โรงเรียนพุทธโกศัยวิทยา

พิกัด: 18°08′39″N 100°08′24″E / 18.144121°N 100.1399295°E / 18.144121; 100.1399295
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนพุทธโกศัยวิทยา
Buddhakosaiwidthaya School
ที่ตั้ง
พิกัด18°08′39″N 100°08′24″E / 18.144121°N 100.1399295°E / 18.144121; 100.1399295
ข้อมูล
ชื่ออื่นพ.ว.
ประเภทปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา
คำขวัญเราเรียนเพื่อเป็นคนดี
วายเม เถว ปุริโส
(บุรุษพึงมีความพยายาม)
ผู้ก่อตั้งพระมหาโพธิวงศาจารย์
(สุจี กตสาโร)
สี   สีขาว-สีเหลือง
เพลงเพลงมาร์ชพุทธโกศัย
สังกัดมหาเถรสมาคม
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
เว็บไซต์http://www.kosaischool.ac.th

โรงเรียนพุทธโกศัยวิทยา วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร จังหวัดแพร่ โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ต้นแบบในโครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

สังกัด มหาเถรสมาคม กองพุทธศาสนศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ที่ ๓๗

ก่อตั้งเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ ตั้งอยู่เลขที่ ๑๖ ถนนเจริญเมือง ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

ภาพพระมหาโพธิวงศาจารย์ (สุจี กตสาโร) หรือหลวงปู่จี๋ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนพุทธโกศัยวิทยา จังหวัดแพร่

ข้อมูลทั่วไป[แก้]

ชื่อสถานศึกษา โรงเรียนพุทธโกศัยวิทยา วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร จังหวัดแพร่
(โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ต้นแบบในโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี)
ตั้งอยู่เลขที่ ๑๖ ถนนเจริญเมือง ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ รหัสไปรษณีย์ ๕๔๐๐๐
สังกัดมหาเถรสมาคม สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

  • เปิดสอนตั้งแต่ระดับ มัธยมศึกษาปีที่ ๑ ถึงระดับ มัธยมศึกษาปีที่ ๖
  • มีเขตพื้นที่ติดต่อ

ทิศเหนือ ติดกับ ถนนเจริญเมืองโดยมีที่ทำการไปรษณีย์อำเภอเมืองแพร่ สำนักงานที่ดินอยู่ฝั่งตรงข้าม
ทิศใต้ ติดกับ โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่
ทิศตะวันตก ติดกับ ถนนคุ้มเดิม และมีสวนสุขภาพเฉลิมพระเกียรติ ร.๙
ทิศตะวันออก ติดกับ ตึกแถวร้านค้าพาณิชย์

ประวัติสถานศึกษา[แก้]

ไฟล์:เสด็จเปิดอาคาร 30 ปี กพด.jpeg
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นประธานเปิดแพรคลุมป้าย “อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๓๐ ปี กพด.”เมื่อวันอังคารที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๗

โรงเรียนพุทธโกศัยวิทยา จังหวัดแพร่ “ โรงเรียนธรรมราชวิทยา ” เริ่มก่อตั้งเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๐
โดยมี พระภัทรสารมุนี (สุจี กตสารมหาเถระ) (: พระมหาโพธิวงศาจารย์) เป็นผู้ก่อตั้ง
พระครูวิชิตวินัยการ เป็นผู้จัดการ
พระอินจันทร์ สีเหลือง เป็นครูใหญ่
จัดการเรียนการสอนทั้งแผนกธรรม และแผนกบาลี

  • ปีพุทธศักราช ๒๕๐๗ ทางมหาเถรสมาคมมีมติให้ยุบโรงเรียนบาลีมัธยมศึกษาที่มีอยู่ทั้งหมดทั่วประเทศ โรงเรียนธรรมราชวิทยาก็ถูกสั่งยุบไปด้วย
  • ปีพุทธศักราช ๒๕๐๘ ได้จัดตั้งเป็นโรงเรียนสาธิต สาขามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

แต่ต่อมากรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการมิให้นักเรียนที่จบชั้นสูงสุด สอบสมทบชั้นสุดประโยค (ป.๗ และ ม.ศ.๓)

  • ปีพุทธศักราช ๒๕๑๓ – ๒๕๑๗ ทางกระทรวงศึกษาธิการ ได้อนุญาตจัดตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญ

ศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

  • ในช่วงปีพุทธศักราช ๒๕๑๗ ถึง ปีพุทธศักราช ๒๕๑๙ ได้มีการจัดการศึกษาทั้งแบบศึกษาผู้ใหญ่และการศึกษาพระปริยัติธรรมควบคู่กันไป
มีอาคารทำการซึ่งได้รับการอนุเคราะห์สร้างถวายโดย นายห้างกมล สุโกศล

โดยตั้งชื่อว่า “อาคารกมลสุโกศล” เป็นอาคารไม้ ๒ ชั้น จำนวน ๑๖ ห้องเรียน มีพระภิกษุและสามเณรเข้าศึกษาประมาณ ๕๐๐ - ๗๐๐ รูป และมีอาคารยาขอบเป็นที่ทำการ
และได้มีการเปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้น ป.๕ ถึง ม.ศ.๓ ควบคู่ไปกับการศึกษาผู้ใหญ่ระดับ ๔

  • ปีพุทธศักราช ๒๕๑๙ จัดการศึกษาแบบพระปริยัติธรรมอย่างเดียว โดยยุบโรงเรียนการศึกษาผู้ใหญ่ออก

คงเหลือแต่การเปิดการเรียนการสอนแบบพระปริยัติธรรม ระดับ ม.ศ.๑ ถึง ม.ศ.๓ (ปัจจุบัน : มัธยมศึกษาตอนต้น)

  • ปีพุทธศักราช ๒๕๒๐ - ๒๕๒๕ เปิดทำการเรียนการสอนเฉพาะพระปริยัติธรรมระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
  • ปีพุทธศักราช ๒๕๒๖ เปิดทำการเรียนการสอนทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

และพัฒนาโรงเรียนจนกระทั่งมีการบริหารจัดการที่เป็นแบบสากลทั่วไป คือกระจายอำนาจการบริหารจัดการ ออกเป็น ๔ ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายปกครอง ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายงบประมาณและบุคคล และฝ่ายบริหารงานทั่วไป

หลักสูตรที่เปิดสอน[แก้]

  • ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ช่วงชั้นที่ ๓ (ม.๑-ม.๓)

เน้น ภาษาบาลี นักธรรม ภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ และ พระพุทธศาสนา

อาคารเรียน[แก้]

ภาพอาคารเรียนตึกสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

มีอาคารเรียนจำนวน ๒ หลังได้แก่

  • 1.ตึกสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

เป็นอาคาร ๕ ชั้น สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ปัจจุบันใช้เป็นอาคารหลักในการจัดการเรียนการสอนเป็นหลัก

  • 2.ตึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ๓๐ ปี

เป็นอาคาร ๔ ชั้น

    • ชั้นที่ ๑ เป็นสถานที่ประกอบภัตตาหารพระราชทาน และ ฉันภัตตาหารของพระภิกษุสามเณรนักเรียน
    • ชั้นที่ ๒ เป็นห้องประชุม สำหรับใช้ในการประชุม สัมมนา และอบรมต่าง ๆ
    • ชั้นที่ ๓ เป็นห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
    • ชั้นที่ ๔ เป็นห้องพระบาลี เน้นกิจกรรมด้านการเรียนการสอนบาลีนักธรรม ปฏิบัติธรรม และจัดอบรมทางพระพุทธศาสนา

รายนามผู้บริหารโรงเรียนพุทธโกศัยวิทยา[แก้]

ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
พระอินจันทร์ สีเหลือง พ.ศ. ๒๕๐๐ – ๒๕๐๗
พระราชปริยัตยาภรณ์ พ.ศ. ๒๕๑๓ - ๒๕๔๐
พระครูวิมลกิตติสุนทร พ.ศ. ๒๕๔๑ - ๒๕๔๔
พระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๔๖
พระมหาวรพงษ์ ยสชาโต พ.ศ. ๒๕๔๖ - ๒๕๕๐
พระวิมลกิจจาภรณ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ - ๒๕๕๘
พระครูวิจิตรปริยัตยาทร พ.ศ. ๒๕๕๘ - ปัจจุบัน

ผู้บริหารปัจจุบัน[แก้]

รูป รายนาม ตำแหน่ง
ท่านเจ้าคุณพระราชเขมากร ดร. [note 1] ผู้จัดการสถานศึกษา
ท่านเจ้าคุณพระโกศัยเจติยารักษ์ ดร. [note 2] ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา
พระครูวิจิตรปริยัตยาทร[note 3][note 4] ผู้อำนวยการสถานศึกษา

ความภาคภูมิใจของสถานศึกษา[แก้]

อาทิเช่น

  • ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาจาก สมศ.ทั้งในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ และ พ.ศ. ๒๕๔๙
  • ได้รับรางวัล “โรงเรียนพระปริยัติธรรมดีเด่น” ในปี พ.ศ. ๒๕๔๗
  • ได้เข้าเป็นโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในปี พ.ศ. ๒๕๕๐
  • ได้รับทุนสนับสนุนโรงเรียนส่งเสริมคุณธรรมดีเด่นจากสำนักงานป้องกันและปราบปราบทุจริตแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๕๑ – ๒๕๕๕
  • ได้รับรางวัลชนะเลิศ “โรงเรียนแห่งการเรียนรู้”ของ สพป.แพร่ เขต ๑ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๓
  • โรงเรียนคุณธรรมดีเด่นระดับประเทศ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ – ๒๕๕๕
  • ได้รับรางวัลเหรียญทองระดับประเทศ ในการแข่งขันเขียนกระทู้ธรรม และ บรรยายธรรมะ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ และ ๒๕๕๔
  • เป็นตัวแทนโรงเรียนมัธยมขนาดกลาง ระดับจังหวัดแพร่ เข้าแข่งขันโรงเรียนพระราชทานระดับกลุ่มจังหวัด
  • ได้รับเสด็จ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวโรกาส ทรงทอดพระเนตรผลงานการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนพุทธโกศัยวิทยา จังหวัดแพร่ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๓

และในปีการศึกษา ๒๕๕๕ ยังได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนต้นแบบ ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาในโครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

ศิษย์เก่า[แก้]

  • พระครูโสภณพัฒนานุยุต ผศ.,ดร. อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่
  • พระมหาสิทธิชัย ชะยะสิทฺธิ ดร. เปรียญธรรม ๙ ประโยค สูงสุดของการศึกษาบาลี
  • พระครูโสภณปัญญาธร ประธานกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ ๖
  • นายมาโนชย์ คำสี วัฒนธรรมจังหวัดแพร่
  • รองศาสตราจารย์รวีโรจน์ ศรีคำภา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่
  • นายกุญชร สารดี อนุศาสนาจารย์ประจำเรือนจำกลางจังหวัดแพร่
  • นายสุทธิพันธ์ ทองไหล นายกเทศบาลตำบลป่าแมต ข้าราชการบำนาญกระทรวงสาธารณสุข
  • นายสันติ กำยาน ผู้อำนวยการระดับ 9 ข้าราชการบำนาญ
  • ร.ต.อ.นพดล วัชรกิจโสภณ รองสารวัตรป้องกันปราบปราม สภ.เมืองแพร่
  • พ.ต.ต.ประกิต ผัดขัน พนักงานสืบสวนผู้ชำนาญการ สภ.เมืองแพร่

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. ชื่อ/สมณศักดิ์ เดิม พระเมธีธรรมาลังการ ดร. (ประยุทธ ภูริทตฺโต)
  2. ชื่อ/สมณศักดิ์ เดิม พระครูวิมลกิตติสุนทร ดร. (วิชาญ กิตฺติปญฺโญ)
  3. ชื่อ/สมณศักดิ์ เดิม พระครูวิจิตรสรคุณ (ถาวร ธัมมถาวโร)
  4. พระราชทานตั้งสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระอารามหลวงชั้นเอก ในวันพฤหัสบดี ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 >> http://www.chiangmainews.co.th/page/archives/563156