ไมก์ ชิโนดะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ไมค์ ชิโนะดะ)
ไมก์ ชิโนดะ
ไมก์ ชิโนดะ ขณะแสดงคอนเสิร์ตกับลิงคินพาร์กที่งาน Rock im Park ปี 2557
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดไมเคิล เคนจิ ชิโนดะ
เกิด11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 (47 ปี)[1]
ที่เกิดอะกูราฮิลส์ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
แนวเพลงอัลเทอร์เนทีฟร็อก, อัลเทอร์เนทีฟฮิปฮอป, อัลเทอร์เนทีฟเมทัล, นูเมทัล ,แร็ปร็อก
อาชีพแรปเปอร์, นักดนตรี, โปรดิวเซอร์เพลง, ศิลปิน, กราฟิกดีไซเนอร์
เครื่องดนตรีเสียงร้อง, กีตาร์, กีตาร์เบส, คีย์บอร์ด, เปียโน, แซมเพลอร์, เทิร์นเทเบิล, ออร์แกน, เทรามิน, เครื่องสังเคราะห์เสียง
ช่วงปีพ.ศ. 2537 – ปัจจุบัน
ค่ายเพลงแมชชีนชอป, วอร์เนอร์บราเธอร์ส
คู่สมรสแอนนา ฮิลลินเจอร์
(พ.ศ. 2546–ปัจจุบัน)
เว็บไซต์mikeshinoda.com

ลายมือชื่อของไมก์ ชิโนดะ

ไมเคิล เคนจิ ชิโนดะ (อังกฤษ: Michael Kenji Shinoda, คาตาคานะ: マイケル・ケンジ・シノダ, คันจิ: 篠田 賢治 ชิโนดะ เคนจิ) เกิดเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1977[1] เป็นนักดนตรีชาวอเมริกัน-ญี่ปุ่น จากเมืองอากูราฮิลส์ รัฐแคลิฟอร์เนีย นับว่าเป็นหนึ่งในสองคนของวงลิงคินพาร์กที่มีเชื้อสายเอเชีย (อีกคนหนึ่งชื่อ โจ ฮาห์น) เขามีชื่อเสียงในฐานะแร็ปเปอร์ นักแต่งเพลงในเพลงต่างๆ ของลิงคินพาร์ก เป็นมือคีย์บอร์ด/เปียโน นักร้องเสียงประสาน มือจังหวะกีตาร์ และเป็นโปรดิวเซอร์เพลงของลิงคินพาร์คอีกด้วย และเขายังมีโปรเจกต์อื่นอย่างออกผลงานแนวฮิปฮอปในนาม ฟอร์ตไมเนอร์ นอกจากนี้เขายังมีผลงานศิลปะเป็นของตัวเองอีกด้วย เขาติดอันดับที่ 72 ในรายการของ "Top 100 Heavy Metal Vocalists" โดย Hit Parader เสียงของไมค์อยู่ในโทนเสียงแบริโทน

ประวัติ[แก้]

ชีวิตช่วงแรก[แก้]

ไมก์ ชิโนดะ เกิดและเติบโตในเมืองอะกูราฮิลส์ ชานเมืองลอสแอนเจลิส[1] พ่อของเขาเป็นลูกครึ่งญี่ปุ่น-อเมริกัน ทายาทของตระกูลบริษัท คุมะอิชิโระ ชิโนดะ และแม่ของเขาเป็นคนผิวขาว[2][3] เขามีน้องชายหนึ่งคนชื่อ เจสัน[4]

ไมก์เป็นผู้ที่มีความสนใจเกี่ยวกับดนตรีในช่วงมัธยม โดยเขาได้เริ่มเล่นเครื่องดนตรีหลายชนิดโดยสนใจเรียนเปียโนคลาสสิกเมื่ออายุประมาณ 6 ปี เมื่ออายุได้ 13 ปี เขาได้หันมาสนใจมาเล่นดนตรีในแนวแจ๊ส บลูส์ และแม้แต่ฮิปฮอป[5] เขาได้เรียนรู้การเล่นกีตาร์และร้องเพลงในแบบแร็ปในการแสดงต่างๆ

ไมก์ได้เข้าเรียนที่อะกูราไฮสคูลด้วยกันกับ แบรด เดลสัน และรอบ บัวร์ดอน ซึ่งเป็นสมาชิกวงลิงคินพาร์กในปัจจุบัน ทั้งสามคนได้ก่อตั้งวงดนตรีชื่อ ซีโร (Xero) และเริ่มทำงานอาชีพในวงการเพลงอย่างจริงจังมากขึ้น หลังจากจบการศึกษาในระดับไฮสคูล ไมก์ได้เข้าเรียนที่ Art Center College of Design เพื่อเรียนด้านกราฟิกดีไซน์โดยเฉพาะ[1] และเขาก็ได้เรียนร่วมห้องกับโจ ฮาห์น ซึ่งเป็นดีเจ และเป็นนักเทิร์นเทเบิลในขณะนั้น

เมือได้จบการศึกษาวิทยาลัย ก็ได้ทำงานด้านกราฟิกดีไซเนอร์ควบคู่ไปกับการทำผลงานดนตรี[1] และได้ใช้ความรู้ด้านกราฟิกดีไซเนอร์มาออกแบบโลโก้ และภาพต่างๆ ของวงคู่กับโจ ฮาห์น และได้ออกแบบหน้าปกอัลบั้ม 2000 Fold ซึ่งเป็นอัลบั้มชุดแรกให้กับวงสไตลส์ออฟบียอนด์ (Styles of Beyond) ในปีต่อมาเขาได้แสดงทักษะและความสามารถทางด้านงานศิลปะครั้งแรกของเขาในงานแสดงผลงานศิลปะที่แกลลอรี่ 1988[6] ที่ลอสแอนเจลิส ก่อนที่จะทำอัลบั้มชุดที่สามของวง มินิตส์ทูมิดไนต์

ลิงคินพาร์ก[แก้]

ไมก์ ชิโนดะ ในระหว่างการสัมภาษณ์ที่กรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2549

เมื่อวงดนตรีของไมก์ ชิโนดะได้คว้าตัวนักร้องนำคนใหม่ของวง เชสเตอร์ เบนนิงตัน แทนที่ มาร์ก เวกฟิลด์ (Mark Wakefield) ทำให้ไมก์ได้มีส่วนร่วมในการบันทึกผลงานเพลงของวงดนตรีอย่างใกล้ชิด และผลงานในด้านต่างๆ และได้ร่วมเป็นมือกีตาร์ด้วยกันกับ แบรด เดลสัน ซึ่งเป็นมือกีตาร์นำของวง ในอัลบั้ม ไฮบริดทีโอรี อีพี รวมทั้งสตูดิโออัลบั้มชุดแรกของวง ไฮบริดทีโอรี[7] ไมก์ได้มีส่วนร่วมในการแต่งเพลงในหลายๆ เพลงของลิงคินพาร์กมาตั้งแต่ก่อตั้งวง เขาได้เป็นโปรดิวเซอร์ให้กับอัลบั้มรีแอนิเมชัน ที่ออกจำหน่ายเมื่อปี พ.ศ. 2545 ซึ่งเป็นอัลบั้มรีมิกซ์ชุดแรกของวง เขาได้มีส่วนร่วมในการทำผลงานเพลงของ The X-Ecutioners ในชื่อว่า "It's Goin' Down"

ในช่วงสตูดิโออัลบั้มชุดที่สองของวง เมทีโอรา ในปี พ.ศ. 2546 ไมก์ยังคงทำหน้าที่ของเขาในฐานะนักดนตรีและเจ้าหน้าที่โปรดิวเซอร์ต่างๆ นอกจากนี้ งานภาพปกอัลบั้มนั้น เขาได้ร่วมมือกับศิลปินกราฟฟิตี DELTA (ศิลปะการพ่นสีขีดเขียนบนกำแพง), กราฟิกดีไซเนอร์ แฟรงก์ แมดดอกส์ (Frank Maddocks) และเพื่อนร่วมวงดนตรี โจ ฮาห์น

มีการออกจำหน่ายผลงานของเจย์-ซีร่วมกับลิงคินพาร์ก ในชื่อว่า คอลลิชันคอร์ส ซึ่งเป็นการนำเพลงของทั้งสองศิลปินมาผสมกัน โดยออกจำหน่ายในปี พ.ศ. 2547 การมีส่วนร่วมในการสร้างอัลบั้มของไมก์ได้ดำเนินต่อเนื่องไปเรื่อยๆ และได้ชนะรางวัลแกรมมีในรายการ "แร็ป/ร้องยอดเยี่ยม" ในปี พ.ศ. 2549[8]

ลิงคินพาร์กได้ออกจำหน่ายอัลบั้มชุดที่สาม มินิตส์ทูมิดไนต์ เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ในอัลบั้มชุดนี้ ไมก์ได้ผลิตผลงานร่วมกับ ริก รูบิน ซึ่งเป็นโปรดิวเซอร์ที่ได้เคยผลิตผลงานมามากมาย และมีการแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงแนวเพลงของวง อัลบั้มชุดนี้เป็นครั้งแรกของไมก์ ที่นอกจากการแร็ปและการร้องประสานเสียงของเขาแล้ว เขายังได้ร้องนำเพลงช้าครั้งแรก "In Between" และเพลงบีไซด์ "No Roads Left" เช่นเดียวกันกับการร้องแร็ปนำในเพลง "Bleed It Out" และเพลง "Hands Held High" ถึงแม้จะเป็นแทร็กที่หายากที่ไมก์ได้นำหน้าที่นักร้องนำ นิตยสารดนตรี Hit Parader ได้จัดอันดับให้ไมก์อยู่ในอันดับที่ 72 ของนักร้องเมทัล 100 อันดับแรก[9] ไมก์และริก รูบิน ได้ผลิตผลงานร่วมกันอีกครั้งในสตูดิโออัลบั้มชุดที่สี่ของลิงคินพาร์ก อะเทาซันด์ซันส์ ซึ่งออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553 หลังจากนั้นก็ได้ออกจำหน่ายอัลบั้มชุดที่ห้า ลิฟวิงทิงส์ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555 และออกอัลบั้มรีมิกซ์ชุดที่สองของวง รีชาจด์ ซึ่งเป็นอัลบั้มที่นำเพลงมาจากอัลบั้มลิฟวิงทิงส์มารีมิกซ์ลงอยู่ในอัลบั้มนี้ ออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2556 และได้ออกจำหน่ายสตูดิโออัลบั้มชุดที่หก เดอะฮันติงปาร์ตี เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ฟอร์ตไมเนอร์[แก้]

ไมก์เริ่มงานไซด์โปรเจกต์ชื่อว่า ฟอร์ตไมเนอร์ ในระหว่างปี พ.ศ. 2546 และ พ.ศ. 2547 เพราะเขาไม่ต้องการที่จะแสดงดนตรีที่เน้นหนักในแบบฮิปฮอปกับลิงคินพาร์กมากนัก[10]

อัลบั้มเปิดตัวของฟอร์ตไมเนอร์ มีชื่อว่า เดอะไรซิงไทด์ (The Rising Tied) ออกจำหน่ายวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 และรวมศิลปินรับเชิญจาก Styles of Beyond, Lupe Fiasco, Common, Black Thought จาก The Roots, John Legend, Holly Brook, Jonah Matranga, Celph Titled, และมี Jay-Z เป็นผู้อำนวยการผลิต

ผลงานศิลปะ[แก้]

ไมก์เป็นคนที่อายุน้อยที่สุดที่เรียนจบการศึกษาจาก Art Center College of Design แห่งพาซาดีน่าในปี พ.ศ. 2541 ในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต เขามีส่วนร่วมในการสร้างผลงานด้านศิลปะของลิงคินพาร์ก ได้แก่ ภาพหน้าปกอัลบั้มต่างๆ สินค้าจากวง การออกแบบเว็บไซต์ของวง และงานศิลปะเพื่อออกโชว์บนเวที

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

ไมก์เป็นลูกครึ่งชาวอเมริกัน-ญี่ปุ่นรุ่นที่สาม[11][12] พ่อและป้าของเขาถูกบังคับให้อาศัยอยู่ในที่ค่ายกักกันชาวอเมริกัน-ญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง[13][14]

ในปี พ.ศ. 2552 ไมก์ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขา Humane Letters (L.H.D) จาก Art Center College Of Design[15]

เขาได้แต่งงานกับนักเขียนชื่อ แอนนา ชิโนดะ (ชื่อเกิด แอนนา ฮิลลินเจอร์) เมื่อปี พ.ศ. 2546 ทั้งคู่มีลูกด้วยกันสามคน คนโตเป็นลูกชายชื่อ โอติส อะกิโอะ ชิโนดะ (Otis Akio Shinoda) แอนนาได้เปิดตัวนวนิยายเรื่องแรกของเธอ Learning Not to Drown เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 ตามเว็บบล็อกของเธอและระหว่างการสัมภาษณ์กับไมก์[16]

ผลงาน[แก้]

ผลงานของลิงคินพาร์ก
ผลงานของฟอร์ตไมเนอร์
ผลงานด้านอื่นๆ
ปี เพลง ศิลปิน อัลบั้ม หมายเหตุ
1998 - Styles of Beyond 2000 Fold งานศิลปะ
1999 - DJ Frane Frane's Fantastic Boatride งานศิลปะ
- Saukrates The Underground Tapes งานศิลปะ
2002 "Freestyle" DJ Vice I'm Serious เสียงร้อง
"It's Goin' Down" The X-Ecutioners Built from Scratch เสียงร้อง, กีตาร์, โปรดิวเซอร์, ผู้แต่ง
2004 "Mike Callin' to Say Hi" (skit) KutMasta Kurt Redneck Olympics เสียงร้อง
Enjoy the Silence 04 Depeche Mode Remixes 81–04 โปรดิวเซอร์
"Rock and Roll (Could Never Hip Hop Like This) Part 2" Handsome Boy Modeling School White People เสียงร้อง, กีตาร์, เปียโน, กีตาร์เบส, โปรดิวเซอร์
2006 "Mike Shinoda Interlude" DJ Vlad และ Roc Raida Rock Phenomenon เสียงร้อง
"The Instrumental" Lupe Fiasco Lupe Fiasco's Food & Liquor โปรดิวเซอร์
2007 "Hard [MS Remix]" Styles of Beyond Razor Tag โปรดิวเซอร์
"Hey You" เสียงร้อง
"You Cannot Fuck With This" โปรดิวเซอร์
2008 "We Made It" Busta Rhymes และ Linkin Park We Made It (single) เสียงร้อง, กีตาร์, โปรดิวเซอร์
"Barack Your World" White Pegacorn - เสียงร้อง, กีตาร์, โปรดิวเซอร์, ผู้แต่ง
2009 "Death to Analog" (Mike Shinoda Remix) Julien-K Death to Digital

Death to Digital X

โปรดิวเซอร์
"Shoot First" Apathy Wanna Snuggle? โปรดิวเซอร์
"Stories of the Lost" Zii Stories of the Lost (single) ผู้อำนวยการผลิต
2010 ทั้งอัลบั้ม Linkin Park 8-Bit Rebellion! โปรดิวเซอร์
"Carry Me Away" Cypress Hill Rise Up เสียงร้อง, โปรดิวเซอร์
"Never Let Me Down" (เป็นโปรดิวเซอร์ร่วมกับ Chad Hugo) Kenna Download to Donate for Haiti โปรดิวเซอร์
"Resurrection" Kenna featuring Lupe Fiasco
"Gold Guns Girls" (Mike Shinoda Remix) Metric
2012 ทั้งอัลบั้ม Mike Shinoda และ Joseph Trapanese The Raid: Redemption ผู้แต่ง
"NOC Out" Ramin Djawadi Medal of Honor: Warfighter ผู้แต่ง
"Saa'iq"
"Dumb It Down" Styles of Beyond Reseda Beach โปรดิวเซอร์
"Second to None" เสียงร้อง, โปรดิวเซอร์
2013 "Wake Me Up" Avicii True โปรดิวเซอร์
"Truth Inside a Lie" (LPU Sessions 2013) Ryan Giles LP Underground XIII โปรดิวเซอร์
"Change" (LPU Sessions 2013) Beta State โปรดิวเซอร์, คีย์บอร์ด, แซมเพิลส์
2018 "Waiting For Tomorrow" Martin Garrix & Pierce Fulton BYLAW EP เสียงร้อง
ผลงานภาพยนตร์
ปี ภาพยนตร์ บทบาท ผู้กำกับ หมายเหตุ
2014 The Distortion of Sound ตัวของเขาเอง Jacob Rosenberg -

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Biography, allmusic.com อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "allmusic" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  2. "Linkin Park's 818th Battalion: Mike's Not Russian". Linkinparks818th.blogspot.com. July 24, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-20. สืบค้นเมื่อ December 7, 2011.
  3. Kimpel, Dan (2006). How they made it: true stories of how music's biggest stars went from start to stardom. Hal Leonard Corporation. ISBN 978-0-634-07642-8. สืบค้นเมื่อ September 27, 2010.
  4. McKeon, Therese. "Linkin Park: One Step Closer". Shout Web. ShoutWeb.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-18. สืบค้นเมื่อ August 8, 2012.
  5. Scaggs, Austin (March 26, 2003). "The Mellower Half of Linkin Park". The Linkin Park Times.
  6. "Mike Shinoda's Art Work". LinkinPark.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-12. สืบค้นเมื่อ December 7, 2011.
  7. "For Superfans Only « Mike Shinoda's Blog". Mikeshinoda.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-17. สืบค้นเมื่อ 2014-08-09.
  8. "U2 dominates Grammy night". CBC News. February 9, 2006.
  9. "Hit Parader's Top 100 Metal Vocalists of All Time". HearYa. December 4, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-08. สืบค้นเมื่อ 2014-09-30.
  10. "fort minor interview". fixins. สืบค้นเมื่อ June 24, 2007.
  11. Jensen, Todd Aaron (2010). On Gratitude: Sheryl Crow, Jeff Bridges, Alicia Keys, Daryl Hall, Ray Bradbury, Anna Kendrick, B.B. King, Elmore Leonard, Deepak Chopra, and 42 More Celebrities Share What They're Most Thankful For. F+W Media, Inc. p. 224. สืบค้นเมื่อ October 26, 2012.[ลิงก์เสีย]
  12. Marcello (February 1, 2012). "Creative Spotlight: Episode #93 – Mike Shinoda Interview". japancinema.net. สืบค้นเมื่อ October 27, 2012.
  13. Lim, Cathy (April 28, 2006). "Getting Back to His Roots". The Rafu Shimpo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-14. สืบค้นเมื่อ 2014-09-30.
  14. "Outside the Park". The Star (Malaysia). December 23, 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-11. สืบค้นเมื่อ October 27, 2012.
  15. "For Superfans Only « Mike Shinoda's Blog". Mikeshinoda.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-17. สืบค้นเมื่อ December 7, 2011.
  16. "The Kids ~ Linkin Lady". Linkinlady.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-23. สืบค้นเมื่อ 2014-08-09.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]