โรคเส้นประสาทตากับไขสันหลังอักเสบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Neuromyelitis optica spectrum disorders
ชื่ออื่นNeuromyelitis optica (NMO), Devic's disease, Devic's syndrome
สาขาวิชาNeurology, ophthalmology
อาการVision loss, sensory loss, weakness, bladder dysfunction
การตั้งต้นMedian: age 40 for AQP4-IgG, age 31 for MOG-IgG[1]
ประเภทAQP4-IgG-positive, MOG-IgG-positive (recurrent, monophasic)[1]
ปัจจัยเสี่ยงFemale sex, genetic factors[1]
วิธีวินิจฉัยSymptoms, blood antibody titers, MRI
โรคอื่นที่คล้ายกันMultiple sclerosis, various autoimmune disorders
ยาEculizumab, inebilizumab, satralizumab, rituximab, methylprednisolone, azathioprine, cellCept, mitoxantrone, methotrexate, intravenous immunoglobulin, cyclophosphamide
ความชุกUp to 1/10,000[1]

กลุ่มสเปกตรัมโรคเส้นประสาทตากับไขสันหลังอักเสบ (อังกฤษ: neuromyelitis optica spectrum disorder, NMOSD, NMO) เป็นกลุ่มของโรคหลายๆ โรคที่มีสาเหตุต่างๆ กันแต่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเหมือนๆ กัน คือมีการอักเสบของเส้นประสาทตา (โรคเส้นประสาทตาอักเสบ) และไขสันหลัง (โรคไขสันหลังอักเสบ)[1][2] ผู้ป่วยอาจมีเส้นประสาทตาอักเสบและไขสันหลังอักเสบพร้อมๆ กัน หรือเป็นต่อเนื่องกันเป็นลำดับก็ได้ โรคนี้กลับเป็นซ้ำได้บ่อย โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษา[1][3] สาเหตุส่วนใหญ่ (กว่า 80%) เกิดจากการมีสารภูมิต้านตนเองชนิดไอจีจีต่อโปรตีนอะควอพอรินโฟร์ (anti-AQP4) ซึ่งเป็นโปรตีนผิวเซลล์ที่ควบคุมการผ่าเข้าออกของน้ำในระบบประสาทที่พบบ่อยที่สุด ในผู้ป่วยรายอื่นที่ anti-AQP4 เป็นผลลบมักพบร่วมกับการตรวจพบแอนติบอดีต่อไมอีลินโอลิโกเดนโดรซัยต์กลัยโคโปรตีน (anti-MOG)[1][3] อีกกลุ่มที่พบได้น้อยมากคือพบ NMO ร่วมกับโรคภูมิต้านตนเองโรคอื่นๆ หรือโรคติดเชื้อ นอกจากนี้แล้วยังมีอีกกลุ่มที่ไม่พบสาเหตุ เรียกว่า NMO ชนิดไม่พบสาเหตุ

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง หรือ มัลติเพิล สเคลอโรซิส (MS) กับ NMO เป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการและผลตรวจทางภาพถ่ายรังสีคล้ายคลึงกันได้ และผู้ป่วย MS จำนวนหนึ่งถึงจะไม่มากก็มีอาการแรกเริ่มที่คล้ายคลึงกับ NMO ได้ ทำให้ในอดีตเคยเชื่อกันว่า NMO เป็นโรค MS ประเภทหนึ่ง อย่างไรก็ดี NMO ส่วนใหญ่ไม่ได้มี MS เป็นสาเหตุ และมีพยาธิกำเนิด อาการ ผลตรวจเอ็มอาร์ไอ ผลตรวจน้ำไขสันหลัง การดำเนินไปของโรค และพยากรณ์โรค ที่แตกต่างกันได้มาก[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 Jarius, Sven; Paul, Friedemann; Weinshenker, Brian G.; Levy, Michael; Kim, Ho Jin; Wildemann, Brigitte (2020-10-22). "Neuromyelitis optica". Nature Reviews. Disease Primers. 6 (1): 85. doi:10.1038/s41572-020-0214-9. ISSN 2056-676X. PMID 33093467. S2CID 224825516.
  2. "Neuromyelitis optica – Symptoms and causes". Mayo Clinic (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-08-01.
  3. 3.0 3.1 Lana-Peixoto, Marco A.; Talim, Natália (2019-06-12). "Neuromyelitis Optica Spectrum Disorder and Anti-MOG Syndromes". Biomedicines. 7 (2): 42. doi:10.3390/biomedicines7020042. ISSN 2227-9059. PMC 6631227. PMID 31212763.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก