ข้ามไปเนื้อหา

กรมสรรพาวุธทหารเรือ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรมสรรพาวุธทหารเรือ
กรมสรรพาวุธทหารเรือ
ประเทศ ไทย
บทบาทซ่อมและสร้างเครื่องสรรพาวุธ[1]
การส่งกำลังพัสดุสายสรรพาวุธ[1]
การทำลายล้างวัตถุระเบิด[1]
การวิจัยและพัฒนาการสรรพาวุธ[1]
ให้การฝึกและศึกษาวิชาการสรรพาวุธ[1]
วิชาการอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย[1]
วันสถาปนา1 กรกฎาคม พ.ศ. 2451; 116 ปีก่อน (2451-07-01)[1]
ปฏิบัติการสำคัญความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย[2]
เก็บกู้ระเบิดยักษ์สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง[3][4]
ผู้บังคับบัญชา
เจ้ากรมสรรพาวุธทหารเรือพลเรือโท วรนาท รัชตะสังข์ [5]
ผบ. สำคัญร้อยเอก แอนเดอร์ซัน (H.F.A Anderson)[1]
พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน)
พลเรือตรี หลวงดัษกรกำจาย (ดัด บุนนาค)
พลเรือเอก ทวีศักดิ์ โสมาภา[6]
พลเรือตรี รพล คำคล้าย[1]
พลเรือตรี สุรศักดิ์ แก้วแกมทอง[7]
พลเรือโท ณะ อารีนิจ[8]
พลเรือโท ธานินทร์ ลิขิตวงศ์[9]
พลเรือโท นิกิตติ์ ฑีร์ฆะยศ[10]

กรมสรรพาวุธทหารเรือ (อักษรย่อ: สพ.ทร.;[11][12] อังกฤษ: Naval Ordnance Department) เป็นหน่วยงานของกองทัพเรือไทย ซึ่งมีบทบาทในการดำเนินการเกี่ยวกับการซ่อม, สร้าง และส่งกำลังพัสดุสายสรรพาวุธ รวมถึงการถอดทำลายวัตถุระเบิด[1][13] โดยมีเจ้ากรมสรรพาวุธทหารเรือคนปัจจุบันคือ พลเรือโท วรนาท รัชตะสังข์[14]รองเจ้ากรมสรรพาวุธทหารเรือ คนปัจจุบัน คือ พลเรือตรี สุชาต นุชนารถ[15]

นอกจากนี้ กรมสรรพาวุธทหารเรือ ยังเป็นหนึ่งในกำลังพลที่เข้าร่วมการปฏิบัติภารกิจความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย[2] รวมถึงได้รับมอบหมายในการเก็บกู้ระเบิดยักษ์ที่อยู่ใต้น้ำสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ที่จังหวัดราชบุรี เนื่องด้วยทหารเรือมีความชำนาญใต้น้ำมากที่สุด[3][4]

ประวัติ

[แก้]
อาวุธปล่อยนำวิถี ที่จัดไว้ ณ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

กรมสรรพาวุธทหารเรือเริ่มวางรากฐานกิจกรรมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2443 โดยได้กำหนดตำแหน่งศักดินาในกรมทหารเรือในนาม “กรมคลังอาวุธภัณฑ์” และเชื่อกันตามหลักฐานบางส่วนว่ามีร้อยเอกแอนเดอร์ซัน (H.F.A Anderson) เป็นเจ้ากรมคนแรก[1]

ต่อมา กรมทหารเรือได้ดัดแปลงก่อสร้างบริเวณตึกหลวงแถวบางนาเป็นคลังสรรพาวุธ พร้อมกับให้ย้ายกองสรรพาวุธมาที่โรงสรรพาวุธ บางนา ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2451 จึงได้มีการถือวันดังกล่าว เป็นวันคล้ายวันสถาปนาจนถึงปัจจุบัน[1]

ที่จังหวัดชลบุรี เจ้าหน้าที่สรรพาวุธทหารเรือได้เก็บกู้กระสุนส่องสว่างจากปืนใหญ่ของเรือรบ ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2556,[16] เก็บกู้ลูกกระสุนปืนใหญ่สำหรับปืนต่อสู้อากาศยาน ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557,[17] เก็บกู้ระเบิดลูกปืน ค.60 ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2558[18] และเก็บกู้ระเบิดเสียง ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2559[19]

ในปี พ.ศ. 2561 ทางกองทัพเรือไทยได้เปิดตัวโครงการวิจัยเรือดำน้ำขนาดเล็ก สำหรับส่งหน่วยปฏิบัติการพิเศษ และหาข่าว ซึ่งมีหลายหน่วยงานดำเนินภารกิจร่วมกัน ทั้งกรมสรรพาวุธทหารเรือ, กองเรือดำน้ำ กองเรือยุทธการ และกองการฝึก กองเรือยุทธการ[20]

การฝึกความพร้อมรบร่วมกันทางทะเล

[แก้]

กรมสรรพาวุธทหารเรือ ได้เป็นส่วนหนึ่งของการฝึกความพร้อมรบร่วมกันทางทะเล (อังกฤษ: Cooperation Afloat Readiness and Training; อักษรย่อ: CARAT) ระหว่างกองทัพเรือสหรัฐกับกองทัพเรือไทย[11][12]

กิจกรรมเพื่อสังคม

[แก้]

ด้านกิจกรรมเพื่อสังคม อาทิ เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555 กรมสรรพาวุธทหารเรือ ได้มอบทุนการศึกษาแก่บุตรธิดาของข้าราชการและลูกจ้างในสังกัดจำนวน 355 ทุน[8] และในเดือนกันยายน พ.ศ. 2560 ทางสหกรณ์ออมทรัพย์ กรมสรรพาวุธทหารเรือ ได้มอบทุนการศึกษาแก่บุตรสมาชิกสหกรณ์จำนวน 352 ทุน[9]

รางวัลที่ได้รับ

[แก้]
  • พ.ศ. 2558 : รางวัลสิ่งประดิษฐ์ดีเด่น – จากเครื่องควบคุมมอเตอร์ สำหรับเลื่อนเป้ายิงปืนพก ในงานนาวีวิจัย 2015[21]
  • พ.ศ. 2558 : รางวัลสิ่งประดิษฐ์ดีเด่น – จากการผลิตลูกปืนต่อสู้อากาศยานขนาด 37 มิลลิเมตร ชนิดฝึก ในงานนาวีวิจัย 2015[21]
  • พ.ศ. 2560 : รางวัลระดับดีเลิศ – วันแห่งการจัดการความรู้ของกองทัพเรือ ประจำปีงบประมาณ 2560 จากพลเรือเอก ณะ อารีนิจ ผู้บัญชาการทหารเรือ[22][23]

ยุทโธปกรณ์

[แก้]

ยานพาหนะภาคพื้นดิน

[แก้]
รุ่น ภาพ ประเภท ที่มา หมายเหตุ
โตโยต้า คอมมิวเตอร์ รถตู้  ญี่ปุ่น รถเก็บกู้วัตถุระเบิด

ระเบียงภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 กองทัพเรือ จัดงาน ๑ กรกฎาคม วันคล้ายวันสถาปนากรมสรรพาวุธทหารเรือ
  2. 2.0 2.1 ไม่ใช่แค่ สวย แกร่ง เก่ง...แต่เสียสละสุด ๆ !! พร้อมแล้ว !! 121 "เหยี่ยวดำ" ทหารพรานหญิง นย.รุ่นแรกลงใต้.ผบ.ทร.ให้กำลังใจ และชื่นชมประดู่เหล็กหญิง
  3. 3.0 3.1 ถกกู้ระเบิดยักษ์ ใช้สรรพาวุธทหารเรือ - คมชัดลึก
  4. 4.0 4.1 ในประเทศ - เตรียมดำน้ำกู้'ระเบิดยักษ์'สมัยสงครามโลก จุดสร้างรถไฟทางคู่นครปฐม-หัวหิน
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 141 ตอนพิเศษ 262 ง 21 กันยายน พ.ศ. 2567
  6. "พลเรือเอก ทวีศักดิ์ โสมาภา - โรงเรียนเตรียมทหาร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-12. สืบค้นเมื่อ 2021-06-13.
  7. กรมสรรพาวุธทหารเรือวุ่น! หม้อแปลงระเบิด บาดเจ็บ 9 ราย - Manager Online
  8. 8.0 8.1 กรมสรรพาวุธทหารเรือ มอบทุนการศึกษา - เดลินิวส์
  9. 9.0 9.1 สหประกันชีวิตร่วมยินดี 24 ปี สอ.สรรพาวุธทหารเรือ และร่วมสนับสนุนทุนการศึกษา
  10. ในประเทศ - ผู้บัญชาการทหารเรือลงพื้นที่ภาคตะวันออกตรวจเยี่ยมกำลังพล
  11. 11.0 11.1 "ฝึกผสม CARAT 2016 ระหว่างกองทัพเรือไทย กับ กองทัพเรือสหรัฐอเมริกา ขนยุทธโธปกรณ์ร่วมฝึกเพียบ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-18. สืบค้นเมื่อ 2019-03-07.
  12. 12.0 12.1 เริ่มแล้ว! ฝึกร่วมทัพเรือไทย-สหรัฐฯ พร้อมต้อนรับเรือ USS Coronado เยือนไทย
  13. สรรพาวุธ ทร.เข้ากู้วัตถุคล้ายระเบิด สุดท้ายเป็นอะไหล่รถยนต์ - ไทยรัฐ
  14. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 141 ตอนพิเศษ 262 ง 21 กันยายน พ.ศ. 2567
  15. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 141 ตอนพิเศษ 262 ง 21 กันยายน พ.ศ. 2567
  16. ผงะ! เจอกระสุนปืนใหญ่ในป่ามันฯ คาดถูกนำมาทิ้ง - ไทยรัฐ
  17. ผงะ! พบลูกกระสุนปืนใหญ่ถูกทึ้งริมถนน - ไทยรัฐ
  18. ผงะ! คนงานขุดเจอลูกปืน ค.60 กลางรีสอร์ตดังแสมสาร - ไทยรัฐ
  19. ลูกบ้านวิ่งหน้าตั้งแจ้งผู้ใหญ่บ้าน พบลูกระเบิดกลางป่าสัตหีบ - ไทยรัฐ
  20. ทัพเรือ เปิดตัวโครงการวิจัยเรือดำน้ำขนาดเล็ก - ข่าวสด
  21. 21.0 21.1 ทร.โชว์นวัตกรรมสุดยอดยุทโธปกรณ์ในงาน 'นาวีวิจัย 2015' - ไทยรัฐ
  22. ทร.ยกระดับขีดความสามารถกำลังพลในกิจกรรม 'วันแห่งการจัดการความรู้' - ไทยรัฐ
  23. หอประชุมกองทัพเรือ

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]