สนธิสัญญาไม่เสมอภาค
สนธิสัญญาไม่เสมอภาค | |||||||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวเต็ม | 不平等條約 | ||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 不平等条约 | ||||||||||||
| |||||||||||||
ชื่อภาษาเกาหลี | |||||||||||||
ฮันกึล | 불평등 조약 | ||||||||||||
ฮันจา | 不平等條約 | ||||||||||||
| |||||||||||||
ชื่อภาษาญี่ปุ่น | |||||||||||||
คันจิ | 不平等条約 | ||||||||||||
คานะ | ふびょうどうじょうやく | ||||||||||||
|
สนธิสัญญาไม่เสมอภาค (อังกฤษ: unequal treaty) เป็นชื่อที่ชาวจีนตั้งให้กับชุดสนธิสัญญา ที่ลงนามระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ระหว่างจีน (ส่วนใหญ่หมายถึง ราชวงศ์ชิง ) กับมหาอำนาจตะวันตกต่าง ๆ (โดยเฉพาะ จักรวรรดิอังกฤษ ฝรั่งเศส จักรวรรดิเยอรมัน สหรัฐอเมริกาและจักรวรรดิรัสเซีย) และจักรวรรดิญี่ปุ่น [1] ข้อตกลงซึ่งมักบรรลุหลังจากความพ่ายแพ้ทางทหารหรือการข่มขู่จะรุกรานทางทหาร โดยมีเงื่อนไขที่ได้ประโยชน์ฝ่ายเดียว โดยกำหนดให้จีนต้องยกดินแดน จ่ายค่าปฏิกรรมสงคราม เปิดท่าเรือตามสนธิสัญญา ยกเลิกอำนาจการกำหนดภาษีศุลกากรด้วยตนเอง และการให้สิทธิสภาพนอกอาณาเขตแก่พลเมืองต่างชาติ [2]
ด้วยกระแสชาตินิยมจีนและการต่อต้านจักรวรรดินิยมที่เพิ่มขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1920 ทั้งพรรคก๊กมินตั๋งและพรรคคอมมิวนิสต์จีนใช้แนวคิดนี้เพื่ออธิบายถึงประสบการณ์ของจีนในการสูญเสียอำนาจอธิปไตย ระหว่างปี 1840 ถึง 1950 คำว่า "สนธิสัญญาไม่เสมอภาค" นั้นมีความเกี่ยวข้องกับแนวคิดของ"ศตวรรษแห่งความอัปยศอดสู"ของจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการต้องยอมยกดินแดนให้เป็นเขตเช่าแก่มหาอำนาจต่างชาติ และการสูญเสียอำนาจการตั้งภาษีศุลกากรผ่านท่าเรือตามสนธิสัญญา
ญี่ปุ่นและเกาหลียังใช้คำนี้เพื่ออ้างถึงสนธิสัญญาหลายฉบับที่ส่งผลให้สูญเสียอำนาจอธิปไตยในระดับที่แตกต่างกันไป
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Unequal Treaties with China". Encyclopédie d’histoire numérique de l’Europe (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-05-22.
- ↑ Fravel, M. Taylor (2005-10-01). "Regime Insecurity and International Cooperation: Explaining China's Compromises in Territorial Disputes". International Security. 30 (2): 46–83. doi:10.1162/016228805775124534. ISSN 0162-2889.