ไอเฟล (วงดนตรี)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไอเฟล
Eiffel
ที่เกิดไทย กรุงเทพ ประเทศไทย
แนวเพลงป็อปร็อก
แดนซ์ร็อก
ช่วงปีพ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2535
พ.ศ. 2555 - ปัจจุบัน
ค่ายเพลงเบลล์ เอนเตอร์เทนเม้นท์
สมาชิกอธิบดี พันตาวงษ์ (แจ็ค)
ณัฐฎ์ณัฐ หิรัญสมบูรณ์ (เท็ดดี้)
ธาราดล เด่นทวีศิลป์ (เฟิสท์)
กรรณศิริ อาญาเมือง (ป๊อป)
อดีตสมาชิกประจวบ พิมพ์ทรัพย์ (แอ็ด)
จรรยพงศ์ สุขโข (ไก่)
ปริญญา คงเกลี้ยง (ต้อม)

วงไอเฟล (Eiffel) เป็นศิลปินสัญชาติไทย ในแนวป็อปร็อก และแดนซ์ร็อก มีผลงานอัลบั้ม 2 ชุด คือ "สูงเสียดฟ้า" และ "นาโฮนาเฮ่"(โครงการ 2) ในช่วงปี พ.ศ. 2533 - 2535

ประวัติ[แก้]

สู่ สูงเสียดฟ้า[แก้]

ปี พ.ศ. 2533 อธิบดี (แจ็ค) ได้รู้จักกับ ประจวบ (แอ็ด) จึงชักชวนมาทำวงดนตรีด้วยกัน แต่ยังขาดอีกหลายตำแหน่ง แอ็ดจึงพาแจ็คไปดูวงดนตรีวงหนื่งที่เล่นประจำอยู่ที่ "Nasa Spacy Dome" สถานบันเทิงชื่อดังในสมัยนั้น ซึ่งที่ร้าน Cheers pub บริเวณชั้นล่าง มีวงชื่อ "Mr. bad guys" เล่นประจำอยู่ เท็ดดี้ ซึ่งมาจากวง “เลอโดม” กำลังอยู่ในช่วงพักวงหลังจากมีอัลบั้มเพลง และกำลังศึกษาระดับปริญญาตรีที่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร และมาทำวงเล่นประจำกับ ไก่ และ เฟิสท์ เมื่อแจ็คกับแอ็ดมาดูก็รู้สีกถูกใจจึงชวนกันมาทำงานเพลง ทั้งหมดจึงตกลงร่วมงานกัน

แจ็คได้พาเจ้าของค่ายเพลง "เบลล์ เอนเตอร์เทนเม้นท์" โดยคุณสุวรรณา ตรีรานุรักษ์ และคุณเทอดพล ใคร้วาณิช หรือ เบิ้ม อดีตมือเบสวง P.M.5 ที่จะมาเป็นโปรดิวเซอร์ให้ มาดูวงเล่นด้วยกันที่ร้าน ทางต้นสังกัดพอใจที่จะทำเพลงให้ แต่ยังขาดมือกลอง เนื่องจากคนที่ต้องการไปบวช เฟิสท์เลยพาเท็ดดี้และไก่ไปดู ต้อม มือกลองที่เคยเล่นด้วยกันในร้านพิ้งค์ค็อคเทลเล้าจน์ จึงมาร่วมวง ทางวงเข้าห้องอัดเสียงเอ็มเอ็มสตูดิโอ (ซึ่งมี เหมา ประเทือง อุดมกิจนุภาพ มือเบสวงชาตรี เป็นเจ้าของ) ในปลายเดือนตุลาคมเพื่อผลิตงานชุดแรก โดยโปรดิวเซอร์คือเทอดพล ได้ให้โอกาสทางวงเล่นบันทึกเสียงกันเอง โดยเฉพาะคีย์บอร์ด เบส และเสียงประสาน มีเท็ดดี้และเฟิสท์บันทึกกันเองทุกเพลง และยังได้เชิญ ขจรศักดิ์ หุตะวัฒนะ (ปัจจุบันคือ หมี คาราบาว) มาเล่นโชโล่กีตาร์ให้

อัลบั้มเพลงชุดแรกวางแผงในปลายปีนั้น ในชื่อวง "ไอเฟล" ชุด "สูงเสียดฟ้า" ซึ่งเท็ดดี้เป็นผู้ออกแบบโลโก้วงและตั้งชื่ออัลบั้ม ส่วนชื่อวงตั้งโดยแจ็ค โดยมี เบลล์ เอนเตอร์เทนเม้นท์ เป็นต้นสังกัด มีเพลง เสมอเมฆ, แทนที่, ได้ไง และ ก้าวใหม่ เป็นที่รู้จักจนได้รับกระแสตอบรับค่อนข้างดี แต่เนื่องจากการที่ทางวงผลิตงานกันเองและสื่อที่มีอยู่น้อยเกินไปก็เลยเป็นทั้งข้อดีและข้อเสีย งานที่ออกมาจึงยังไม่ประสบความสำเร็จเต็มที่

โครงการสอง[แก้]

กลางปี พ.ศ. 2534 ทางวงเข้าห้องอัดเสียงเซ็นเตอร์สเตจของ แอ๊ด คาราบาว เพื่อผลิตงานชุดที่ 2 ออกมา โดยได้ พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (ปุ้ม วงตาวัน) มาเป็นโปรดิวเซอร์ให้ และ วงศกร รัศมิทัต (ต้น วงตาวัน) มาควบคุมเสียง อีกทั้งยังมีนักดนตรีฝีมือดีอีกหลายคนมาร่วมบันทึกเสียง เช่น ชัยวัฒน์ จุฬาพันธุ์ (ขุน วงตาวัน) สุเทพ ปานอำพัน (เอ็ดดี้ วงซูซู) โดยมี กีรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร (เขียว คาราบาว) ร่วมเขียนเนื้อเพลง "ยุกยิก" และ กอล์ฟ เบญจพล เขียนเพลง "พับกระดาน" ซื่งแอ็ดเป็นคนร้องเพลงนี้ ทำให้งานชุดที่ชื่อว่า "โครงการ 2 นาโฮนาเฮ่" มีมาตรฐานที่ดีขื้น[ใคร?] จนเป็นที่นิยมของแฟนเพลงอย่างมาก อย่างเช่นเพลง ตะเกียงวิเศษ, เจ็บลีก, คนไม่จืด, พับกระดาน โดยเฉพาะเพลง ตะเกียงวิเศษ และ เจ็บลึก ได้มีการผลิตมิวสิกฟิล์ม เพื่อฉายผ่านทางรายการโทรทัศน์ และโรงภาพยนตร์ต่างๆ [1] โดยชุดนี้มีการทำปกเทปถึงสองครั้ง และทางวงก็ยังได้เล่นประจำที่ "ไนท์ สเตชัน" และ "บรอดเวย์ 2002" อัครสถานบันเทิงชื่อดังแห่งกรุงเทพฯ ในยุคนั้น

เมื่อถีงเวลาที่ เท็ดดี้ ต้องเดินทางไปเรียนปริญญาโทต่อที่ สหรัฐอเมริกา และประกอบกับกระแสนิยมเพลงในบ้านเราเริ่มเปลี่ยนแปลงไป ทางวงจึงตัดสินใจยุบวงลงใน วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2535

หลังแยกวง[แก้]

แจ็ค ได้ไปร้องเพลงที่สถานบันเทิง แค็บปิตอล ในนาม "แจ็ค ไอเฟล" และผลิตงานเดี่ยวภายหลังจากแยกกัน ในชื่อ "JACKGET" กับค่ายคีตาเอนเตอร์เทนเม้นท์ โดยยังได้เพื่อนเก่าของวงไอเฟลมาช่วยงาน เช่น เฟิสท์ เป็นคนบันทีกเสียงเบส เท็ดดี้ และ แอ็ด ช่วยร้องประสานเสียงทั้งหมดให้กับอัลบัมนี้ด้วย หลังจากที่อัลบั้มประสบความสำเร็จพอสมควร ก็ได้ทำธุรกิจสถานบันเทิง และเข้าทำงานที่ค่ายเพลงอาร์เอส ในตำแหน่ง Lyric Producer โดยดูแลศิลปินมากมาย เช่น อู๋ ธรรพ์ณธร, วงเอาท์, จอนนี่ อันวา, เจอาร์, โฟร์ท ฯลฯ นอกจากนี้ยังได้แสดงละครเรื่อง "พระเจ้าตากสินมหาราช" ทางช่อง 3 และอีกหลายๆ เรื่อง รวมถึงภาพยนตร์ด้วย

ส่วน เท็ดดี้ หลังกลับจากอเมริกา ในปี พ.ศ. 2538 ก็ได้เข้าทำงานในแกรมมี่จนถึงปัจจุบัน โดยอยู่เบื้องหลังศิลปินมากมาย เช่น ลีโอ พุฒ, เจสัน ยัง, ปีเตอร์ คอร์ป ไดเรนดัล, นิโคล เทริโอ, ตอง ภัครมัย, วงฟลาย, วงไทม์, วงแจมป์, วงคูณสามซูเปอร์แก๊งค์, วงดับเบิ้ลยู, ปนัดดา เรืองวุฒิ, เพาเวอร์แพท, ฮิวโก้และวงสิบล้อ, ติ๊ก ชีโร่, วงโซคูล ฯลฯ ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อจริงเป็น ณัฐฎ์ณัฐ

ต้อม เข้าร่วมวงดนตรีอีกหลายวง เช่นวง เอฟ 16 และร่วมทำอัลบั้ม "เฟิสท์แก็งค์" กับเฟิสท์ ปัจจุบันยังเล่นดนตรีอยู่ที่ ร้านลูซิเฟอร์ Walking street พัทยา

แอ็ด ได้ผลิตงานเพลงออกมาอีกทั้งงานเดี่ยวในอัลบั้ม "แอ็ดแสลบเล็กๆ" กับค่าย อังกอร์ แต่ที่ประสบความสำเร็จโด่งดังก็คือ เป็นนักร้องนำวง "เดอะแบ็คอัพ" เจ้าของเพลง ปั้นปึง และ สวมเขา ซื่งอัลบั้มนี้ เฟิสท์ ก็ได้รับเชิญมาบันทีกเสียงเบสให้ทั้ง 2 อัลบั้ม โดยเท็ดดี้มาช่วยจัดการวงและเล่นคีย์บอร์ดตอนแสดงสดอีกด้วย

ไก่ ได้ไปร่วมเล่นกับวงต่างๆ หลายวงพร้อมทั้งไปเป็นแบ็คอัพให้กับ ต่าย เพ็ญพักตร์ ศิริกุล ร่วมกับเฟิสท์ จากนั้นจึงเดินทางไปเล่นดนตรีที่ประเทศฮ่องกง ปัจจุบันเปลื่ยนชื่อจริงเป็น นฤเทพ และได้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ จำพรรษาอยู่ที่วัดป่างิ้ว อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันสึกออกมาแล้ว

เฟิสท์ ได้ร่วมงานกับอีกหลายวง และเข้าร่วมวงอินคาในงานชุดที่ 2 ต่อจากนั้นจึงเล่นเป็นแบ็คอัพให้กับ ต่าย เพ็ญพักตร์ และรับจ้างบันทีกเสียงเบสให้กับศิลปินต่างๆ ต่อมาก่อตั้งวง เฟิสท์แก็งค์ โดยทำหน้าที่ร้องนำ และชักชวน ต้อม ไอเฟล เข้าร่วมเป็นสมาชิกวงด้วย ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อจริงเป็น ภูผา

ปี พ.ศ. 2553 วงไอเฟล กลับมารวมตัวครั้งแรกในรอบ 15 ปี เพื่อแสดงคอนเสิร์ตช่วยเหลือ แอ็ด ซึ่งป่วยหนักอยู่ในโรงพยาบาล ในเดือนกันยายน ต่อมายังได้ร่วมแสดงในงาน ฉลองครบรอบ 40 ปี นิตยสารเดอะกีตาร์ ในวันที่ 20 พฤศจิกายน ที่ริมทะเลสาบ เมืองทองธานี[2]

คืนสู่งานเพลง[แก้]

ในปี พ.ศ. 2555 วงไอเฟลได้ประกาศกลับมาทำงานเพลงชุดใหม่หลังว่างเว้นจากงานสตูดิโออัลบั้มนานถึง 20 ปี โดยออกซิงเกิลจำนวน 2 เพลง คือ "เวทมนตร์" และ "บาดแผลที่งดงาม" โดยเป็นการทำงานของสมาชิกดั้งเดิมของวงเพียง 3 คน ได้แก่ แจ็ค, ​เท็ดดี้, เฟิสท์ และยังได้ชวน ป๊อป-กรรณศิริ อาญาเมือง อดีตมือกลองจากวงเลอโดม เข้าร่วมวงด้วย โดยแนวเพลงยังคงเป็นลักษณะเช่นเดียวกับสมัยทำเพลงในยุคก่อน โดยเฉพาะเพลง เวทมนตร์​ ที่​เน้น​ความ​เป็นเมจิก​เหมือนเป็นภาคต่อของ​เพลง ตะ​เกียงวิ​เศษ ที่อยู่ในอัลบั้มชุดที่ 2 ของวง[3]

สมาชิก[แก้]

สมาชิกในปัจจุบัน[แก้]

  • อธิบดี พันตาวงษ์ (แจ็ค) นักร้องนำ
  • ณัฐฎ์ณัฐ หิรัญสมบูรณ์ (เท็ดดี้) เปียโน คีย์บอร์ด
  • ธาราดล เด่นทวีศิลป์ (เฟิสท์) เบส
  • กรรณศิริ อาญาเมือง (ป๊อป) กลอง

อดีตสมาชิก[แก้]

  • ประจวบ พิมพ์ทรัพย์ (แอ็ด) (เสียชีวิต)[4]
  • จรรยพงศ์ สุขโข (ไก่)
  • ปริญญา คงเกลี้ยง (ต้อม)

ละครโทรทัศน์[แก้]

ปี พ.ศ. ไทย ไตเติ้ล ไตเติ้ล รับบท คู่กับ ผลิตโดย ออกอากาศ สมาชิก
2561 เชิง ชาย ชาญ Cherng Chai Chan 2018 เผือก (คนค้ายา) บริษัท สตาร์เฟรม จำกัด ช่อง 7 อธิบดี พันตาวงษ์ (แจ็ค)
2562 ตะกรุดโทน Dtagrut Ton 2019 พุฒิ หนูหริ่ง (ไข่นุ้ย) บริษัท โคลีเซี่ยม อินเตอร์ กรุ๊ป จำกัด ช่อง 7 อธิบดี พันตาวงษ์ (แจ็ค)
2563 หนี้เกียรติยศ
(หยดน้ำในตะวัน)
Nee Kiattiyot 2020 เสี่ยกำจร (นักธุรกิจสีเทา) บริษัท สตาร์เฟรม จำกัด ช่อง 7 อธิบดี พันตาวงษ์ (แจ็ค)
2564 แม่นากพระโขนง Mae Nak Phra Khanong 2021 ปลัดกรมการเมือง (รับเชิญ) บริษัท ยามา เอนเตอร์เทนเมนท์ จำกัด ช่อง 9 อธิบดี พันตาวงษ์ (แจ็ค)

ละครชุด[แก้]

ปี พ.ศ. ไทย ไตเติ้ล ไตเติ้ล รับบท คู่กับ ผลิตโดย ออกอากาศ สมาชิก
25 ()

ละครซิทคอม[แก้]

ปี พ.ศ. ไทย ไตเติ้ล ไตเติ้ล รับบท คู่กับ ผลิตโดย ออกอากาศ สมาชิก
25 ()

อ้างอิง[แก้]

  1. สีสันบันทึก, "ไอเฟลโครงการ 2", นิตยสาร สีสัน ปีที่ 4 ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2534, หน้า 15
  2. ข้อมูลคอนเสิร์ต 40th The Legend of The Guitar thaiticketmajor.com
  3. ไอ​เฟล (Eiffel) หวนคืน​ไมค์ ​แทคทีมปลดปล่อยอารมณ์กลิ่นอาย “ภาระตะ” จาก แนวหน้า
  4. [news.sanook.com/1333164/ "แอ๊ด เดอะแบ๊คอัพ" อดีตนักร้องดัง เสียชีวิตแล้ว]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]