ฟรานซิส ยังฮัสแบนด์ เคลื่อนกำลังพลเข้าไปยังคัมเบอร์ โจว หมู่บ้านเล็ก ๆ ของทิเบตที่อยู่ทางเหนือของสิกขิม เพื่อพบกับผู้แทนจากจีนและทิเบตและจะได้ทำความตกลงทางการค้า การรุกรานเริ่มขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2446 แต่จนกระทั่งเดือนพฤศจิกายนยังไม่มีตัวแทนจากจีนหรือทิเบตมาพบตามข้อเรียกร้อง ลอร์ดครูซอน ข้าหลวงอังกฤษในอินเดียขณะนั้นจึงตัดสินใจให้เคลื่อนพลเข้าไปยังลาซา

รัฐฐาลของทิเบตนำโดยทะไล ลามะไม่สบายใจเมื่อรู้ว่ามีกองทหารต่างชาติกำลังมุ่งหน้ามายังเมืองหลวง การคาดหวังความช่วยเหลือจากจีนในขณะนั้นเป็นไปได้ยาก จึงต้องจัดตั้งกองทหารของตนเอง การยกทัพของอังกฤษผ่านเขตเทือกเขาส่วนใหญ่ใช้ทหารชาวกุรข่านและชาวปาทาน จำนวนกองพลอังกฤษมีทหารราว 3,000 คน ชาวเชอร์ปาอีกราว 7,000 คน ช่วยในการลำเลียง

การเริ่มต้นเคลื่อนทัพออกจากเมืองนาตอง (Gnatong) ในสิกขิมเมื่อ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2446 โดยทางอังกฤษมีการเตรียมการอย่างดีจากประสบการณ์ที่เคยเข้าสู่สนามรบตามแนวชายแดนอินเดียมาก่อน อุปสรรคครั้งแรกของการยกทัพเกิดขึ้นเมื่อ 31 มีนาคม พ.ศ. 2446[2] เมื่อผ่านคุรุ ใกล้ทะเลสาบภันโซ

การโจมตีขั้นแรก

[แก้]

กองทัพที่คุรุ

[แก้]

ทางทิเบตจัดตั้งกองทหารไว้ที่คุรุ แม่ทัพของฝ่ายทิเบตพยายามออกมาเจรจากับยังฮัสแบนด์และแมคโดนัลล์ แมคโดนัลล์ปฏิเสธไม่ยอมรับคำเตือนของทหารทิเบตและส่งทหารชาวสิกข์กับชาวกุรข่าเข้าปลดอาวุธทหารทิเบต จึงเกิดการสู้รบกัน สาเหตุของการสู้รบที่แน่ชัดไม่มีหลักฐานแน่นอน ฝ่ายอังกฤษกล่าวอ้างว่า ฝ่ายทิเบตแสดงความโกรธและยิงทหารชาวสิกข์ในกองทัพอังกฤษก่อน ส่วนฝ่ายทิเบตกล่าวว่าฝ่ายอังกฤษกลั่นแกล้งทิเบตและเป็นฝ่ายเริ่มยิงก่อน

แม้ว่าความจริงเกี่ยวกับการเริ่มต้นการต่อสู้ยังไม่แน่ชัดแต่การต่อสู้ก็ไม่ดำเนินไปนานนัก เมื่อมีการปลดอาวุธ ฝ่ายทิเบตมีความพยายามจะเปิดการเจรจาอีกครั้ง แต่ก็ยังมีความสับสนวุ่นวาย นำไปสู่การปล้นสะดมหมู่บ้านของทหารชาวสิกข์และกุรข่า เมื่อการโจมตีสิ้นสุดลง ฝ่ายทิเบตสูญเสียกำลังพลไป 600 - 700 คน บาดเจ็บ 168 คน โดยมี 148 คนถูกจับเป็นนักโทษในกองทัพอังกฤษ ส่วนฝ่ายอังกฤษมีทหารบาดเจ็บจำนวนหนึ่งรวมทั้งทหารชาวสิกข์ที่ถูกยิงเมื่อเริ่มการโจมตีด้วย

การดำเนินต่อไป

[แก้]

กองทัพของแมคโดนัลล์เคลื่อนผ่านแนวป้องกันที่กัวมาได้อีกในอีกหนึ่งสัปดาห์ต่อมา และพยายามเคลื่อนทัพต่อไปแม้ว่า Red Idol Gorege จะพยายามยับยั้ง เมื่อ 9 เมษายน แมคโดนัลล์สั่งให้กองทัพเข้าโจมตีกองทหารทิเบต ผลของการโจมตีฝ่ายทิเบตเสียชีวิต 200 คน ส่วนความเสียหายของอังกฤษมีน้อยมาก

กองทัพของแมคโดนัลล์ยังคงคืบหน้าต่อไป และพบกับการต่อต้านของกองทหารทิเบตเป็นระยะ ๆ วันที่ 5 พฤษภาคม พบกับกองทหารที่ชังโลซึ่งมีกำลังพล 800 คน ผลปรากฏว่าฝ่ายทิเบตแพ้ เสียทหารไป 160 คน วันที่ 9 พฤษภาคม เกิดการสู้รบอีกครั้ง และฝ่ายทิเบตเป็นฝ่ายถอนกำลังหนีไป

อีก 2 เดือนต่อมา แมคโดนัลล์ตั้งค่ายทหารที่ชังโล และปราบปรามกองทหารทิเบตกลุ่มย่อย ๆ ในบริเวณนั้นได้เด็ดขาด ซึ่งถือเป็นการเปิดทางให้เข้าโจมตีลาซาได้สะดวกขึ้น การตอบสนองของทิเบตต่อการรุกรานนี้ไม่ทันการณ์และไร้ประสิทธิภาพเพราะขาดอาวุธและประสบการณ์

การโจมตีที่กยันเซ ยอง

[แก้]

กยันเซ ยองถือเป็นจุดที่ตั้งของกองทหารทิเบตที่ดีที่สุด ฝ่ายอังกฤษเริ่มโจมตีเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม จนถึงวันที่ 6 กรกฎาคมจึงยึดได้สำเร็จในเวลากลางคืน ชัยชนะครั้งนี้ทำให้อังกฤษควบคุมเส้นทางเข้าสู่ลาซาได้สะดวกยิ่งขึ้น

เข้าสู่ลาซา

[แก้]

ยังฮัสแบนด์นำกองทหารราว 2,000 คนบุกเข้าลาซาโดยไม่ได้ทิ้งกองระวังหลังไว้ในสิกขิม กองทัพเข้าถึงลาซาเมื่อ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2447 เข้าควบคุมการบริหารงานของทะไล ลามะ และรัฐบาลทิเบตไว้ได้ทั้งหมด บังคับให้ทิเบตลงนามในสนธิสัญญาเพื่อขอโทษที่เป็นฝ่ายเริ่มสงคราม ชดใช้ค่าเสียหาย และอนุญาตให้อังกฤษเข้าไปทำการค้า ตริ รินโปเช ผู้สำเร็จราชการในทิเบตแทนทะไล ลามะที่ลี้ภัยในระหว่างนั้นยอมตามข้อความในสนธิสัญญาทุกข้อ

บทสรุปของการสู้รบ

[แก้]

กองทหารอังกฤษถอนทหารออกจากทิเบตในช่วงปลายเดือนกันยายน พ.ศ. 2447 แต่ทั้งสองฝ่ายก็ไม่เป็นสุขจากผลของสงครามครั้งนี้ อังกฤษเป็นฝ่ายชนะและบังคับให้ทิเบตลงนามในข้อตกลงที่อังกฤษต้องการแต่ข้อตกลงนั้นไม่เคยปฏิบัติได้จริง ทิเบตเป็นฝ่ายแพ้แต่ก็ทำให้เห็นว่าจีนอ่อนแอเกินกว่าที่จะปกป้องรัฐที่ตนประกาศว่าอยู่ในความดูแลของตน รายงานความสูญเสียอย่างเป็นทางการของทั้งสองฝ่ายไม่มีเอกสารระบุไว้

ปฏิกิริยาจากทางลอนดอนต่อสงครามเป็นไปในทางประณามอย่างรุนแรงซึ่งเป็นผลมาจากการที่พลเรือนในยุคนั้นไม่นิยมสงคราม มีเพียงราชสำนักที่ยกย่องวีรกรรมของทหารที่เข้าร่วมสงครามครั้งนี้ ความสูญเสียรวมทั้งหมดของอังกฤษสูญเสียทหาร 202 คน จากการสู้รบ และ 411 คนจากเหตุการณ์อื่น ความสูญเสียที่แท้จริงของทิเบตไม่มีการคำนวณไว้ แต่น่าจะมีหลายพันคนจากการปะทะกันถึง 16 ครั้งตลอดยุทธการ

เมื่อความขัดแย้งสิ้นสุด

[แก้]

โดยข้อเท็จจริงแล้ว ทิเบตไม่สามารถที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงกับอังกฤษได้ทั้งหมด ทิเบตไม่ใช่ศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ และไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายในประเทศอย่างรุนแรง อังกฤษพยายามบังคับให้ทิเบตทำตามสนธิสัญญาใน พ.ศ. 2459 แต่ก็ไม่สำเร็จในการทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในทิเบต พ.ศ. 2463 รัฐบาลทิเบตถูกโจมตีจากจีนซึ่งเป็นผลจากการปฏิวัติซิงไห่เพื่อล้มล้างราชวงศ์ชิง เมื่อจีนถอนทหารออกไปเมื่อ พ.ศ. 2466 ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้ความสนใจเอเชียกลางของชาติตะวันตกลดน้อยลง ในขณะที่มีความสนใจของพรรคคอมมิวนิสต์ในรัสเซียเข้ามาแทนที่ พ.ศ. 2493 ทั้งอังกฤษและอินเดียไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเข้ายึดครองทิเบตของพรรคคอมมิวนิสต์จีน

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Charles Allen, p.299
  2. ในขณะนั้นเปลี่ยนพ.ศ. ในวันที่ 1 เมษายน
  • Candler, Edmund The Unveiling of Lhasa. (Thomas Nelson and Sons Ltd ?1905)
  • Carrington, Michael Officers Gentlemen and Thieves: The Looting of Monasteries during the 1903/4 Younghusband Mission to Tibet, Modern Asian Studies 37, 1 (2003), PP 81-109.
  • Fleming, Peter Bayonets to Lhasa (ISBN 0-19-583862-9, reprint 1986).
  • French, Patrick Younghusband: The Last Great Imperial Adventurer (ISBN 0-00-637601-0, reprint 1997).
  • Hopkirk, Peter The Great Game: The Struggle for Empire in Central Asia (ISBN 1-56836-022-3, reprint 1994).
  • Herbert, Edwin Small Wars and Skirmishes, 1902-18 (ISBN 1-901543-05-6, 2003)