ติรุวิตางกูร์
ราชอาณาจักรติรุวิตางกูร์ | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1729–1949 | |||||||||
แผนที่ติรุงวิตางกูร์ | |||||||||
เมืองหลวง | ปัทมานภาปุรัม (1729–1795) ตริวันทรัม (1795–1949) | ||||||||
ภาษาทั่วไป | มลยาฬัม, ทมิฬ | ||||||||
ศาสนา | ฮินดู (หลัก) | ||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตย | ||||||||
มหาราชา | |||||||||
• 1729–1758 (แรก) | มารตาณฏะ วรรมา | ||||||||
• 1829–1846 (ยุคทอง) | สวตี รามา วรรมา | ||||||||
• 1931–1949 (ท้าย) | จิตติระ ติรุนาฬ วรรมา | ||||||||
ดีวัน | |||||||||
• 1729–1736 | อรุมุกกัน ปิลไลย์ | ||||||||
• 1838–1839 (ยุคทอง) | อาร์ เวนกตะ ราว | ||||||||
• 1947-1949 (ท้าย) | พีจีเอ็น อุนนิตัน | ||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | สมัยจักรวรรดิ | ||||||||
• ก่อตั้ง | 1729 | ||||||||
• เข้าร่วมบริษัทอินเดียตะวันออก | 1795 | ||||||||
• รัฐขุนนางในอินเดีย | 1947 | ||||||||
• รวมกับราชอาณาจักรโกจ์จิ | 1949 | ||||||||
• สิ้นสุด | 1949 | ||||||||
พื้นที่ | |||||||||
1941[1] | 19,844 ตารางกิโลเมตร (7,662 ตารางไมล์) | ||||||||
ประชากร | |||||||||
• 1941[1] | 6,070,018 | ||||||||
สกุลเงิน | รูปี | ||||||||
| |||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | อินเดีย |
ราชอาณาจักรแตรวันคอร์ (อังกฤษ: Kingdom of Travancore, /ˈtrævənkɔːr/) หรือ ราชอาณาจักรติรุวิตางกูร์ (อักษรโรมัน: Thiruvithamkoor) เป็นราชอาณาจักรในอินเดียระหว่างปี 1729 ถึง 1949 ปกครองโดยราชวงศ์ติรุวิตางกูร์วรรมา มีราชธานีอยู่ที่ปัทมานภาปุรัม และต่อมาย้ายไปติรุวนันตปุรัม ในยุครุ่งเรืองสูงสุด อาณาจักรกินพื้นที่ที่ปัจจุบันคือส่วนใหญ่ของรัฐเกรละ และพื้นที่ตอนใต้สุดของรัฐทมิฬนาฑู (แถบกันยากุมารี) และยังมีดินแดนแทรกของตัจจุไตยะไกมาฬ ซึ่งคือพื้นที่ของกูฏัลมาณิกยังเกษตรัง ในเมืองอิริญญาลกุฏะของราชอาณาจักรโกจจิที่อยู่ติดกัน[2] ในภายหลัง พื้นที่ของตังกัศเศริของนครโกลลัง และอัญจุเตงู ใกล้กับอาริงัลในอำเภอติรุวนันตปุรัม กลายมาเป็นอาณานิคมอของอังกฤษ และเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอมะละบาร์จนถึง 30 มิถุนายน 1927 และ อำเภอตุรเนลเวลี ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 1927[3][4] ติรุวิตางกูร์รวมเข้ากับรัฐมหาราชาโกจจิที่อยู่ติดกัน กลายเป็นติรุวิตางกูร์-โกจจิในปี 1950 และได้มีการโอนย้ายหมู่บ้านที่พูดภาษาทมิฬเป็นหลัก 5 หมู่บ้านแก่รัฐมัทราสในปี 1956[5] ภูมิภาคที่พูดภาษามลยาฬัมที่เหลือนี้ได้รวมเข้ากับอำเภอมะละบาร์ (ยกเว้นหมู่เกาะลักษทวีป และ มินิกอย) กับอำเภอกสรโกฏ ในกานาราใต้ ของรัฐมัทราส กลายเป็นรัฐเกรละซึ่งพูดภาษามลยาฬัมเป็นหลักร่วมกัน ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 1956 ภายใต้รัฐบัญญัติการจัดการรัฐของรัฐบาลอินเดีย[5] จนถึงปัจจุบัน
ราชามารตาณฏะ วรรมา สืบทอดรัฐฟิวดอลขนาดเล็กที่ชื่อเวนาท มาในปี 1723 และได้สร้างรัฐขึ้นมาจนเป็นรัฐติรุวิตางกูร์ที่มีอำนาจมากในอินเดียใต้ ราชาเป็นผู้นำรัฐรบกับชาวดัตช์ในปี 1739–46 และยุทธการที่โกลาเชล ที่ซึ่งดัตช์พ่ายแพ้ ถือเป็นครั้งแรกที่ยุทธการแบบตะวันตกพ่ายให้กับการรบกับชนพื้นเมืองในเอเชีย[6] จากนั้นราชามารตาณฏะยังได้รบชนะและผนวกรวมรัฐต่าง ๆ เข้ามา รวมถึงซาโมรินซึ่งเป็นรัฐที่แข็งแกร่งที่สุดในแถบโกชิโกเฏในการรบที่ปุรรกาฏในปี 1755[7]
ในต้นศตวรรษที่ 19 รัฐกลายมาเป็นรัฐมหาราชาภายใต้บริติชราช และมีการปรับปรุงพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมครั้งใหญ่ในสมัยของจิตติระ ติรุนาฬ พลราม วรรมา จนเป็นรัฐที่มีการพัฒนาสูงสุดแห่งหนึ่งในปกครองของบริติชอินเดีย[8][9] ในปี 1903–1904 รายได้ของรัฐอยู่ที่ 1,02,01,900 รูปี[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ1941Census
- ↑ British Archives http://discovery.nationalarchives.gov.uk/details/rd/d3e53001-d49e-4d4d-bcb2-9f8daaffe2e0 เก็บถาวร 2017-01-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Boag, GT (1933). The Madras Presidency (1881-1931) (PDF). Madras: Government of Madras. p. 9.
- ↑ Logan, William (2010). Malabar Manual (Volume-I). New Delhi: Asian Educational Services. pp. 631–666. ISBN 9788120604476.
- ↑ 5.0 5.1 "The States Reorganisation Act, 1956" (PDF). legislative.gov.in. Government of India.
- ↑ Sanjeev Sanyal (10 August 2016). The Ocean of Churn: How the Indian Ocean Shaped Human History. Penguin Books Limited. pp. 183–. ISBN 978-93-86057-61-7.
- ↑ Shungoony Menon, P. (1878). A History of Travancore from the Earliest Times (ภาษาอังกฤษ). Madras: Higgin Botham & Co. pp. 162–164. สืบค้นเมื่อ 5 May 2016.
- ↑ "Travancore." Encyclopædia Britannica. Encyclopædia Britannica Online. Encyclopædia Britannica Inc., 2011. Web. 11 November 2011.
- ↑ Chandra Mallampalli, Christians and Public Life in Colonial South India, 1863–1937: Contending with Marginality, RoutledgeCurzon, 2004, p. 30
- ↑ "Imperial Gazetteer2 of India, Volume 24, page 17 - Imperial Gazetteer of India - Digital South Asia Library". Dsal.uchicago.edu. 2021-01-28. สืบค้นเมื่อ 2022-02-15.