ข้ามไปเนื้อหา

กุหลาบพันปี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กุหลาบพันปี
กุหลาบแดง (Rhododendron simsii)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids
อันดับ: Ericales
วงศ์: Ericaceae
วงศ์ย่อย: Ericoideae
เผ่า: Rhodoreae
สกุล: Rhododendron
L. Sp. Pl. i 392 (1753)[1]
ชนิดต้นแบบ
Rhododendron ferrugineum
L.
Subgenera 

กุหลาบพันปี (อังกฤษ: Azalea) เป็นชื่อสกุลของไม้ดอกในสกุล Rhododendron ในวงศ์กุหลาบป่า (Ericaceae) มีมากกว่า 1,000 ชนิด

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]

คำว่า Rhododendron มาจากภาษากรีกโบราณคำว่า ῥόδον rhódon หมายถึง "กุหลาบ" และ δένδρον déndron หมายถึง "ต้นไม้" ส่วนในภาษาไทย "กุหลาบพันปี" มาจากการที่มีลักษณะดอกคล้ายกุหลาบ (แต่มิได้เป็นไม้จำพวกกุหลาบแต่อย่างใด) และลำต้นที่มักมีมอสส์เกาะ คล้ายกับมีอายุเป็นพันปี จึงเป็นที่มาของชื่อ[2][3]

ลักษณะ

[แก้]

เป็นไม้พุ่ม กระจายพันธุ์ในแถบทวีปเอเชีย, อเมริกาเหนือ, ยุโรป และออสเตรเลีย โดยเฉพาะในทวีปเอเชียจะพบตามภูเขาสูงตามแถบแนวเทือกเขาหิมาลัยที่อยู่จากระดับน้ำทะเลนับพันเมตร โดยพบได้จนถึงจีนตอนใต้ และเกาหลี จนถึงญี่ปุ่น[4]

กุหลาบพันปีชนิด Rhododendron arboreum ยังเป็นไม้ดอกประจำประเทศเนปาลอีกด้วย[5]

ชนิดที่พบในประเทศไทย

[แก้]
  • คำขาวเชียงดาว (Rhododendron ludwigianum) เป็นไม้พุ่มขึ้นอิงอาศัยกับต้นไม้ใหญ่ เป็นไม้เฉพาะถิ่นของประเทศไทย พบเฉพาะบนเขาหินปูน ที่ระดับความสูง 1,800-2,200 เมตร ของดอยเชียงดาว และดอยอินทนนท์ เท่านั้น ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม[8]
  • กุหลาบแดงมลายู (Rhododendron malayanum) มีลักษณะดอกสีแดง เป็นไม้พุ่มขึ้นอิงอาศัยกับต้นไม้ใหญ่ มีความสูงของต้น 1-2 เมตร พบในภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย บนภูเขาที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 เมตรขึ้นไป ขึ้นตามคบไม้ในป่าดิบเขาที่ชุ่มชื้น[9]
  • กุหลาบพันปีลังกาหลวง (Rhododendron microphyton) มีลักษณะดอกสีขาวมีจุดสีแดง พบตามป่าดิบเขาทางภาคเหนือของประเทศไทย ที่ระดับความสูง 1,500 เมตรขึ้นไป ออกดอกและผลช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม[8]
  • คำขาว (Rhododendron moulmainense) มีลักษณะดอกสีขาวมีขนาดใหญ่กว่าดอกคำแดง พบได้ตั้งแต่พื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป เช่น ยอดเขาบนอุทยานแห่งชาติเขาหลวง
  • กุหลาบแดง (Rhododendron simsii) พบในภาคอีสานที่ระดับความสูง 1,000-1,600 เมตร[10]
  • นมวัวดอย (Rhododendron surasianum) ช่อดอกสั้นออกตามปลายกิ่งช่อละ 3-4 ดอก กลีบดอกสีขาว หรือขาวอมชมพู เป็นไม้เฉพาะถิ่นของประเทศไทย พบที่จังหวัดเชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอนบางบริเวณ บนภูเขาสูงจากระดับน้ำทะเล 1,400-1,600 เมตร ขึ้นบนพื้นที่ลาดชันที่ชุ่มชื้นในป่าดิบเขา[11]
  • กุหลาบป่า (Rhododendron taliense) ดอกมีสีขาวครีมจนถึงสีเหลือง ลักษณะดอกเป็นช่ออัดแน่นแบบร่ม ดอกย่อยมีจำนวน 10–15 ดอก ในประเทศไทยพบเฉพาะยอดเขาสูงในภาคเหนือ เช่น ดอยอินทนนท์, ดอยผ้าห่มปก, ดอยเชียงดาว, ดอยลังกาหลวง เท่านั้น[12]
  • กายอม หรือ กุหลาบขาว (Rhododendron veitchianum) มีลักษณะเป็นกาฝาก อาศัยเกาะอยู่กับต้นไม้ใหญ่ ซอกหิน หรือโขดหิน ที่มีความชุ่มชื้นสูง จะพบได้ตั้งแต่พื้นที่ป่าดิบเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Linnaeus, C. (1753). "Rhododendron". Species Plantarum. Stockholm: Laurentii Salvii. p. i 392. สืบค้นเมื่อ June 15, 2014.
  2. 2.0 2.1 กุหลาบพันปี
  3. ῥόδον, δένδρον. Liddell, Henry George; Scott, Robert; A Greek–English Lexicon at Perseus Project
  4. ปฐมบท, "พินัยกรรมธรรมชาติ". สารคดีทางไทยพีบีเอส: ศุกร์ที่ 4 มกราคม 2556
  5. "ป่ากุหลาบพันปี เนปาล ความงามบนเทือกเขาหิมาลัย จากเอ็มไทย.คอม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-15. สืบค้นเมื่อ 2013-09-17.
  6. "กุหลาบพันปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-21. สืบค้นเมื่อ 2013-09-17.
  7. "ดอกไม้ป่าในประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-30. สืบค้นเมื่อ 2013-09-17.
  8. 8.0 8.1 จากฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์
  9. กุหลาบแดง จากราชบัณฑิตยสถาน
  10. สมุนไพรไทย: กุหลาบแดง
  11. นมวัวดอย จากมหาวิทยาลัยมหิดล[ลิงก์เสีย]
  12. "กุหลาบป่า จากมหาวิทยาลัยมหิดล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-09-17.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]