ศิลปะโมซัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Mosan art)
ศิลปะโมซัน
Mosan art
ส่วนหนึ่งของ: ศิลปะโรมาเนสก์

อ่างล้างบาปที่โบสถ์นักบุญบาร์โทโลมิว ลีแยฌ โดย เรอนิเยร์ เดอ ฮุย (ค.ศ. 1107-ค.ศ. 1118)
ประวัติศาสตร์ศิลปะ
ช่วงเวลา คริสต์ศตวรรษที่ 11 ถึง 13
ภูมิภาค ทวีปยุโรป
เกี่ยวข้อง ศิลปะการอแล็งเฌียง
ศิลปะตะวันตก

ศิลปะโมซัน หรือ ศิลปะเรโน-โมซัน(อังกฤษ: Mosan art หรือ Rheno-Mosan art) เป็นศิลปะระดับภูมิภาคของศิลปะโรมาเนสก์ที่แพร่หลายระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 11 ถึง 13 ในบริเวณลุ่มแม่น้ำเมิซและแม่น้ำไรน์ในบริเวณที่ปัจจุบันคือประเทศเบลเยียมโดยเฉพาะในวาลโลเนียและไรน์แลนด์ ที่รวมทั้งงานเอกสารตัวเขียนสีวิจิตร งานโลหะและงานลงยา

แคว้นโมซันครอบคลุมบริเวณที่เป็นราชรัฐมุขนายกลีแยฌที่มีความเกี่ยวพันทางการเมืองกับจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และทางศาสนากับอาร์ชบิชอปแห่งโคโลญ แคว้นโมซันเป็นที่ตั้งของเมืองต่างๆ ที่รวมทั้งมาสทริชท์ที่อยู่ภายใต้การปกครองของดัชชีบราบันต์และราชรัฐมุขนายกลีแยฌ

ลุ่มแม่น้ำแม่น้ำเมิซตั้งอยู่ในศูนย์กลางของจักรวรรดิการอแล็งเฌียง ฉะนั้นลักษณะงานจึงมีอิทธิพลเป็นอันมากมาจากธรรมเนียมนิยมของศิลปะการอแล็งเฌียง ดังนั้นองค์ประกอบของศิลปะโมซันจึงหนักไปในทางศิลปะคลาสสิก ที่ต่างจากศิลปะโรมาเนสก์นานาชาติในบริเวณอื่นในช่วงเวลาเดียวกันในฝรั่งเศส (โดยเฉพาะของลิมอช, เช่นตัวอย่าง [1] เก็บถาวร 2005-10-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน), เยอรมนี (see for example [2] เก็บถาวร 2005-10-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน), อังกฤษ และ อิตาลี แต่ก็มีลักษณะบางอย่างขององค์ประกอบของศิลปะโรมาเนสก์เช่นการใช้ช่องว่าง

งานช่างทองเป็นงานศิลปะชั้นสูงของลุ่มแม่น้ำเมิซในคริสต์ศตวรรษที่ 12 ที่สร้างโดยมีผู้ว่าจ้างโดยห้องงานศิลปะที่เดินทางไปทำงานตามที่สั่ง จำนวนงานมีเพียงไม่กี่ชิ้นเพราะจำนวนการจ้างน้อย แต่คุณภาพของงานจะดี ตัวอย่างงานในช่วงนี้ก็ได้แก่ บานพับภาพสเตฟลอทซึ่งเป็นฉากประดับแท่นบูชาเคลื่อนที่ที่สร้างราวระหว่างปี ค.ศ. 1156 ถึงปี ค.ศ. 1158

ประติมาของลุ่มแม่น้ำเมิซมีความเป็นเอกลักษณ์ในการใช้อุปมานิทัศน์สมัยกลางในการสร้างงานศิลปะที่เกี่ยวกับพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่

งานที่แสดงถึงลักษณะของศิลปะโมซันอันแท้จริงก็ได้แก่งานหีบวัตถุมงคลที่เรียกว่า “หีบสามกษัตริย์” โดย นิโคลัสแห่งแวร์เดิง ที่สร้างราวระหว่างปี ค.ศ. 1180/1181 - ค.ศ. 1225

ระเบียงภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ศิลปะโมซัน