โยโชกุ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ข้าวราดแกงกะหรี่
โดเรีย

โยโชกุ (ญี่ปุ่น: 洋食โรมาจิyōshoku, "อาหารตะวันตก") เป็นอาหารญี่ปุ่นรูปแบบหนึ่งซึ่งได้รับอิทธิพลจากตะวันตก กำเนิดขึ้นครั้งแรกในยุคฟื้นฟูเมจิ เป็นอาหารลูกผสมระหว่างญี่ปุ่นกับตะวันตก หรือเป็นอาหารตะวันตกแบบญี่ปุ่น ชื่ออาหารมักเขียนด้วยอักษรคาตากานะ

ประวัติ[แก้]

ญี่ปุ่นเปิดประเทศอีกครั้งในยุคแรกของการฟื้นฟูเมจิ (ค.ศ. 1868–1912) และจักรพรรดิเมจิมีพระราชกระแสว่าวิทยาการของตะวันตกมีประโยชน์ยิ่งต่อการพัฒนาชาติญี่ปุ่น ทรงยกเลิกการห้ามใช้เนื้อแดงและส่งเสริมอาหารอย่างตะวันตก ด้วยทรงมองว่าอาหารนี้จะทำให้คนญี่ปุ่นได้มีร่างกายสูงใหญ่อย่างชาวตะวันตก โยโชกุจึงมีเนื้อสัตว์เป็นส่วนประกอบหลักต่างจากอาหารญี่ปุ่นทั่ว ๆ ไปในยุคนั้น นอกจากนี้ชาวตะวันตกที่เข้ามาพำนักในประเทศญี่ปุ่นมักปฏิเสธที่จะรับประทานอาหารญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม พ่อครัวชาวญี่ปุ่นจึงต้องเรียนรู้การทำอาหารแบบตะวันตกควบคู่กับการทำอาหารแบบญี่ปุ่น[1]

ชื่อ โยโชกุ ถูกเรียกครั้งแรกใน ค.ศ. 1872[2] เดิมหมายถึงอาหารตะวันตก แต่ในคริสต์ทศวรรษ 1980 ผู้คนแยกแยะ โยโชกุ กับอาหารยุโรปออกจากกัน เพราะในช่วงเวลานั้นเริ่มมีภัตตาคารอาหารยุโรปแท้ ๆ (ที่ไม่ได้รับอิทธิพลจากอาหารญี่ปุ่น) เปิดให้บริการแพร่หลายขึ้น[3]

คานางากิ โรบุง (仮名垣魯文) นักเขียนชาวญี่ปุ่น ได้เขียนหนังสื่อชื่อ เซโยเรียวริตซือ (แปลว่า "คู่มืออาหารตะวันตก") เมื่อ ค.ศ. 1872[4] ซึ่งคำ เซโยเรียวริ ส่วนใหญ่จะแปลว่าอาหารฝรั่งเศสและอิตาลี ขณะที่ โยโชกุ แปลว่าอาหารญี่ปุ่นที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตก ต่างจาก วาโชกุ ซึ่งเป็นอาหารญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม[5] ความต่างกันอีกประการคือ เซโยเรียวริ จะใช้มีดและส้อมในการรับประทานอาหาร ส่วน โยโชกุ จะรับประทานโดยใช้ช้อนและตะเกียบ[5]

ก่อนหน้านี้ ญี่ปุ่นเคยได้รับอิทธิพลจากอาหารตะวันตกมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 คือ เท็มปูระ ที่ได้รับอิทธิพลจากชาวโปรตุเกสในเมืองนางาซากิ[6] ซึ่งอาจจะนับว่าเป็นโยโชกุหรือไม่ก็ได้ เพราะเท็มปูระมีมาก่อนการฟื้นฟูเมจิเสียอีก

อาหารโยโชกุบางอย่างต้องรับประทานด้วยช้อน เช่น กะหรี่ (カレー) รับประทานกับขนมปังหรือข้าวสวย (ライス) ชื่ออาหารถูกเขียนด้วยอักษรคาตากานะเพื่อบ่งว่าเป็นอาหารต่างชาติ อาหารบางชนิดถูกจัดเป็นสำรับแบบญี่ปุ่น คือเสิร์ฟพร้อมด้วยข้าวและซุปมิโซะ รับประทานด้วยตะเกียบ แต่อาหารอีกชนิดคือ คัตสึ (かつ) ในสำรับประกอบด้วยข้าวสวย (ご飯) พร้อมกับซอสแบบญี่ปุ่น เช่นพนซุและหัวไชเท้าขูดแทนซอสคัตสึ รับประทานด้วยตะเกียบเช่นกัน แต่ชื่ออาหารนี้ถูกเขียนด้วยอักษรฮิรางานะ เพราะเป็นคำญี่ปุ่นพื้นเมือง

รายการอาหาร[แก้]

ชื่ออาหาร ชื่อญี่ปุ่น โรมาจิ ทับศัพท์ หมายเหตุ
คัสเตลลา カステラ kasutera คาซูเตระ
แกงกะหรี่ญี่ปุ่น カレー karē คาเร
ข้าวราดแกงกะหรี่ カレーライス karē raisu คาเรไรซุ
ฮายาชิไรซ์ ハヤシライス hayashi raisu ฮายาชิไรซุ
ครีมสตู クリームシチュー kurīmu shichū คูรีมุชิจู
นิกูจางะ 肉じゃが nikujaga นิกูจางะ สตูเนื้อและมันฝรั่ง
โครกเกะ コロッケ korokke โครกเกะ
ไก่นัมบัง チキン南蛮 chikin nanban ชิกิงนัมบัง
ปีรอจกี ピロシキ piroshiki พิโรชิกิ
หอยนางรมทอด カキフライ kakifurai คากิฟูไร
กุ้งทอด エビフライ ebifurai เอบิฟูไร
สเต๊กเนื้อ ビーフステーキ bīfusutēki บีฟูซูเตกิ สเต๊กเนื้อกับซอสแบบญี่ปุ่น
นาโปริตัง ナポリタン Naporitan นาโปริตัง สปาเกตตีซอสมะเขือเทศ
สปาเกตตีไข่ปลาค็อด たらこスパゲッティ tarakosupagetti ทาราโกซูปาเก็ตติ
สปาเกตตีเห็ดญี่ปุ่น 和風きのこスパゲッティ wafu kinoko supagetti วาฟุคิโนโกะซูปาเก็ตติ สปาเกตตีซอสเห็ด
สปาเกตตีอังกาเกะ あんかけスパゲッティ ankake supagetti อังกาเกะซูปาเก็ตติ สปาเกตตีซอสเผ็ดเหนียว
สปาเกตตีนัตโต 納豆スパゲティ nattō supagetti นัตโตซูปาเก็ตติ สปาเกตตีถั่วเหลืองหมัก
สปาเกตตีซันไซ 山菜スパゲティ sansai supagetti ซันไซซูปาเก็ตติ สปาเกตตีพืชป่า
สปาเกตตีปลาโอ ツナスパゲティ tuna supagetti ทูนะซูปาเก็ตติ
สปาเกตตีมิโซเระ みぞれスパゲティ mizore supagetti มิโซเระซูปาเก็ตติ สปาเกตตีหัวไชเท้า
ทงกัตสึ 豚カツ tonkatsu ทงกัตสึ
เม็นจิกัตสึ メンチカツ menchi-katsu เม็นจิกัตสึ เนื้อชุบเกล็ดขนมปังทอด
โอมุไรซ์ オムライス omu-raisu โอมูไรซุ ข้าวผัดห่อไข่
สเต๊กฮัมบวร์ค ハンバーグ hanbāgu ฮัมบางุ
มิกซ์แซนด์ ミックスサンド mikkusu sando มิกกูซุซันโดะ แซนด์วิชไส้สลัดไข่ แฮม และเนื้อชุบแป้งทอด
กราแต็ง グラタン guratan กูราตัง
โดเรีย ドリア doria โดริอะ ข้าวพิลาฟย่างกับซอสเบชาแมลและชีส

อ้างอิง[แก้]

  1. Farley, David (15 July 2020). "Japan's surprising 'Western' cuisine". BBC News. สืบค้นเมื่อ 15 July 2020.
  2. Nancy K. Stalker (2018). Devouring Japan: Global Perspectives on Japanese Culinary Identity. Oxford University Press. p. 171. ISBN 978-0-19-024040-0.
  3. Norimitsu Onishi (2008-03-26). "Spaghetti Stir-Fry and Hambagoo: Japan Looks West". New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-09-11.
  4. "西洋料理通. 巻上,附録 / 仮名垣魯文 編 ; 暁斎 画".
  5. 5.0 5.1 Aoki Yuriko (12 November 2019). "Yōshoku: A Japanese Take on Western-Style Cuisine Culture Food and Drink Guide to Japan". nippon.com. สืบค้นเมื่อ 12 May 2020.
  6. Peter Hum (15 August 2019). "What makes restaurant food 'authentic,' and who gets to decide?". Ottawa Citizen. สืบค้นเมื่อ 12 May 2020.