ข้ามไปเนื้อหา

ไอกาวะ

พิกัด: 35°31′44″N 139°19′18″E / 35.52889°N 139.32167°E / 35.52889; 139.32167
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไอกาวะ

愛川町
ทิวทัศน์ของเมืองไอกาวะ
ทิวทัศน์ของเมืองไอกาวะ
ธงของไอกาวะ
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของไอกาวะ
ตรา
ที่ตั้งของไอกาวะในจังหวัดคานางาวะ (เน้นสีเหลือง)
ที่ตั้งของไอกาวะในจังหวัดคานางาวะ (เน้นสีเหลือง)
ไอกาวะตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
ไอกาวะ
ไอกาวะ
ที่ตั้งของไอกาวะในประเทศญี่ปุ่น
พิกัด: 35°31′44″N 139°19′18″E / 35.52889°N 139.32167°E / 35.52889; 139.32167
ประเทศญี่ปุ่น
ภูมิภาคคันโต
จังหวัดคานางาวะ
อำเภอไอโก
พื้นที่
 • ทั้งหมด34.29 ตร.กม. (13.24 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (1 มิถุนายน 2012)
 • ทั้งหมด41,576 คน
 • ความหนาแน่น1,210 คน/ตร.กม. (3,100 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น)
สัญลักษณ์ 
• ต้นไม้เมเปิล
• ดอกไม้กุหลาบพันปี
• สัตว์ปีกนกกระเต็นน้อยธรรมดา
หมายเลขโทรศัพท์046-285-2111
ที่อยู่ศาลาว่าการ251-1 Kakuda, Aikawa-machi, Aikō-gun, Kanagawa-ken
243-0392
เว็บไซต์www.town.aikawa.kanagawa.jp

ไอกาวะ (ญี่ปุ่น: 愛川町โรมาจิAikawa-machi) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในจังหวัดคานางาวะ ประเทศญี่ปุ่น ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2012 เมืองนี้มีประชากรประมาณ 41,576 คน ความหนาแน่น 1,210 คนต่อตารางกิโลเมตร และมีพื้นที่ทั้งหมด 34.29 ตารางกิโลเมตร

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ไอกาวะตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาทางตอนเหนือของจังหวัดคานางาวะ มีแม่น้ำนากัตสึซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำซางามิไหลผ่าน และมีเขื่อนมิยางาเซะตั้งอยู่บนแม่น้ำนากัตสึ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าพลังน้ำที่สำคัญ ส่วนหนึ่งของเทือกเขาทันซาวะกินพื้นที่ทางตะวันตกของเมือง ภูเขาที่สูงที่สุดในไอกาวะคือภูเขาทากาโตริ

เทศบาลข้างเคียง

[แก้]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ในยุคเซ็งโงกุ ยุทธการที่มิมาเซโตเงะ ระหว่างกองกำลังของทาเกดะ ชิงเง็ง กับตระกูลโฮโจยุคหลัง ได้เกิดขึ้นในบริเวณที่ซึ่งเป็นเมืองไอกาวะในปัจจุบัน ในยุคเอโดะ พื้นที่นี้เป็นดินแดนเท็นเรียว ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมโดยตรงของรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ หลังจากการฟื้นฟูเมจิ ได้มีการจัดระเบียบที่ดินในปี 1889 หมู่บ้านไอกาวะก็ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน 1889 ได้รับการยกฐานะเป็นเมืองเมื่อวันที่ 1 เมษายน 1940 ต่อมาเมื่อวันที่ 15 มกราคม 1955 และวันที่ 30 กันยายน 1956 หมู่บ้านที่อยู่ใกล้เคียงอันได้แก่ หมู่บ้านทากามิเนะ และหมู่บ้านนากัตสึ ได้รวมเข้ากับเมืองไอกาวะตามลำดับ และเริ่มมีการพัฒนาอุตสาหกรรมในปี 1966

เศรษฐกิจ

[แก้]

ไอกาวะมีเศรษฐกิจแบบผสม โดยได้รับการสนับสนุนจากเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเบา บริษัทที่มีโรงงานในไอกาวะ ได้แก่ บริษัทเครื่องมิลลิงมากิโนะ, อาซาฮิกลาส, เอ็นเอชเคสปริง, เมอร์ค และมิตซูบิชิ มอเตอร์ส และเมืองนี้ยังเป็นที่อยู่อาศัยของผู้ทำงานที่ไปกลับเป็นประจำทั้งในนครซางามิฮาระและอัตสึงิ

การขนส่ง

[แก้]

ไอกาวะมีทางหลวงญี่ปุ่นหมายเลข 412 ผ่าน แต่ไม่มีการเชื่อมต่อทางรถไฟ

บุคคลที่มีชื่อเสียง

[แก้]

ภาพ

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]