คณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Cabinet of Japan)
คณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น
ชื่อท้องถิ่น
内閣
ชื่อโรมัน
Naikaku
ก่อตั้ง22 ธันวาคม ค.ศ. 1885
สำนักงานใหญ่ญี่ปุ่น
บุคลากรหลัก
ฟูมิโอะ คิชิดะ (นายกรัฐมนตรี)
สมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะ (จักรพรรดิ)
เจ้าของรัฐบาลญี่ปุ่น
เว็บไซต์www.kantei.go.jp Edit this on Wikidata

คณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 内閣โรมาจิNaikaku) เป็นองค์การฝ่ายบริหารสูงสุดของรัฐบาลญี่ปุ่นที่ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีซึ่งแต่งตั้งโดยจักรพรรดิหลังจากได้รับการเสนอชื่อโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสมาชิกคนอื่น ๆ มากสุดอีก 19 คน เรียกว่ารัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีได้รับการเสนอชื่อโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และรัฐมนตรีส่วนที่เหลือจะได้รับการแต่งตั้งและถูกขับไล่โดยนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีจะรับผิดชอบต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติร่วมกัน[1] และจะต้องลาออกจากตำแหน่งหากมีการเสนอการอภิปรายไม่ไว้วางใจโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

การแต่งตั้ง[แก้]

ตราพอโลเนีย มักถูกพิจารณาว่าเป็นสัญลักษณ์ของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น คณะรัฐมนตรี และรัฐบาลในภาพรวม

ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่น รัฐมนตรีได้รับการแต่งตั้งหลังจากการคัดเลือกบุคคลเพื่อดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมาชิกส่วนใหญ่ของคณะรัฐมนตรีรวมถึงนายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติและจะต้องเป็นพลเรือนทุกคน ภายใต้กฎหมายคณะรัฐมนตรี จำนวนของรัฐมนตรี (ไม่รวมนายกรัฐมนตรี) ต้องถึง 14 คนหรือน้อยกว่า แต่จำนวนนี้อาจเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 19 คนหากมีเหตุจำเป็นพิเศษ[2][3] ถ้ารัฐมนตรีส่วนใหญ่ลาออก ก็จะยังปฏิบัติราชการแผ่นดินต่อไปจนถึงการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ขณะที่ยังคงดำรงตำแหน่ง[4] การดำเนินการทางกฎหมายต่อรัฐมนตรีจะกระทำไม่ได้หากนายกรัฐมนตรีไม่อนุญาต[5] อีกทั้งคณะรัฐมนตรีจะต้องลาออกทั้งคณะหากเกิดสถานการณ์ดังต่อไปนี้:[6]

  • เมื่อมีการเสนอการอภิปรายไม่ไว้วางใจ หรือการอภิปรายไว้วางใจไม่สำเร็จโดยสภาผู้แทนราษฎร เว้นแต่การยุบสภาภายใน 10 วัน
  • การเรียกประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกหลังการเลือกตั้งเป็นการทั่วไป (แม้ว่านายกรัฐมนตรีจะถูกเลือกและแต่งตั้งซ้ำ และรัฐมนตรีคนอื่น ๆ ได้รับการแต่งตั้งอีกครั้ง)
  • เมื่อตำแหน่งนายกรัฐมนตรีว่างลง หรือนายกรัฐมนตรีประกาศเจตนารมณ์ในการลาออกจากตำแหน่ง

อำนาจ[แก้]

คณะรัฐมนตรีใช้อำนาจ 2 ทาง อำนาจบางส่วนถูกใช้ภายใต้พระปรมาภิไธยของจักรพรรดิโดย "คำแนะนำและการเห็นชอบ" ของคณะรัฐมนตรี อำนาจอีกส่วนถือโดยคณะรัฐมนตรีอย่างเด่นชัด ขณะที่ประเทศอื่น ๆ ภายใต้ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ จักรพรรดิทรงไม่ถืออำนาจสูงสุดตามตำแหน่งของพระองค์ แต่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติอำนาจบริหารให้เป็นของคณะรัฐมนตรีแทน[7] ด้วยเหตุนี้ กิจการราชการแผ่นดินต่าง ๆ จึงกระทำโดยคณะรัฐมนตรีวันต่อวัน[8]

คณะปัจจุบัน[แก้]

คณะรัฐมนตรีคิชิดะที่สอง[9]
ตำแหน่ง รูปภาพ ชื่อ วาระ
นายกรัฐมนตรี ฟูมิโอะ คิชิดะ 4 ตุลาคม ค.ศ. 2021–ปัจจุบัน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการภายในประเทศและการสื่อสาร คาซูชิ คาเนโกะ 4 ตุลาคม ค.ศ. 2021–ปัจจุบัน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม โยชิฮิซะ ฟูรูกาวะ 4 ตุลาคม ค.ศ. 2021–ปัจจุบัน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โยชิมาซะ ฮายาชิ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 2021–ปัจจุบัน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
รัฐมนตรีเพื่อการบริการการเงิน
รัฐมนตรีเพื่อการแก้ไขภาวะเงินฝืด
ชุนอิจิ ซูซูกิ 4 ตุลาคม ค.ศ. 2021–ปัจจุบัน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
รัฐมนตรีเพื่อการปรับปรุงการศึกษา
ชินซูเกะ ซูเอมัตสึ 4 ตุลาคม ค.ศ. 2021–ปัจจุบัน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง เก็นจิโร คาเนโกะ 4 ตุลาคม ค.ศ. 2021–ปัจจุบัน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการ ชิเงยูกิ โกโต 4 ตุลาคม ค.ศ. 2021–ปัจจุบัน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม
รัฐมนตรีเพื่อการแข่งขันอุตสาหกรรม
รัฐมนตรีเพื่อการร่วมมือด้านเศรษฐกิจกับประเทศรัสเซีย
รัฐมนตรีเพื่อการตอบโต้ผลกระทบด้านเศรษฐกิจอันเกิดจากอุบัติเหตุในจังหวัดฟูกูชิมะ
รัฐมนตรีเพื่อการชดเชยความเสียหายจากนิวเคลียร์และการถอดถอนโครงสร้างที่ส่งเสริมนิวเคลียร์
โคอิจิ ฮางิอูดะ 4 ตุลาคม ค.ศ. 2021–ปัจจุบัน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยว
รัฐมนตรีเพื่อนโยบายการหมุนเวียนน้ำ
เท็ตซูโอะ ไซโต 4 ตุลาคม ค.ศ. 2021–ปัจจุบัน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อม
รัฐมนตรีเพื่อการเตรียมความพร้อมในเหตุฉุกเฉินนิวเคลียร์
สึโยชิ ยามางูจิ 4 ตุลาคม ค.ศ. 2021–ปัจจุบัน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงป้องกันประเทศ โนบูโอะ คิชิ 16 กันยายน ค.ศ. 2020–ปัจจุบัน
เลขาธิการใหญ่คณะรัฐมนตรี
รัฐมนตรีเพื่อการบรรเทาผลกระทบอันจากกองกำลังทหารสหรัฐในโอกินาวะ
รัฐมนตรีเพื่อการแก้ไขปัญหาการลักพาตัว
ฮิโรกาซุ มัตสึโนะ 4 ตุลาคม ค.ศ. 2021–ปัจจุบัน
รัฐมนตรีเพื่อการส่งเสริมการฉีดวัคซีน 1 เมษายน ค.ศ. 2022–ปัจจุบัน
รัฐมนตรีเพื่อการทำให้เป็นดิจิทัล
รัฐมนตรีเพื่อการปฏิรูประบบราชการ
รัฐมนตรีเพื่อการปฏิรูปข้อบัญญัติ
คาเร็น มากิชิมะ 4 ตุลาคม ค.ศ. 2021–ปัจจุบัน
รัฐมนตรีว่าการสำนักงานการบูรณะ
รัฐมนตรีเพื่อการประสานงานนโยบายฟื้นฟูอย่างกว้างขวางจากอุบัติเหตุนิวเคลียร์ในจังหวัดฟูกูชิมะ
รัฐมนตรีเพื่อกิจการในดินแดนโอกินาวะและทางตอนเหนือ
โคซาบูโระ นิชิเมะ 4 ตุลาคม ค.ศ. 2021–ปัจจุบัน
ประธานคณะกรรมการความปลอดภัยสาธารณะแห่งชาติ
รัฐมนตรีเพื่อการป้องกันความสูญเสียสาธารณะ
รัฐมนตรีเพื่อการจัดการภัยพิบัติและนโยบายมหาสมุทร
รัฐมนตรีเพื่อการปฏิรูประบบข้าราชการ
ซาโตชิ นิโนยุ 4 ตุลาคม ค.ศ. 2021–ปัจจุบัน
รัฐมนตรีเพื่อการส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่างยืดหยุ่นแก่ประชาชน
รัฐมนตรีเพื่อการวางมาตรการตอบโต้อัตราการเกิดลดลง
รัฐมนตรีเพื่อความเท่าเทียมทางเพศ
รัฐมนตรีเพื่อการเพิ่มอำนาจให้แก่สตรี
รัฐมนตรีเพื่อนโยบายที่เกี่ยวข้องกับเยาวชน
รัฐมนตรีเพื่อการจัดการความเหงาและความโดดเดี่ยว
เซโกะ โนดะ 4 ตุลาคม ค.ศ. 2021–ปัจจุบัน
รัฐมนตรีเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ
รัฐมนตรีเพื่อทุนนิยมใหม่
รัฐมนตรีเพื่อวางมาตรการการจัดการโรคติดเชื้อโคโรนาสายพันธุ์ใหม่และวิกฤติการทางการแพทย์
รัฐมนตรีเพื่อการปฏิรูปการประกันสังคม
รัฐมนตรีเพื่อนโยบายเศรษฐกิจและการคลัง
ไดชิโระ ยามางิวะ 4 ตุลาคม ค.ศ. 2021–ปัจจุบัน
รัฐมนตรีเพื่อความปลอดภัยทางการเงิน
รัฐมนตรีเพื่อนโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
รัฐมนตรีเพื่อนโยบายอวกาศ
ทากายูกิ โคบายาชิ 4 ตุลาคม ค.ศ. 2021–ปัจจุบัน
รัฐมนตรีเพื่อเอ็กซ์โป 2025
รัฐมนตรีเพื่อวิสัยทัศน์แห่งชาติว่าด้วยเมืองสวนดิจิทัล
รัฐมนตรีเพื่อสังคมที่แน่นแฟ้น
รัฐมนตรีเพื่อวางมาตรการตอบโต้จำนวนประชากรที่ถดถอยลงและการกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น
รัฐมนตรีเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคและความปลอดภัยทางอาหาร
รัฐมนตรีเพื่อกลยุทธ์คูลเจแปน
รัฐมนตรีเพื่อกลยุทธ์ทรัพย์สินทางปัญญา
เค็นจิ วากามิยะ 4 ตุลาคม ค.ศ. 2021–ปัจจุบัน

อ้างอิง[แก้]

  1. หมวด 5 มาตรา 66 แห่งรัฐธรรมนูญญี่ปุ่น (1947)
  2. "内閣法". Government of Japan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 April 2010. สืบค้นเมื่อ 1 September 2015.
  3. "Toshiaki Endo appointed Olympics minister". The Japan Times. สืบค้นเมื่อ 1 September 2015.
  4. หมวด 5 มาตรา 71 แห่งรัฐธรรมนูญญี่ปุ่น (1947)
  5. หมวด 5 มาตรา 75 แห่งรัฐธรรมนูญญี่ปุ่น (1947)
  6. หมวด 5 มาตรา 70 แห่งรัฐธรรมนูญญี่ปุ่น (1947)
  7. หมวด 5 มาตรา 65 แห่งรัฐธรรมนูญญี่ปุ่น (1947)
  8. "Bureaucrats of Japan". Library of Congress Country Studies. สืบค้นเมื่อ 1 September 2015.
  9. "List of Ministers". The Cabinet of Japan Prime Minister. 2021-11-10. สืบค้นเมื่อ 2021-11-11.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)