กล้ามเนื้อปาล์มาริส ลองกัส
กล้ามเนื้อปาล์มาริส ลองกัส (Palmaris longus muscle) | |
---|---|
ด้านหน้าของรยางค์บนข้างขวา (กล้ามเนื้อปาล์มาริส ลองกัสอยู่ด้านล่างของภาพ) | |
ภาคตัดขวางของปลายกระดูกปลายแขน (กล้ามเนื้อปาล์มาริส ลองกัสอยู่ตรงกลางด้านบนของภาพ) | |
รายละเอียด | |
จุดยึด | ปุ่มมีเดียล อีพิคอนไดล์ของกระดูกต้นแขน (เอ็นกล้ามเนื้อคอมมอนเฟลกเซอร์) |
จุดเกาะ | เอ็นแผ่ฝ่ามือ (palmar aponeurosis) |
หลอดเลือดแดง | หลอดเลือดแดงอัลนา |
ประสาท | เส้นประสาทมีเดียน |
การกระทำ | งอข้อมือ |
ตัวต้าน | เอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส เบรวิส, เอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส ลองกัส, เอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริส |
ตัวระบุ | |
ภาษาละติน | musculus palmaris longus |
TA98 | A04.6.02.029 |
TA2 | 2482 |
FMA | 38462 |
ศัพท์ทางกายวิภาคของกล้ามเนื้อ |
กล้ามเนื้อปาล์มาริส ลองกัส (อังกฤษ: palmaris longus) เป็นกล้ามเนื้อเล็กๆ ของปลายแขน ที่เห็นเอ็นกล้ามเนื้อเล็กๆ อยู่ระหว่างกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส (flexor carpi radialis) และกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริส (flexor carpi ulnaris) ในบางครั้งอาจไม่พบกล้ามเนื้อนี้ก็ได้
กล้ามเนื้อนี้ลักษณะผอม เรียงเป็นรูปกระสวย ทอดตัวอยู่ทางด้านใกล้กลาง (medial side) ของกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส กล้ามเนื้อนี้มีจุดเกาะต้นที่ปุ่มมีเดียล อีพิคอนไดล์ของกระดูกต้นแขน (medial epicondyle of the humerus) โดยเอ็นกล้ามเนื้อคอมมอนเฟลกเซอร์ (common flexor tendon), จากผนังกั้นระหว่างกล้ามเนื้อ (intermuscular septum) ที่อยู่ระหว่างกล้ามเนื้อนี้และกล้ามเนื้อใกล้เคียง และจากพังผืดปลายแขน (antebrachial fascia)
ปลายของกล้ามเนื้อนี้มีลักาณะผอม เป็นเอ็นแบนๆ ซึ่งผ่านเหนือส่วนบนของเฟลกเซอร์ เรตินาคิวลัมของมือ (flexor retinaculum) และเข้าเกาะปลายที่ส่วนกลางของ เฟลกเซอร์ เรตินาคิวลัมและส่วนล่างของเอ็นแผ่ฝ่ามือ (palmar aponeurosis) บางครั้งอาจส่งแผ่นเอ็นกล้ามเนื้อเข้าไปยังกล้ามเนื้อสั้นของนิ้วหัวแม่มือ
กล้ามเนื้อนี้สามารถคลำได้จากผิวหนังโดยการงอนิ้วโป้งและนิ้วก้อยเป็นอุ้งมือแล้วงอข้อมือ จะเห็นเอ็นกล้ามเนื้อนี้ (ถ้ามี) ชัดเจนอยูที่ข้อมือ
ความแปรผัน
[แก้]กล้ามเนื้อปาล์มาริส ลองกัสเป็นกล้ามเนื้อที่มีความแปรผันสูง ในประชากรชาวคอเคเซียน 16% ไม่มีกล้ามเนื้อนี้[1] และในประชากรอื่นๆ จะมีความถี่การไม่มีกล้ามเนื้อนี้น้อยกว่า[2] ลักษณะของกล้ามเนื้อนี้อาจมีลักษณะเป็นเอ็นกล้ามเนื้อที่ด้านต้นและเป็นมัดกล้ามเนื้อในด้านปลาย หรืออาจเป็นมัดกล้ามเนื้อที่ตรงกลางขนาบด้วยเอ็นด้านบนและด้านล่าง หรืออาจเป็นมัดกล้ามเนื้อ 2 มัดที่มีเอ็นกล้ามเนื้ออยู่ตรงกลาง หรืออาจมีเฉพาะเส้นเอ็นกล้ามเนื้อตลอดทั้งเส้นก็ได้ ในบางคนอาจพบกล้ามเนื้อนี้ 2 มัด
อาจพบแผ่นเอ็นจากจุดเกาะต้นที่โคโรนอยด์ โพรเซส (coronoid process) หรือจากกระดูกเรเดียส (radius)
สำหรับจุดเกาะปลายบางส่วนหรือทั้งหมดที่พังผืดของปลายแขน เข้าไปเกาะที่กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริส (Flexor carpi ulnaris) และกระดูกพิสิฟอร์ม (pisiform), เกาะที่กระดูกสแคฟฟอยด์ (scaphoid) , และเกาะที่กล้ามเนื้อของนิ้วก้อย
เนื่องจากกล้ามเนื้อมัดนี้ไม่มีความสำคัญมาก จึงอาจใช้เพื่อผ่าตัดนำออกมาทดแทนเอ็นกล้ามเนื้ออื่นๆ ที่บาดเจ็บได้
ภาพอื่นๆ
[แก้]-
กล้ามเนื้อในชั้นตื้นในด้านหน้าของปลายแขนข้างซ้าย
-
ภาพตัดขวางผ่านตรงกลางของปลายแขน
-
ภาคตัดขวางผ่านข้อมือและนิ้วมือ
-
เอ็นแผ่ฝ่ามือ
-
กล้ามเนื้อของนิ้วหัวแม่มือ
-
กล้ามเนื้อของมือซ้าย พื้นผิวด้านฝ่ามือ
-
หลอดเลือดแดงเรเดียลและอัลนา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Thompson NW, Mockford BJ, Cran GW (2001). "Absence of the palmaris longus muscle: a population study". Ulster Medical Journal. 70 (1): 22–4. PMID 11428320.
{{cite journal}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|month=
ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Sebastin SJ, Puhaindran ME, Lim AY, Lim IJ, Bee WH (2005). "The prevalence of absence of the palmaris longus--a study in a Chinese population and a review of the literature". Journal of Hand Surgery. 30 (5): 525–7. PMID 16006020.
{{cite journal}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|month=
ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Loyola University Chicago pl
- -1019936742 ที่ GPnotebook
- PTCentral เก็บถาวร 2012-02-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน