ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Asian Americans)
ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชีย
Asian Americans
ประชากรทั้งหมด
20,916,028
ร้อยละ 5.9 ของประชากร (ค.ศ. 2018)[1]
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
แคลิฟอร์เนีย5,556,592
นิวยอร์ก1,579,494
เท็กซัส1,110,666
นิวเจอร์ซีย์795,163
ฮาวาย780,968
อิลลินอยส์668,694
วอชิงตัน604,251
ฟลอริดา573,083
เวอร์จิเนีย522,199
เพนซิลเวเนีย402,587
ภาษา
ศาสนา
ศาสนาคริสต์ (42%)
ไม่มีศาสนา (26%)
ศาสนาพุทธ (14%)
ศาสนาฮินดู (10%)
ศาสนาอิสลาม (4%)
ศาสนาซิกข์ (1%)
อื่น ๆ (2%) คือ ศาสนาเชน, ศาสนาโซโรอัสเตอร์, ศาสนาชินโต และศาสนาพื้นบ้านจีน (ลัทธิเต๋า, Tengrism และ ลัทธิขงจื๊อ)[3]
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
ชาวอเมริกันเขื้อสายละติน ฮิสปานิก และเอเชีย

ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชีย (อังกฤษ: Asian Americans) คือชาวอเมริกันที่มีบรรพบุรุษเป็นชาวเอเชีย คำนี้ใช้ระบุถึงกลุ่มพหุชาติพันธุ์ (Panethnicity) อันประกอบด้วยประชากรที่หลากหลาย ที่มีพื้นเพมาจากเอเชียตะวันออก, เอเชียใต้ หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามที่นิยามไว้โดยสำนักงานสำมะโนประชากรสหรัฐอเมริกา[4] ที่ซึ่งผระกอบผู้ที่ระบุเชื้อชาติ (race(s)) ของตนบนสำมะโนว่าเป็นชาวเอเชีย ("Asian") หรือใช้คำที่มีการรายงานไว้ เช่น "จีน, ฟิลิปิโน, อินเดีย, ญี่ปุ่น, เกาหลี, เวียดนาม และชาวเอเชียอื่น ๆ (Other Asian)"[5] ในปี 2018 ประชากรอเมริกันเชื้อสายเอเชียคิดเป็น 5.4% ของประชากรทั้งสหรัฐอเมริกา; ซึ่งถ้ารวมถึง ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียพหุเชื้อชาติ (Multiracial Asian Americans) จำนวนจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 6.5%[6]

ประชากรศาสตร์[แก้]

อันราส่วนของประชากรที่เป็นชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียในปี 2010
เปอร์เซ็นต์ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียแบ่งตามประเทศ ในปี 2010

ประชากรศาสตร์ของชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียสามารถแบ่งย่อยออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ ดังนี้

นอกจากนี้ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียยังรวมถึง ชาวอเมริกันพหุเชื้อชาติ (Multiracial Americans) ที่มีพื้นเพจากชาวเอเชียกลุ่มหนึ่งหรือมากกว่า

ภาษา[แก้]

ในปี 2010 มีประชากร 2.8 ล้านรน (อายุ 5 ขวบหรือมากกว่า) ที่พูดภาษาใดภาษาหนึ่งของภาษาจีนเมื่ออยู่ในเคหสถาน[7] และเป็นภาษาที่มีใช้มากที่สุดในสหรัฐอเมริกาเป็นอันดับสามรองจากภาษาสเปนและภาษาอังกฤษ[7] ส่วนภาษาของเอเชียอื่น ๆ ที่มีพบผู้พูดเป็นจำนวนมากเช่น ภาษาตากาล็อก, ภาษาเวียดนาม และ ภาษาเกาหลี ที่ซึ่งมีผู้พูดมากกว่า 1 ล้านคนในสหรัฐอเมริกา[7]

ในปี 2012 อลาสกา, แคลิฟอร์เนีย, ฮาวาย, อิลลินอยส์, แมสซาชูเสตส์, มิชิแกน, เนวาดา, นิวเจอร์ซีย์, รัฐนิวยอร์ก, เท็กซัส และรัฐวอชิงตัน ได้ตีพิมพ์เอกสารเกี่ยวกับการเลือกตั้ง เป็นภาษาของเอเชีย เพื่อเป็นไปตามรัฐบัญยัติ Voting Rights Act;[8] ประกอบด้วยภาษาตากาล็อก, ภาษาจีนแมนดาริน, ภาษาเวียดนาม, ภาษาสเปน,[2] ภาษาฮินดีมาตรฐาน และ ภาษาเบงกอล[8] นอกจากนี้ยังมีในภาษาคุชราต, ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาเขมร, ภาษาเกาหลี และ ภาษาไทย เพิ่มเข้ามาในภายหลัง[9] ผลสำรวจในปี 2013 พบว่าชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชีย 48 เปอร์เซ็นต์เลือกรับสื่อในภาษาแม่ (Media in native language) เป็นแหล่งข่าวหลัก (primary news source)[10]

ในสำมะโนประชากรปี 2000 พบว่าภาษาที่มีใช้มากที่สุดในชุมชนชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียนั้นประกอบด้วยภาษาจีน (ภาษากวางตุ้ง, ภาษาไตซาน และ ภาษาฮกเกี้ยน), ภาษาตากาล็อก, ภาษาเวียดนาม, ภาษาเกาหลี, ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาฮินดี, ภาษาอูรดู, และภาษาคุชราต[11]

ศาสนา[แก้]

ผลการศึกษาในปี 2012 ของศูนย์วิจัยพีวระบุศาสนาที่พบในประชากรอเมริกันเชื้อสายเอเชียดังนี้:[12]

แนวโน้มทางศาสนา[แก้]

อัตราส่วนของคริสเตียนในชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียนั้นลดลงอย่างมากตั้งแต่ทศวรรษ 1990s หลัก ๆ แล้วเกิดจากการอพยพขนาดใหญ่จากประเทศคริสเตียนส่วนน้อยเข้ามา (โดยเฉพาะจีนและอินเดีย) ในปี 1990 มีชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชีย 63% ที่นับถือศาสนาคริสต์ ในขณะที่ในปี 2001 มีเพียง 43%[13] นอกจากนี้ยังเป็นผลมาจากแนวโน้มที่คนเริ่มหันเข้าสู่ศาสนาเอเชีย ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นสองเท่าในทศวรรษเดียวกัน[14]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Asian and Pacific Islander Population in the United States census.gov". United States Census Bureau. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 21, 2021. สืบค้นเมื่อ February 14, 2021.
  2. 2.0 2.1 Jonathan H. X. Lee; Kathleen M. Nadeau (2011). Encyclopedia of Asian American Folklore and Folklife. ABC-CLIO. pp. 333–334. ISBN 978-0-313-35066-5. Since the Philippines was colonized by Spain, Filipino Americans in general can speak and understand Spanish too.
  3. "Asian Americans: A Mosaic of Faiths". The Pew Forum on Religion & Public Life. Pew Research Center. July 19, 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 16, 2013. สืบค้นเมื่อ February 15, 2013. Christian 42%, Buddhist 14%, Hindu 10%, Muslim 4%, Sikh 1%, Jain *% Unaffiliated 26%, Don't know/Refused 1%
  4. Karen R. Humes; Nicholas A. Jones; Roberto R. Ramirez (March 2011). "Overview of Race and Hispanic Origin: 2010" (PDF). United States Census Bureau. U.S. Department of Commerce. สืบค้นเมื่อ January 5, 2012.
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ centech
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ acs18
  7. 7.0 7.1 7.2 "Asian/Pacific American Heritage Month: May 2012". United States Census Bureau. United States Department of Commerce. March 21, 2012. สืบค้นเมื่อ January 12, 2013.
  8. 8.0 8.1 Timothy Pratt (October 18, 2012). "More Asian Immigrants Are Finding Ballots in Their Native Tongue". New York Times. Las Vegas. สืบค้นเมื่อ January 12, 2013.
  9. Leslie Berestein Rojas (November 6, 2012). "Five new Asian languages make their debut at the polls". KPCC. สืบค้นเมื่อ January 12, 2013.
  10. Shaun Tandon (January 17, 2013). "Half of Asian Americans rely on ethnic media: poll". Agence France-Presse. สืบค้นเมื่อ January 25, 2013.
  11. "Language Use and English-Speaking Ability: 2000: Census 2000 Brief" (PDF). census.gov. สืบค้นเมื่อ November 22, 2017.
  12. "Asian Americans: A Mosaic of Faiths" (overview) (Archive). Pew Research. July 19, 2012. Retrieved on May 3, 2014.
  13. Leffel, Gregory P. Faith Seeking Action: Mission, Social Movements, and the Church in Motion. Scarecrow Press, 2007. ISBN 1461658578. p. 39
  14. Sawyer, Mary R. The Church on the Margins: Living Christian Community. A&C Black, 2003. ISBN 1563383667. p. 156