ข้ามไปเนื้อหา

เชนสถาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ไชนมนเทียร)
เชนสถาน นครแอนต์เวิร์ป ประเทศเบลเยียม

เชนสถาน[1] หรือ ไชนมนเทียร (ฮินดี: जैन मन्दिर) คือศาสนสถานของศาสนาเชน[2] ในรัฐคุชราตและรัฐราชสถานใต้เรียกว่า เทรสาร (Derasar) ส่วนในรัฐกรณาฏกะ เรียกว่า พสาที (Basadi)[3] เชนสถานส่วนมากพบในอินเดียใต้ ในขณะที่ในอินเดียเหนือจะใช้ชื่อเก่าที่เรียกว่าทีลวาฑา (Dilwara) คำเรียกในภาษาสันสกฤตคือ "วสาตี" (Vasati)[4]

สถาปัตยกรรม

[แก้]
เชนสถานระดับตีรถะในศรวัณเพลโคละ

เชนสถานสร้างโดยใช้สถาปัตยกรรมที่หลากหลาย[5] ซึ่งลักษณะนั้นต่างกันโดนสิ้นเชิงในอินเดียเหนือและอินเดียใต้ และต่างกันเล็กน้อยกับในอินเดียตะวันตก โดยทั่วไปเชนสถานแบ่งได้สองประเภทคือ

  • ศิขรพันทะ คือ เชนสถานที่สร้างโดยมีหอหรือโดมครอบ เรียกว่าศิขร
  • ฆระ คือ เชนสถานที่ไม่มีโดม โดยทั่วไปหมายถึงศาลเจ้าเชนในบ้าน

เชนสถานแบบศิขรพันทะนิยมสร้างอย่างวิจิตร ประกอบด้วยเสาหินอ่อนจำนวนมากที่แกะสลักลวดลายต่าง ๆ ส่วนหลักของเชนสถานเรียกว่า "ครรภคฤห์" ซึ่งประดิษฐานเทวรูปหลัก (มูรติ) ของเทวสถาน การเข้าไปในส่วนครรภฤกห์ต้องชำระล้างร่างกายให้สะอาดก่อน และต้องสวมชุดบูชาซึ่งเป็นชุดสำหรับประกอบพิธีกรรมเท่านั้น

เชนสถานที่มีอายุมากกว่า 100 ปี มักได้รับการยกฐานะให้เป็นสถานที่แสวงบุญสำคัญของศาสนา เรียกว่า ตีรถะ

เทพประธานของเชนสถานเรียกว่า มูลนายก (mula nayak)[6]

มนสตมภ์ (Manastambha; เสาแห่งการเชิดชู) คือเสาที่สร้างด้านหน้าเชนสถาน ประกอบด้วย มูรติสี่องค์ สร้างหันไปในทิศทั้งสี่[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/508189
  2. Babb, Lawrence A (1996). Absent lord: ascetics and kings in a Jain ritual culture. Published University of California Press. p. 66.
  3. "Basadi".
  4. "Architecture of the Indian Subcontinent - Glossary". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-06. สืบค้นเมื่อ 2019-02-25.
  5. Jain temples in India and around the world,Laxmi Mall Singhvi, Tarun Chopra, Himalayan Books, 2002
  6. Jaina Iconography, Volume 1 of Jaina-rūpa-maṇḍana, Umakant Premanand Shah, Abhinav Publications, 1987,p. 149
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2019-02-25.