ไทรออปส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ไทรออปส์
Triops longicaudatus
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์ขาปล้อง
ไฟลัมย่อย: Crustacea
ชั้น: Branchiopoda
อันดับ: Notostraca
วงศ์: Triopsidae
สกุล: ไทรออปส์
Schrank, 1803
ชนิด
ไทรออปส์ลำตัวด้านบน (ซ้าย) และด้านล่าง (ขวา)

ไทรออปส์ (อังกฤษ: Triops) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกสัตว์ขาปล้องประเภทหนึ่ง จัดอยู่ในไฟลัมครัสตาเซียนเช่นเดียวกับ กุ้ง หรือ ปู และอยู่ในอันดับ Notostraca ในวงศ์ Triopsidae

ไทรออปส์ เป็นสัตว์น้ำขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในน้ำจืด มีรูปร่างประหลาดคล้ายแมงดาทะเล จึงมีผู้เรียกว่า "แมงดาทะเลน้ำจืด" หรือ "กุ้งไดโนเสาร์" เนื่องจากเป็นสัตว์ที่ไม่เปลี่ยนแปลงรูปร่างมาตั้งแต่ยุคคาร์บอนิฟอรัส ราว 300 ล้านปีมาแล้ว จัดได้ว่าเป็นฟอสซิลที่มีชีวิตอีกจำพวกหนึ่งได้[1][2]

พบแพร่กระจายอยู่ในหนองน้ำหรือบึงน้ำในทวีปอเมริกาเหนือ, อเมริกาใต้, ยุโรป, ยูเรเชีย, แอฟริกา, ญี่ปุ่น, นิวแคลิโดเนีย[3] และ ออสเตรเลีย ยกเว้น แอนตาร์กติกา

ไทรออปส์ มีลักษณะโดยรวมคือ มีตา 3 ตา อันเป็นที่มาของชื่อ (ภาษาละติน: tri, ('สาม'), กรีกโบราณ: ὤψ, (ṓps,'ตา')) มีส่วนหางที่มีลักษณะเป็นง่ามคู่ที่ยาวออกมาอย่างเห็นได้ชัดเจน เป็นสัตว์ที่มีวงจรชีวิตสั้นมาก คือ สามารถมีชีวิตอยู่ได้เพียง 1-3 เดือน จึงเป็นสัตว์ที่มีอัตราการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยจะมีขนาดใหญ่ขึ้นถึงวันละ 2 เท่า ขนาดเมื่อโตเต็มที่โดยเฉลี่ยราว 1-3 นิ้ว แต่ในบางชนิดหากได้รับอาหารและอุณหภูมิที่เหมาะสมอย่างเต็มที่อาจใหญ่ได้เท่ากับฝ่ามือมนุษย์

การหายใจ ของไทรออปส์อยู่ที่ขา ซึ่งมีมากถึง 35-71 คู่ ซึ่งใช้ทั้งว่ายน้ำและลำเลียงอาหารเข้าปาก และใช้ในการหายใจ เนื่องจากเท้าของไทรออปส์มีอวัยวะพิเศษที่คล้ายเหงือกของสัตว์น้ำจำพวกอื่น ซึ่งขณะที่เคลื่อนที่หรือว่ายน้ำอยู่ ก็จะได้รับออกซิเจนจากน้ำผ่านเข้าไปทางขานั่นเอง

อนุกรมวิธาน[แก้]

ถึงแม้ว่าอนุกรมวิธานของสกุลนี้ไม่ได้รับการปรับปรุงมาตั้งแต่ ค.ศ. 1955 ชนิดที่ได้รับการยอมรับ มีดังนี้:[4][5]

Longhurst เคยจัดให้ T. mauritanicus เป็นชนิดย่อยของ T. cancriformis ใน ค.ศ. 1955 แต่ภายหลัง Korn et al. จัดให้มันเป็นชนิดต่างหากอีกครั้งใน ค.ศ. 2006[6]

ความสัมพันธ์กับมนุษย์[แก้]

ปัจจุบัน ไทรออปส์นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะในชนิด Triops longicaudatus และ T. cancriformis ด้วยความที่เป็นสัตว์แปลก และเลี้ยงง่าย ซึ่งนิยมจะเลี้ยงไทรออปส์ตั้งแต่ยังเป็นไข่ โดยจะทำการฟักไข่ของไทรออปส์ในตู้ปลา โดยจัดอุณหภูมิและสภาพน้ำที่เหมาะสม ไทรออปส์ก็สามารถฟักเป็นตัวได้ภายในเวลา 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ แล้วไข่ของไทรออปส์ สามารถหยุดการเจริญเติบโตได้ โดยอาจจะหยุดการเจริญเติบโตได้ถึง 25 ปีเลยทีเดียว

ปัจจุบัน ได้มีการขายไข่ของไทรออปส์เป็นชุดสำเร็จรูป เป็นที่นิยมของวัยรุ่นในสหรัฐอเมริกา ส่วนในประเทศไทยก็มีผู้นำเข้ามาจำหน่ายด้วยเช่นกัน[7]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Chip Hannum; Stuart Halliday. "An Introduction to Triops". MyTriops.com. สืบค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2010.
  2. David A. Grimaldi & Michael S. Engel (2005). "Arthropods and the Origin of Insects". Evolution of the insects. Volume 1 of Cambridge Evolution Series. Cambridge University Press. pp. 93–118. ISBN 978-0-521-82149-0.
  3. "Species descriptions". Virginia Polytechnic Institute and State University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 สิงหาคม 2006. สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2010.
  4. Chip Hannum. "A Brief Overview of the Species". MyTriops.com. สืบค้นเมื่อ October 4, 2010.
  5. Michael Korn; Andy J. Green; Margarida Machado; Juan García-de-Lomas; Margarida Cristo; Luís Cancela da Fonseca; Dagmar Frisch; José L. Pérez-Bote & Anna K. Hundsdoerfer (2010). "Phylogeny, molecular ecology and taxonomy of southern Iberian lineages of Triops mauritanicus (Crustacea: Notostraca)" (PDF). Organisms Diversity and Evolution. 10 (5): 409–440. doi:10.1007/s13127-010-0026-y. hdl:10261/38752. S2CID 14145762. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-09-08.
  6. Michael Korn; Federico Marrone; Jose L. Pérez-Bote; Margarida Machado; Margarida Cristo; Luís Cancela de Fonseca & Anna K. Hundsdoerfer (2006). "Sister species within the Triops cancriformis lineage (Crustacea, Notostraca)" (PDF). Zoologica Scripta. 35 (4): 301–322. doi:10.1111/j.1463-6409.2006.00230.x. S2CID 84611515. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-08-12. สืบค้นเมื่อ 2022-06-15.
  7. ""ไทรออปส์" ฟอสซิลมีชีวิตที่อยู่บนโลกนี้มากว่า 300 ล้านปี และกลายมาเป็นสัตว์เลี้ยงอายุสั้นของมนุษย์". อมรินทร์ทีวี. 2 กรกฎาคม 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]