ข้ามไปเนื้อหา

สงครามประกาศอิสรภาพกรีซ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Greek War of Independence)
สงครามประกาศอิสรภาพกรีซ

ตามเข็มนาฬิกาจากด้านซ้าย: ค่ายของเกรเกรอรอส คาไรคาลิสเพรริโอ, เรือไฟของกรีซเผาเรือพิฆาตของออตโตมัน, ยุทธนาวีนาวาริโน, ไอบราฮิม ปาชาแห่งอียิปต์การล้อมมิสโสลองนีครั้งที่ 3
วันที่21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1821 – 12 กันยายน ค.ศ. 1829[d]
(8 ปี 6 เดือน 3 สัปดาห์)
สถานที่
ผล

กรีซได้รับเอกราช:

ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
  • เพโลพอนนีส, ซารอนนิก, ซิคละดีส, สปอระดีส และบางส่วนของแผ่นดินกรีซ ยกให้รัฐเอกราชกรีซ
  • ครีตยกให้อียิปต์
  • คู่สงคราม

    จักรวรรดิออตโตมัน

    ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
    ความสูญเสีย
    เสียชีวิตและบาดเจ็บรวมกันมากกว่า 150,000 นาย
    ประวัติศาสตร์กรีซ
    Coat of Arms of Greece
    บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทความที่เกี่ยวกับ
    ประเทศกรีซ

    กรีซยุคสำริด
    อารยธรรมเฮลลาดิค
    อารยธรรมซิคละดีส
    อารยธรรมไมนอส
    อารยธรรมไมซีนี
    กรีซโบราณ
    กรีซยุคมืด
    กรีซยุคอาร์เคอิก
    กรีซยุคคลาสสิก
    กรีซยุคเฮลเลนิสติก
    กรีซยุคโรมัน
    กรีซยุคกลาง
    กรีซยุคไบแซนไทน์
    กรีซยุคฟรังโคคราเชีย
    กรีซยุคออตโตมัน
    กรีซยุคใหม่
    สงครามประกาศเอกราชกรีซ
    ราชอาณาจักรกรีซ
    สาธารณรัฐเฮลเลนิกที่ 2
    คณะการปกครอง 4 สิงหาคม
    กรีซยุคยึดครองโดยอักษะ
    สงครามกลางเมืองกรีซ
    กรีซยุคปกครองโดยทหาร ค.ศ. 1967-1974
    สาธารณรัฐเฮลเลนิกที่ 3
    ประวัติศาสตร์แบ่งตามหัวข้อ

    สถานีย่อยกรีซ

    สงครามประกาศอิสรภาพกรีซ หรือที่รู้จักกันดีว่า การปฏิวัติกรีซ ค.ศ. 1821 หรือ การปฏิวัติกรีซ[1] เป็นสงครามประกาศอิสรภาพโดยนักปฏิวัติชาวกรีกซึ่งประสบความสำเร็จในการต่อต้านจักรวรรดิออตโตมัน ระหว่าง ค.ศ. 1821 ถึง ค.ศ. 1829[2] ในภายหลังกรีซได้รับการสนับสนุนจากจักรวรรดิบริติช ฝรั่งเศส และรัสเซีย ในขณะที่จักรวรรดิออตโตมันได้รับการสนับสนุนจากรัฐบริวารของตนในแอฟริกาเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไอยาเล็ตอียิปต์ สงครามครั้งนี้นำไปสู่การก่อตั้งกรีซในสมัยใหม่ การปฏิวัติได้รับการเฉลิมฉลองโดยชาวกรีกซึ่งมีอยู่ในทั่วทุกมุมโลก ในฐานะวันอิสระภาพซึ่งตรงกับวันที่ 25 มีนาคม

    กรีซตกอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิออตโตมันในศตวรรษที่ 15 ในช่วงหลายสิบปีก่อนและหลังการเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิล[3] ในช่วงหลายศตวรรษต่อมา มีชาวกรีกได้ลุกฮือต่อต้านการปกครองของออตโตมันเป็นระยะๆ มาเรื่อยๆ แต่ไม่สำเร็จ[4] ใน ค.ศ. 1814 องค์กรลับที่เรียกว่า ฟิลิกี เอตเทอเรีย ได้ก่อตั้งขึ้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อปลดปล่อยกรีซจากออตโตมัน โดยได้รับการสนับสนุนจากความคิดที่ท่วมท้นโดยนักปฏิวัติ ที่ได้ยึดครองยุโรปในช่วงเวลานั้น ฟิลิกี เอตเทอเรีย วางแผนที่จะทำการจลาจลใน เพโลพอนนีส, ราชรัฐดานูบเนียน และคอนสแตนติโนเปิลเอง การก่อจลาจลได้ถูกวางแผนเอาไว้ในวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1821 (ในปฏิทินจูเลียน) ซึ่งเป็นงานฉลองเทศกาลพระแม่มารีรับข่าวดี ของชาวคริสต์นิกายออร์โธด็อกซ์ อย่างไรก็ตามแผนการของฟิลิกี เอตเทอเรีย ถูกพบโดยทางการของออตโตมัน และบังคับให้การจลาจลเริ่มต้นขึ้นก่อนหน้านี้ การก่อจลาจลครั้งแรกได้เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 6 มีนาคม/21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1821 ในราชรัฐดานูบเบียน แต่ไม่นานก็ถูกล้มลงโดยออตโตมัน เหตุการณ์ทางตอนเหนือได้กระตุ้นให้ชาวกรีกในเพโลพอนนีส (มอเรีย) ได้เคลื่อนไหวเรียกร้องให้เอกราชกับกรีซ และในวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1821 พวกแมนิอ็อซ์เป็นกลุ่มแรกที่ได้ประกาศสงคราม ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1821 ชาวกรีกภายใต้การนำของ เทรโรโดรอส โคโลโคทีรินอส์ ได้ยึดเมืองตริโปลิซา ภายในครีต, มาซิโดเนีย และกรีซตอนกลาง ได้เกิดก่อการจลาจล แต่สุดท้ายก็ถูกปราบปราม ในขณะเดียวกันกองเรือชั่วคราวของกรีซ ก็ประสบความสำเร็จในการต่อต้านกองเรือออตโตมันในทะเลอีเจียน และป้องกันไม่ให้กองกำลังของออตโตมันมาถึงโดยทางทะเล

    ในไม่นานความตึงเครียดก็ทวีความรุนแรงขึ้นท่ามกลางฝ่ายกรีซที่อุดมการณ์แตกต่างกัน จนนำไปสู่สงครามกลางเมืองอยู่ 2 ครั้ง สุลต่านออตโตมันได้เรียกข้าราชบริพารของเขา มูฮัมหมัดอาลีแห่งอียิปต์ ผู้ซึ่งตกลงที่จะส่งบุตรชายของเขา อิบราฮิม ปาชา ไปยังกรีซพร้อมกับกองทัพเพื่อปราบปรามการก่อจลาจลโดยหวังได้ดินแดนเป็นการตอบแทน อิบราฮิมขึ้นฝั่งที่เพโลพอนนีสในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1825 และทำให้พื้นทื่คาบสมุทรส่วนใหญ่ ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของอียิปต์ภายในสิ้นปีนั้น และเมืองมิสโซลองกีก็ล่มสลายในเดือนเมษายน ค.ศ. 1826 หลังจากถูกชาวเติร์กล้อมเป็นเวลา 1 ปี แม้การรุกรานมานีจะประสบความล้มเหลว แต่เอเธนส์ก็ยังคงล่มสลาย และการปฏิวัติก็พ่ายแพ้เกือบจะสิ้นเชิง

    เมื่อมาถึงจุดนั้น มหาอำนาจทั้งสามได้แก่ รัสเซีย, บริเตน และฝรั่งเศส ตัดสินใจที่จะเข้าแทรกแซงโดยส่งกองเรือรบของตน ไปยังกรีซใน ค.ศ. 1827 หลังจากมีข่าวแจ้งเตือน ว่ากองเรือออตโตมัน-อียิปต์ที่รวมกันเพื่อจะเข้าโจมตีเกาะไฮดรา กองเรือพันธมิตรในยุโรปสกัดกั้นกองทัพเรือของออตโตมันที่นาวาริโน หลังจากความขัดแย้งที่ตึงเครียดมานานตลอด 1 สัปดาห์ ยุทธนาวีนาวาริโนได้นำไปสู่การทำลายล้างกองเรือของออตโตมัน-อียิปต์ และทำให้กระแสของนักปฏิวัติได้หันมาสนใจ จนใน ค.ศ. 1828 กองทัพอียิปต์ได้ถอนตัวออกไปภายหลังแรงกดดันของกองกำลังรบนอกประเทศของฝรั่งเศส กองทหารรักษาการณ์ของออตโตมันในเพโลพอนนีส ได้ยอมจำนน และนักปฏิวัติชาวกรีกก็ยังยึดครองกรีซตอนกลาง รัสเซียได้รุกรานจักรวรรดิออตโตมัน และบีบบังคับให้ยอมรับเอกราชของกรีซในสนธิสัญญาแอดเรียนโนเปิล หลังจากสงครามยาวนาน 9 ปี ในที่สุดกรีซก็ได้รับการรับรองว่าเป็นรัฐเอกราช ภายใต้พิธีสารลอนดอนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1830 และการเจรจาเพิ่มเติมใน ค.ศ. 1832 นำไปสู่การประชุมที่ลอนดอนและสนธิสัญญาคอนสแตนติโนเปิล สิ่งเหล่านี้ได้กำหนดพรมแดนสุดท้ายของรัฐใหม่ และสถาปนาเจ้าชายออตโตแห่งบาวาเรีย เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของกรีซ

    เชิงอรรถ

    [แก้]
    1. จากปี ค.ศ. 1821
    2. 2.0 2.1 2.2 จากปี ค.ศ. 1826
    3. ชาติแรกที่รับรองความเป็นเอกราชของกรีซ
    4. เนื่องจากรีซรับเอาปฏิทินเกรกอเรียน ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1923 (ซึ่งกลายเป็นวันที่ 1 มีนาคม) วันที่ทั้งหมดก่อนหน้านั้นจะระบุไว้เป็นวันที่แบบเก่า
    5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 เสียชีวิตหรือบาดเจ็บโดยธรรมชาติ

    อ้างอิง

    [แก้]
    1. กรีก: Ελληνική Επανάσταση, อักษรโรมัน: Elliniki Epanastasi; ชาวกรีกในศตวรรษที่ 19 เรียกว่า อกอนัส [Αγώνας, Agonas], "การดิ้นรน"; ตุรกีออตโตมัน: يونانعصياني Yunan İsyanı, "การกบฎโดยชาวกรีก"
    2. "War of Greek Independence | History, Facts, & Combatants".
    3. Finkel, Caroline (2007). Osman's Dream: The History of the Ottoman Empire. Basic Books. p. 17. ISBN 9780465008506.
    4. Woodhouse, A Story of Modern Greece, 'The Dark Age of Greece (1453–1800)', p. 113, Faber and Faber (1968)

    แหล่งข้อมูลอื่น

    [แก้]

    ดูเพิ่ม

    [แก้]