ข้ามไปเนื้อหา

ไกร ดาบธรรม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไกร ดาบธรรม
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่
ดำรงตำแหน่ง
23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 – 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเชียงใหม่
ดำรงตำแหน่ง
14 เมษายน พ.ศ. 2549 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด18 มีนาคม พ.ศ. 2504 (63 ปี)
อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศไทย
พรรคการเมืองรวมชาติพัฒนา (2550–2554)
ชาติไทยพัฒนา (2554–2556)
มหาชน (2556–2561)
ภูมิใจไทย (2561–2565)
เพื่อไทย (2565–ปัจจุบัน)

นายแพทย์ ไกร ดาบธรรม (เกิด 18 มีนาคม พ.ศ. 2504) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ และอดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเชียงใหม่

ประวัติ

[แก้]

นายแพทย์ไกร เกิดเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2504 ที่อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรของนายทรงพล กับนางสมศรี ดาบธรรม สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ประสบการณ์การทำงาน

[แก้]

นายแพทย์ไกร รับราชการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลแม่อาย อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ และตำแหน่งรองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ เป็นนักพัฒนาจนทำให้โรงพยาบาลแม่อายเป็นโรงพยาบาลชุมชนต้นแบบระดับประเทศ ตลอดระยะเวลาการรับราชการ นายแพทย์ไกร ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติหลายรางวัล อาทิ รางวัลแพทย์ชนบทดีเด่น รางวัลข้าราชการพลเรือนดีเด่น รางวัลครูบาศรีวิชัย และรางวัลเสมาคุณูปการ

รางวัลแพทย์ดีเด่นในชนบท

[แก้]

นายแพทย์ไกร มารับราชการที่โรงพยาบาลแม่อาย ซึ่งเป็นพื้นที่ราบสูงทางตอนเหนือของจังหวัดเชียงใหม่ ตลอดระยะเวลาที่รับราชการได้มอบเงินเดือนของตนเองให้กับกองทุนที่ตั้งขึ้นเพื่อศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในโรงพยาบาลแม่อาย[1] ในบางครั้งนายแพทย์ไกร ยังเดินทางด้วยเท้าเพื่อเข้าไปรักษาชาวบ้านในพื้นที่ทุรกันดารที่รถไม่สามารถเข้าไปได้ [2] กระทั่งในปี พ.ศ. 2537 มูลนิธิแพทย์ชนบท ได้มอบรางวัลแพทย์ดีเด่นในชนบท แก่นายแพทย์ไกร เพื่อเชิดชูเกียรติแพทย์ที่เสียสละอย่างแท้จริง

ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ก็ได้มอบรางวัลแพทย์ดีเด่นในชนบท ให้แก่นายแพทย์ไกร อีกหนึ่งรางวัล

การเข้าสู่การเมือง

[แก้]

นายแพทย์ไกร ตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดเชียงใหม่ ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2549 และได้รับการเลือกตั้งด้วยคะแนนถึง 145,196 คะแนน[3][4] และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2550 ได้ลงสมัครในนามพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา ในเขตเลือกตั้งที่ 3 จังหวัดเชียงใหม่ และได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งครั้งนี้

ต่อมาในเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 ได้ประกาศตัวย้ายไปร่วมงานการเมืองกับพรรคชาติไทยพัฒนา พร้อมกับนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกจำนวนหนึ่ง[5] และลงสมัครรับเลือกตั้ง แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้ย้ายมาสังกัดพรรคมหาชน และลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบบัญชีรายชื่อ[6]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 7 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคภูมิใจไทย[7] แต่ได้รับคะแนนเสียงเป็นลำดับที่ 3 ต่อมาในปี 2565 เขาได้เข้าร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย[8] และได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่[9]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ชีวิตและงานของนายแพทย์ไกร ดาบธรรม[ลิงก์เสีย]
  2. ทางชีวิตของหมอชนบท[ลิงก์เสีย]
  3. ข่าวเด่น - สวท.เชียงใหม่[ลิงก์เสีย]
  4. "ผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-07-28. สืบค้นเมื่อ 2018-04-24.
  5. เปิดตัวประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ร่วมงานพรรคชาติไทยพัฒนา
  6. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคมหาชน)
  7. รับสมัครส.ส.วันแรกคึกคัก เชียงใหม่ 22 พรรรคส่ง 160 นักการเมืองเข้าชิงชัยหวังชิงเก้าอี้ 9 ส.ส.
  8. “เพื่อไทย”เปิดตัว“นพ.ไกร ดาบธรรม”อดีตแพทย์ชนบทดีเด่น-ชิงส.ส.เชียงใหม่
  9. ตั้ง “หมอไกร” ที่ปรึกษาถ่ายโอน รพ.สต.มาเชียงใหม่
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๒๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๓๑, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราขทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๓๓, ๒๐ ธันวาคม ๒๕๓๘
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑๑, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑