ไพรวัลย์ วรรณบุตร
ไพรวัลย์ วรรณบุตร | |
---|---|
เกิด | ไพรวัลย์ วรรณบุตร 2 ตุลาคม พ.ศ. 2534 จังหวัดจันทบุรี ประเทศไทย |
ชื่ออื่น | พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ (ขณะดำรงสมณเพศ) |
การศึกษา | น.ธ.เอก, ป.ธ.9 (นาคหลวง) ปริญญาโท คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง |
อาชีพ | นักเขียน นักแสดง พิธีกร ค้าขาย |
ศาสนา | พุทธ |
ไพรวัลย์ วรรณบุตร หรือชื่อเดิมในสมณเพศ พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ แห่งวัดสร้อยทอง พระอารามหลวง กรุงเทพมหานคร เป็นอดีตพระสงฆ์ชาวไทย อดีตนาคหลวงมีชื่อเสียงขึ้นมาในปี 2564 เนื่องจากการเทศนาที่มีผู้ติดตามบนสื่อสังคมมากมาย อย่างไรก็ตามเขาตัดสินใจลาสิกขาในปลายปีเดียวกัน เนื่องจากความอยุติธรรมในวงการสงฆ์ หลังจากนั้นประกอบอาชีพเป็นครีเอเตอร์ นักเขียน นักแสดง และค้าขาย[1]
ประวัติ[แก้]
ไพรวัลย์ วรรณบุตร เกิดเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2534 เป็นชาวจังหวัดจันทบุรี เป็นลูกคนที่ 1 ของครอบครัว[2] และเป็นลูกคนเดียวของบิดา และมารดา ต่อมาได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดพิพัฒน์มงคล จังหวัดสุโขทัย เรียนนักธรรมและบาลีจนจบเปรียญธรรม 7 ประโยค
ต่อมาได้ย้ายไปอยู่ที่วัดสร้อยทอง กรุงเทพมหานคร จบนักธรรมชั้นเอกและจบเปรียญธรรม 9 ประโยค ได้เป็นรูปแรกของจังหวัดสุโขทัย เมื่อครบอายุบวชท่านได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ รับอุปสมบทเป็นพระภิกษุนาคหลวง ได้รับฉายา วรวณฺโณ ท่านได้ศึกษาต่อจนจบการศึกษาปริญญาโท คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามด้วยคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง[3] ได้รับมอบหมายให้เป็นพระสอนพระปริยัติธรรมที่สำนักเรียนวัดสร้อยทอง
พระนักเทศน์[แก้]
ไพรวัลย์ วรรณบุตร หรืออดีตพระมหาไพรวัลย์ เจ้าของเพจ พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ เริ่มเป็นที่รู้จักตั้งแต่เป็นพระนักคิด นักเขียน ที่ได้ออกมาแสดงความเห็นและมุมมองที่เกี่ยวกับสังคมและศาสนาอย่างตรงไปตรงมา ด้วยรูปแบบที่น่าสนใจและเข้าใจง่าย ทำให้ได้รับนิมนต์ออกรายการต่างๆอยู่เป็นระยะ ต่อมาท่านได้เริ่มเผยแพร่ธรรมะและแนวคิดต่างๆผ่านช่องทางสื่อของตัวเองมากขึ้น จนถึงในช่วงกลางปี พ.ศ. 2564[ต้องการอ้างอิง] เริ่มมีการไลฟ์สดในเพจ พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ[4] (ในอดีต) คู่กับพระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต ในเวลากลางคืนทุกวัน ทำให้มีผู้คนสนใจเป็นอย่างมาก สูงสุดการดูไลฟ์สด คือ 1 แสน คน ทำให้เป็นที่พูดถึงเป็นอย่างมากในโซเชียล[5] ตั้งแต่นั้นมา พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ (ในอดีต) และพระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต มีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก เป็นที่พูดถึงกันแพร่หลายในกลุ่มวัยรุ่น คนรุ่นใหม่ และมีวลีเด็ด เช่น อรุ่มเจ๊าะ ต๊าช จึ้ง จึ้งมาก กรุ๊บ เอาอะไรมาไม่ได้ นะน้องนะ ซึ่งล้วนเป็นคำที่นิยมใช้กันอยู่แล้วในกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศชาวไทย
ลาสิกขา[แก้]
ไพรวัลย์ วรรณบุตร ตัดสินใจลาสิกขา[6][7] เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา ทำให้ผู้คนที่รู้จักตกใจ เนื่องจากไพรวัลย์ วรรณบุตรได้ประกาศจะลาสิกขาในวันที่ 4 หรือ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2564[ต้องการอ้างอิง] ได้ทำพิธีลาสิกขาโดยพระมหานภันต์ สนฺติภทฺโท ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศ โดยมีพระมหาสมปอง และพระมหาทองสุข เป็นพยาน หลังจากนั้นประกอบอาชีพเป็นครีเอเตอร์ นักเขียนและนักแสดง ปัจจุบันประกอบอาชีพค้าขายที่จังหวัดจันทบุรี[8]และได้รับเชิญไปออกรายการต่างๆเป็นบางครั้ง
ผลงานที่ปรากฏ[แก้]
ภาพยนตร์[แก้]
- หอแต๋วแตก แหกโควิดปังปุริเย่ (2564, ขณะดำรงสมณเพศ) (ไม่ได้ถูกปรากฏในภาพยนตร์)
ผลงานพิธีกร[แก้]
- ออนไลน์
- พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ ทางช่อง ยูทูบ (2564)
- นินทาประเทศไทย ทางช่อง YouTube & Facebook:NANAKE555 ร่วมกับ ดีเจหมึก-วิโรจน์ ควันธรรม, น้าเน็ก-เกตุเสพย์สวัสดิ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา, ได๋-ไดอาน่า จงจินตนาการ (14-28 มกราคม 2565)[9]
งานเขียน[แก้]
- พุทธไหมล่ะโยม (พ.ศ. 2560)
- ไปจำมาจากไหน ทำไมไม่เชื่อหลวงพี่ (พ.ศ. 2562)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ""ไพรวัลย์ วรรณบุตร" รวมข่าวเกี่ยวกับ "ไพรวัลย์ วรรณบุตร" เรื่องราวของ"ไพรวัลย์ วรรณบุตร"". www.thairath.co.th.
- ↑ "สุดประทับใจ "ไพรวัลย์" มอบเงินก้อนแรกจากการทำงานให้แม่ทั้งหมด (คลิป)". www.thairath.co.th. 2021-12-12.
- ↑ อีจัน. "เปิดประวัติ มหาไพรวัลย์ 18 ปี ใต้ร่มกาสาวพัสตร์". อีจัน.
- ↑ เสียงไก่ขันหล่ะเมื่อตอนตี 4 อ่าฮ๊าา... - ไพรวัลย์ วรรณบุตร, สืบค้นเมื่อ 2021-12-15
- ↑ "ทิดไพรวัลย์ บนถนนสายใหม่ ฝีปากทักษะสื่อสารขั้นเทพ จะเลือกทางเดินใด". www.thairath.co.th. 2021-12-04.
- ↑ "พระมหาไพรวัลย์ ลาสิกขา ไม่ทนความอยุติธรรม ภาพสะท้อนสะเทือนวงการสงฆ์". www.thairath.co.th. 2021-12-03.
- ↑ "สึกแล้ว! 'ทิดไพรวัลย์ วรรณบุตร' เผยภาพแรกเริ่มต้นชีวิตฆราวาส แฟนคลับให้การต้อนรับอบอุ่น". THE STANDARD. 2021-12-03.
- ↑ "เปิดอาชีพใหม่ "ไพรวัลย์" หันไปเป็นพ่อค้าขายทุเรียนที่บ้านเกิด". www.newtv.co.th. 2022-04-14.
- ↑ "สรุปดราม่า ทิดเอก ลาออกกลางรายการ ขอยืนหยัดความเป็นตัวเอง". ไทยรัฐ ออนไลน์. 2022-01-29.