แมคโอเอส ไฮ ซีเอรา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก MacOS 10.13)
macOS High Sierra
ผู้พัฒนาแอปเปิล
ตระกูลระบบปฏิบัติการแมคโอเอส
รหัสต้นฉบับซอฟต์แวร์จำกัดสิทธิ์ (บางส่วนเป็นซอฟต์แวร์เสรี)
เผยแพร่สู่
กระบวนการผลิต
พ.ศ. 2560
ชนิดเคอร์เนลHybrid
สัญญาอนุญาตAPSL และ Apple EULA
รุ่นก่อนหน้าmacOS 10.12 Sierra
รุ่นถัดไปmacOS 10.14 Mojave
เว็บไซต์ทางการhttps://www.apple.com/macos/high-sierra-preview/
สถานะการสนับสนุน
เปิดเป็นสาธารณะ

แมคโอเอส ไฮ ซีเอรา (อังกฤษ: macOS High Sierra) เป็นระบบปฏิบัติการแมคโอเอสรุ่นที่ 14 ต่อจากรุ่นแมคโอเอส ซีเอรา โดยเวอร์ชันนี้ จะไปเน้นที่เทคโนโลยีใหม่ และมีการเปลี่ยนแปลงที่โดดเด่นในแอปพลิเคชันอย่างรูปภาพและซาฟารี โดยได้เปิดตัวในงาน WWDC 2017 ในวันที่ 6 มิถุนายน 2560

โดย High Sierra นั้นเป็นชื่อของแคมป์ในอุทยานแห่งชาติโยเซมิตีของรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งก่อนหน้านี้ ก็ได้ใช้ชื่อ OS X Yosemite และ macOS Sierra ไปแล้ว ถือว่าเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวในรัฐแคลิฟอร์เนียที่สวยงามและมีเอกลักษณ์เป็นอย่างมาก[1]

ความต้องการของระบบ[แก้]

โดยแมคโอเอส ไฮ ซีร่า ได้ตั้งความต้องการของระบบเท่ากันกับรุ่นที่แล้ว (macOS Sierra) โดยต้องมีพื้นที่แรมอย่างน้อย 2 GB และพื้นที่ไม่เกิน 8 GB โดยมีเครื่องที่สามารถอัพเกรดได้ มีดังนี้[2]

  • ไอแมค รุ่นปลายปี 2009 ขึ้นไป
  • แมคบุ๊ก (รวมถึงรุ่นหน้าจอ Retina) รุ่นปลายปี 2009 ขึ้นไป
  • แมคบุ๊กโปร รุ่นกลางปี 2010 ขึ้นไป
  • แมคบุ๊กแอร์ รุ่นปลายปี 2010 ขึ้นไป
  • แมค มินิ รุ่นกลางปี 2010 ขึ้นไป
  • แมค โปร รุ่นกลางปี 2010 ขึ้นไป

ส่วนการเข้ารหัสและถอดรหัสวิดีโอของโค๊ด HEVC (H.265) บนฮาร์ดแวร์นั้น ต้องใช้ซีพียูอินเทลรุ่นที่ 6 หรือสูงกว่า

ฟีเจอร์ที่เพิ่มเข้ามาและปรับปรุง[แก้]

โดยเน้นปรับปรุงในการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ อาทิ

  • บน Safari จะมีการบล็อกการเล่นวิดีโอ เมื่อวิดีโอ เล่นอัตโนมัติในระหว่างโหลดเพจ และป้องกันการติดตามจากเว็บไซต์ที่จะพยายามติดตามพฤติกรรมของผู้ใช้ โดยใช้ Machine Learning เข้ามาช่วย
  • บนแอพ Mail : Split View - เปิดจอหนึ่งอ่านอีเมลอีกจอเขียนอีเมลได้ , ค้นหาอีเมล top hits , ใช้พื้นที่น้อยลงกว่าเดิม 35%
  • ปรับปรุงแอพ Photos 
    • เพิ่มการจัดหมวดหมู่ใหม่ของ Photos ช่วยให้การใช้งานง่ายขึ้น
    • สามารถค้นหาภาพโดยฟิลเตอร์ตามคีย์เวิร์ด, ประเภท หรือปัจจัยอื่น ๆ ได้
    • ในโหมด People ซึ่งเป็นโหมดสำหรับการเก็บหน้าคนไว้ จะใช้ advanced neural network เข้ามาช่วยในการค้นหาหน้าคน และสามารถซิงค์ข้อมูลข้ามอุปกรณ์ได้
    • ระบบแต่งภาพมีประสิทธิภาพสูงขึ้น มีเครื่องมือ Curve, Selective Color ฯลฯ ให้ใช้งาน
    • สามารถแก้ไขข้อมูลในแอพแต่งภาพอื่น ๆ ที่รองรับ เช่น Photoshop, Pixelmator แล้วซิงค์กลับมายัง Photos ได้
  • ใช้ฟอร์แมทฮาร์ดดิสก์ Apple File System (APFS) เป็นค่าเริ่มต้น
  • รองรับเข้ารหัสแบบ HEVC (H.265)
  • ปรับปรุง Metal API เป็นเวอร์ชัน 2 เพื่อเพิ่มความสามารถบนกราฟิค
    • ระบบ Window Server (ระบบวาดหน้าต่างบน macOS) ได้นำ Metal มาใช้ ทำให้ระบบต่าง ๆ ใน macOS อย่างเช่น Mission Control (ระบบเลือกหน้าต่างและ Spaces) ทำงานได้รวดเร็วขึ้น
    • ใช้กับการประมวลผลแบบ Machine Learning ได้
    • ใช้กับกราฟิคแยกได้ (เช่น กราฟิคของ nVidia Geforce GTX 1080 Ti ที่ประกาศมารองรับแล้ว)
    • รองรับการพัฒนา VR ได้เช่น Final Cut Pro X , SteamVR และตัวเอนจิน Unity , Unreal Engine[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. "เปิดตัว macOS High Sierra". MacThai. สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "macOS High Sierra บนเว็บ". Apple. สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "วิดีโอเปิดตัวของ macOS High Sierra บนงาน WWDC 2017". สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)