ข้ามไปเนื้อหา

เดวิด ฮูม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก David Hume)
เดวิด ฮูม
ภาพโดยAllan Ramsay
เกิดเดวิด ฮูม (David Home)
7 พฤษภาคม แบบใหม่ [26 เมษายน แบบเก่า] ค.ศ.1711
เอดินบะระ, สกอตแลนด์, ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่
เสียชีวิต25 สิงหาคม ค.ศ. 1776(1776-08-25) (65 ปี)
เอดินบะระ, สกอตแลนด์, ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่
สัญชาติสกอต
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเอดินบะระ
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
มีอิทธิพลต่อ
ได้รับอิทธิพลจาก
เดวิด ฮูม

เดวิด ฮูม (อังกฤษ: David Hume; เกิด เดวิด ฮูม (อังกฤษ: David Home); 26 เมษายน ค.ศ. 1711 - 25 สิงหาคม ค.ศ. 1776) เป็นนักปรัชญา และนักประวัติศาสตร์ ชาวสกอตแลนด์ และเป็นบุคคลสำคัญที่สุดคนหนึ่งใน ยุคเรืองปัญญาแห่งสกอตแลนด์ (บุคคลสำคัญคนอื่น ๆ ในยุคนี้ ได้แก่ อดัม สมิธ, ทอมัส เรด เป็นต้น)

หลายคนยกย่องให้ฮูม เป็นคนหนึ่งในกลุ่มที่เรียกว่า นักประสบการณ์นิยมชาวบริเตนทั้งสาม ซึ่งฮูมถือเป็นคนที่สามในกลุ่มนี้ ถัดจาก จอห์น ล็อก ชาวอังกฤษ และ จอร์จ บาร์กลีย์ ชาวอังกฤษ-ไอริช นอกจากนี้ยังถือว่าฮูม เป็นคนที่มีแนวคิดทางปรัชญาถึงรากถึงโคนที่สุด ในทั้งสามคนนี้ด้วย. การจัด ฮูม ล็อก และ บาร์กลีย์ ไว้ด้วยกันเช่นนี้ แม้ว่าจะเป็นการจัดตามแบบดั้งเดิม แต่ก็นับว่าได้ละเลยอิทธิพลสำคัญ ๆ ที่ฮูมได้รับจากนักเขียนที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ (Francophone) หลายคน เช่น ปิแยร์ เบย์ล และจากบุคคลสำคัญในแวดวงวิชาการที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ (Anglophone) อีกหลายคนเช่น ไอแซก นิวตัน, แซมวล คลาร์ก, ฟรานซิส ฮัตชิสัน และ จอเซฟ บัตเลอร์

ชีวิตการงาน

[แก้]

ฮูมเกิดในเอดินบะระและเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยเอดินบะระ เดิมทีนั้นเขาคิดจะประกอบอาชีพด้านกฎหมาย แต่แล้วเขากลับบังเกิด "ความรังเกียจอันไม่อาจเอาชนะได้ต่อทุกสิ่งทุกอย่าง จะยกเว้นก็แต่ความกวดขันในงานทางปรัชญาและความรู้ทั่วไป" (ตามคำของฮูมเอง)

ฮูมศึกษาด้วยตนเองในฝรั่งเศส ที่ซึ่งเขาได้เขียนความเรียงว่าด้วยธรรมชาติของมนุษย์จนเสร็จสมบูรณ์ ขณะนั้นฮูมมีอายุได้ 26 ปี แม้ว่านักวิชาการจำนวนมากในปัจจุบันจะเห็นว่าความเรียงฯ เป็นงานชิ้นสำคัญที่สุดของฮูม อีกทั้งยังเป็นหนังสือเล่มสำคัญที่สุดเล่มหนึ่งในประวัติศาสตร์ปรัชญา แต่สารธารณชนในอังกฤษสมัยนั้นดูจะไม่คิดเช่นนั้น ฮูมถึงกับบรรยายปฏิกิริยาที่สาธารณชนมีต่อการตีพิมพ์ความเรียงฯ ในปี ค.ศ. 1739–40 ไว้ในข้อเขียนของเขาว่าหนังสือเล่มดังกล่าว "แท้งตั้งแต่อยู่บนแท่นพิมพ์"

หลังจากทำงานรับใช้บุคคลสำคัญทางการเมืองและการทหารหลายคนได้ราวสองสามปี ฮูมก็กลับไปทำงานค้นคว้าต่ออีกครั้ง เมื่อฮูมตัดสินใจได้ว่าปัญหาของความเรียงฯ มิได้อยู่ที่เนื้อหา หากแต่อยู่ที่ลีลาการประพันธ์ เขาจึงนำเนื้อหาบางส่วนในความเรียงฯ มาปรับปรุงแก้ไขใหม่ให้สาธารณชนอ่านเข้าใจได้ง่ายขึ้น แล้วตีพิมพ์ในชื่อ การไต่สวนถึงความเข้าใจของมนุษย์ ถึงแม้การไต่สวนฯ จะมิได้ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามก็ตาม แต่อย่างน้อยงานชิ้นนี้ก็ได้รับความนิยมมากกว่าความเรียงฯ

ฮูมพลาดโอกาสที่จะได้เป็นศาสตราจารย์ทางปรัชญาทั้งที่เอดินบะระและที่กลาสโกว์ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะข้อกล่าวหาว่าฮูมไม่นับถือพระเป็นเจ้า และอาจเป็นเพราะการต่อต้านจากทอมัส เรด ผู้ซึ่งเป็นบุคคลหนึ่งที่วิพากษ์งานของฮูมอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม ระหว่างที่ฮูมกำลังกวดขันกับงานทางปรัชญาของเขาอยู่นั้นเอง ฮูมก็ได้รับเกียรติทางวรรณกรรมทั้งในฐานะนักเขียนบทความและนักประวัติศาสตร์ กว่าที่งานของฮูมจะได้เป็นจุดสนใจของวงการปรัชญานั้น ก็เมื่ออิมมานูเอิล คานท์ นักปรัชญาคนสำคัญในยุคต่อมา ได้เขียนให้เกียรติฮูมในฐานะที่ได้ปลุกตนให้ตื่นจาก "การหลับใหลอยู่กับหลักความเชื่อ" (ราว ค.ศ. 1770)

มรดกทางปรัชญาของฮูม

[แก้]

แม้งานของฮูมจะเขียนขึ้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 ก็ตาม แต่งานเหล่านั้นยังคงมีความสำคัญในฐานะหัวข้อถกเถียงในวงการปรัชญาปัจจุบัน ซึ่งถือว่าไม่ธรรมดาเลยเมื่อเปรียบเทียบกับงานของนักปรัชญาคนอื่น ๆ ในสมัยเดียวกัน งานทางปรัชญาชิ้นสำคัญ ๆ ของฮูมอาจพอสรุปได้ดังต่อไปนี้

  • ปัญหาว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผล
  • ปัญหาว่าด้วยการนิรนัย
  • ทฤษฎีความสืบเนื่องของตัวตน
  • การใช้เหตุผลเชิงปฏิบัติ : อุปกรณ์นิยมและสุญนิยม
  • ลัทธิปฏิสัจนิยมทางศีลธรรมและแรงจูงใจ
  • เจตจำนงเสรีกับลัทธิอนิยัตินิยม
  • ปัญหาว่าด้วยสิ่งที่เป็น-สิ่งที่ควร
  • อรรถประโยชน์นิยม
  • ปัญหาว่าด้วยปาฏิหาริย์
  • ข้อถกเถียงเรื่องการออกแบบโดยพระเป็นเจ้า
  • อนุรักษนิยมและทฤษฎีการเมือง

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Martin Orejana 1991, p. ?.
  2. Fisher 2011, p. 527–528.
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ SEP
  4. Fumerton, Richard (21 February 2000). "Foundationalist Theories of Epistemic Justification". Stanford Encyclopedia of Philosophy. สืบค้นเมื่อ 19 August 2018.
  5. David Bostock, Philosophy of Mathematics: An Introduction, Wiley-Blackwell, 2009, p. 43: "All of Descartes, Locke, Berkeley, and Hume supposed that mathematics is a theory of our ideas, but none of them offered any argument for this conceptualist claim, and apparently took it to be uncontroversial."
  6. The Problem of Perception (Stanford Encyclopedia of Philosophy): "Paraphrasing David Hume (1739...; see also Locke 1690, Berkeley 1710, Russell 1912): nothing is ever directly present to the mind in perception except perceptual appearances."
  7. David, Marian (3 October 2018). Zalta, Edward N. (บ.ก.). The Stanford Encyclopedia of Philosophy. Metaphysics Research Lab, Stanford University – โดยทาง Stanford Encyclopedia of Philosophy.[ลิงก์เสีย]