รัฐโกศี
รัฐโกศี कोशी प्रदेश (เนปาล) | |
---|---|
จากบนซ้ายไปขวา เขาเอเวอเรสต์, เขากันเจนชุงคา, ทะเลสาบโคกโย, นามเจบาซาร์, หุบเขาพรุณ, อิลาม, ถ้ำหเลสี-มราติก และอารามเตงโพเจ | |
ที่ตั้งรัฐโกศีในประเทศเนปาล | |
ประเทศ | เนปาล |
จัดตั้ง | 20 กันยายน พ.ศ. 2558 |
เมืองหลวง | พิราฏนคร[1] |
เมืองใหญ่สุด | พิราฏนคร |
เขต | 14 |
การปกครอง | |
• ประเภท | รัฐที่ปกครองตนเอง |
• องค์กร | รัฐบาลรัฐ |
• ผู้ว่าการรัฐ | ปรรศุราม ขาปุง |
• มุขยมนตรี | หิกมัต กุมาร การกี (CPN UML) |
• สภารัฐ | สภาเดียว (93 ที่นั่ง) |
• เขตเลือกตั้งรัฐสภา | 28 |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 25,905 ตร.กม. (10,002 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | ที่ 2 |
ความสูงจุดสูงสุด | 8,848 เมตร (29,029 ฟุต) |
ความสูงจุดต่ำสุด | 70 เมตร (230 ฟุต) |
ประชากร (พ.ศ. 2564) | |
• ทั้งหมด | 4,972,021 คน |
• อันดับ | ที่ 4 |
• ความหนาแน่น | 190 คน/ตร.กม. (500 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | ที่ 4 |
เขตเวลา | UTC+5:45 (เวลาเนปาล) |
รหัสภูมิศาสตร์ | NP-ON |
เอชดีไอ | 0.553 (ปานกลาง) |
อันดับเอชดีไอ | ที่ 2 |
การรู้หนังสือ | 71.22% |
อัตราส่วนเพศ | 91.48 ♂ /100 ♀ (พ.ศ. 2554) |
เว็บไซต์ | p1 |
รัฐโกศี (เนปาล: कोशी प्रदेश, โกศี ปฺรเทศ, ออกเสียง [kosi prʌd̪es]) เป็นหนึ่งในเจ็ดรัฐของประเทศเนปาล จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันซึ่งได้รับการประกาศใช้ในวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2558[2] ครอบคลุมพื้นที่ 25,905 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นประมาณร้อยละ 17.5 ของพื้นที่ประเทศ รัฐนี้เป็นที่ตั้งของภูเขาสูงหลายลูกซึ่งรวมถึงเขาเอเวอเรสต์ เขากันเจนชุงคา และเขาอามาดาบลัม แม่น้ำโกศีซึ่งเป็นแม่น้ำสายใหญ่ที่สุดของเนปาลไหลผ่านเขตแดนด้านตะวันตกของรัฐ
รัฐโกศีตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกสุดของประเทศ มีอาณาเขตติดต่อกับเขตปกครองตนเองทิเบตของจีนทางทิศเหนือ ติดต่อกับรัฐสิกขิมและรัฐเบงกอลตะวันตกของอินเดียทางทิศตะวันออก ติดต่อกับรัฐพิหารของอินเดียทางทิศใต้ และติดต่อกับรัฐมเธศและรัฐพาคมตีทางทิศตะวันตก[3][4][5] ตามข้อมูลสำมะโนประชากรเนปาล พ.ศ. 2564 รัฐนี้มีประชากรประมาณ 5 ล้านคน โดยมีความหนาแน่นประชากร 190 คนต่อตารางกิโลเมตร[6] นอกจากพิราฏนครซึ่งเป็นเมืองอุตสาหกรรมและเมืองหลวงของรัฐแล้ว รัฐโกศียังครอบคลุมเมืองใหญ่ทางตะวันออกเมืองอื่นอย่างพิรตาโมฑ, สุนทรหไรจา, ทมัก, ธราน, อีฏหรี, ตริยุคา และเมจีนครเป็นต้น
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "प्रदेश १ राजधानी: विराटनगरको पक्षमा दुईतिहाई, नाम टुंगो लागेन" [Province No. 1 Capital: Two third of MLA voated in faviour of Biratnagar]. annapurnapost.com (ภาษาเนปาล). Annapurna Post. 6 May 2019. สืบค้นเมื่อ 7 May 2019.
- ↑ "Nepal Provinces". statoids.com. สืบค้นเมื่อ 21 March 2016.
- ↑ "Biratnagar celebrates its status of provincial capital". thehimalayantimes.com. 19 January 2018. สืบค้นเมื่อ 19 January 2018.
- ↑ "Locals intensify protest in Dhankuta after Biratnagar named as provincial HQ". kathmandupost.ekantipur.com. 19 January 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-18. สืบค้นเมื่อ 19 January 2018.
- ↑ "Nepal government announces Provincial Capitals and Chiefs". ddinews.gov.in. 17 January 2018. สืบค้นเมื่อ 19 January 2018.
- ↑ "राष्ट्रिय जनगणना २०७८ प्रारम्भिक नतिजा". www.cbs.gov.np (ภาษาเนปาล). Central Bureau of Statistics, Nepal. January 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-26. สืบค้นเมื่อ 26 January 2022.