ข้ามไปเนื้อหา

ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่าน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก 4 อีแวนเจลลิส)
ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านล้อมรอบพระเยซู วาดราว ค.ศ. 850 โดย แฮริกาเรียสแห่งทัวรส์ (Haregarius of Tours)
ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านบนเพดานบริเวณสงฆ์ในวัดเซ็นต์โมริทซ (St. Moritz) ที่โรทเท็นเบิร์กอัมเนคคาร์ (Rottenburg am Neckar) ประเทศเยอรมันจากบนซ้ายนักบุญมัทธิว (มนุษย์) นักบุญมาระโก (สิงโต) นักบุญลูกา (วัว) และนักบุญยอห์น (อินทรี)

ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่าน[1] (อังกฤษ: Four Evangelists) หมายถึงผู้ประพันธ์พระวรสารสี่เล่มซึ่งเป็นเอกสารส่วนหนึ่งของพันธสัญญาใหม่ในคัมภีร์ไบเบิล วรสาร แปลว่า ข่าวประเสริฐ ซึ่งหมายถึงข่าวการเสด็จมาของพระเยซู หรือชีวประวัติของพระองค์นั่นเอง[2] อย่างไรก็ดีพระวรสารเขียนขึ้นประมาณหลังจากพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ไปแล้วเกือบหนึ่งร้อยปี[3]

พระวรสารทั้งสี่เล่ม

[แก้]

พระวรสารสี่เล่มหลักของคริสต์ศาสนาที่ถือว่าเป็นพระวรสารในสารบบ ได้แก่

หลักฐานว่าใครเป็นผู้นิพนธ์พระวรสารทั้งสี่จริง ๆ ยังเป็นที่ถกเถียงกันมาจนทุกวันนี้ ผู้นิพนธ์พระวรสารมักจะไม่แนะนำตัวเองในพระวรสารและไม่มีหลักฐานอะไรที่กล่าวว่าโดยตรงถึงนักบุญทั้งสี่ว่าเป็นผู้ประพันธ์ นักวิชาการสมัยใหม่จีงสรุปว่าเป็นผู้ประพันธ์นิรนาม และการให้ชื่อผู้ประพันธ์ภายหลังเป็นเหตุผลที่นอกเหนือจากการทราบผู้ประพันธ์ที่แท้จริง

ผู้ประกาศทั้งสี่

[แก้]

สัญลักษณ์ของผู้นิพนธ์พระวรสาร

[แก้]

ในการวาดภาพผู้นิพนธ์พระวรสารแต่ละท่านจะมีสัญลักษณ์ต่าง ๆ กันซึ่งมาจากหนังสือเอเสเคียล บทที่ 1 และหนังสือวิวรณ์ (4.6-9 และต่อมา) แต่หนังสือทั้งสองก็มิได้บ่งบอกแน่นอนถึงสิ่งที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ของผู้นิพนธ์พระวรสาร สัญลักษณ์ที่ใช้เป็นสิ่งที่วิวัฒนาการขึ้นมาจนกระทั่งมาถึง ราบานุส มอรุส (Rabanus Maurus) ผู้บรรยายถึงความหมายของสิ่งที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ว่ามีความหมายเป็นสามขั้นตอน ขั้นแรกสัญลักษณ์ใช้เป็นสัญลักษณ์แทนพระเยซู ขั้นที่สองเป็นสัญลักษณ์แทนการกระทำของพระองค์ และขั้นที่สามเป็นสัญลักษณ์สำหรับสำหรับคริสต์ศาสนิกชนผู้ซึ่งต้องได้รับการไถ่บาป [4]

  • นักบุญมัทธิวผู้นิพนธ์พระวรสาร ผู้ที่เชื่อกันว่าเป็นผู้ประพันธ์ “พระวรสารนักบุญมัทธิว” ใช้สัญลักษณ์เป็นมนุษย์มิใช่เทวดาที่บางครั้งเชื่อกัน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของมวลมนุษย์และสัญลักษณ์ของเหตุผล
  • นักบุญมาระโกผู้นิพนธ์พระวรสาร ผู้ที่เชื่อกันว่าเป็นผู้ประพันธ์ “พระวรสารนักบุญมาระโก” ใช้สัญลักษณ์สิงโตมีปีกซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความเก่งกล้าและความมีเชื้อสาย นักบุญมาระโกกล่าวว่ายอห์นผู้ให้บัพติศมาเทศนาราวกับ “สิงโตคำราม” ในพระวรสารตอนต้น ๆ นอกจากนั้นสิงโตยังใช้เป็นสัญลักษณ์แทน “การคืนพระชนม์ของพระเยซู” เพราะเชื่อกันว่าเวลาสิงโตนอนหลับจะลืมตาหลับเปรียบกับพระเยซูในหลุมศพและพระเยซูผู้เป็นกษัตริย์
  • นักบุญลูกาผู้นิพนธ์พระวรสาร ผู้ที่เชื่อกันว่าเป็นผู้ประพันธ์ “พระวรสารนักบุญลูกา” และ “หนังสือกิจการของอัครทูต” ใช้สัญลักษณ์วัว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความเสียสละ การทำประโยชน์ และความแข็งแกร่ง
  • นักบุญยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสาร ผู้ที่เชื่อกันว่าเป็นผู้ประพันธ์ “พระวรสารนักบุญยอห์น” และ “หนังสือวิวรณ์” ใช้สัญลักษณ์อินทรี ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ และพระกิตติคุณของพระองค์

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 203-4
  2. “The good news of Jesus Christ, the Son of God. ” มาระโก 1:1
  3. “เรื่องของคนเล่าเรื่อง: บทนำ” (PBS Frontline)
  4. Emile Male, The Gothic Image , Religious Art in France of the Thirteen Century, p 35-7, English trans of 3rd edn, 1913, Collins, London (and many other editions)

ข้อมูลเพิ่มเติม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

สมุดภาพ

[แก้]