โจว ซื่อหมิง
ข้อมูลส่วนบุคคล | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เกิด | ซุนอี้ มณฑลกุ้ยโจว | 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1981||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ส่วนสูง | 164 เซนติเมตร (5 ฟุต 5 นิ้ว) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
น้ำหนัก | 49 กก. (110 lb) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
กีฬา | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
กีฬา | มวยสากล | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประเภท | ไลท์ฟลายเวท | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สโมสร | กุ้ยโจว | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รายการเหรียญรางวัล
|
โจว ซื่อหมิง (จีนตัวย่อ: 邹市明; จีนตัวเต็ม: 鄒市明; พินอิน: Zōu Shìmíng; มักนิยมเรียกกันอย่างไม่ถูกต้องว่า ซู ชิหมิง;[1] เกิดวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1981 ที่เมืองซุนอี้ มณฑลกุ้ยโจว) เป็นนักมวยสากลสมัครเล่นที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดจากสาธารณรัฐประชาชนจีน เขาเป็นผู้ชนะรายการระดับโลกใน ค.ศ. 2005, 2007 และ 2011 รวมถึงได้รับเหรียญทองในโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 และโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 ในรุ่นไลท์ฟลายเวท[2]
ประวัติ
[แก้]แต่เดิมนั้น พ่อแม่ของโจว ซื่อหมิง ได้คาดหวังว่าลูกชายตนเองจะเป็นนักกีฬาวูซูที่ประสบความสำเร็จ แต่ โจว ซื่อหมิง กลับสนใจมวยสากลมากกว่า ซึ่งแม่ของเขาไม่อนุญาตให้ชกมวย จนในที่สุดโค้ชของ โจว ซื่อหมิง ได้มาขออนุญาตและอธิบายว่ามวยสากลสมัครเล่นเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมในหลายประเทศ หลังจากนั้น โจว ซื่อหมิงก็ได้ชกมวยในเวลาต่อมา[3]
โจวได้เข้าแข่งขันในเอเชียนเกมส์ 2006 และได้เหรียญทองโดยเป็นฝ่ายชนะ สุบรรณ พันโนน จากประเทศไทย ด้วยคะแนน 21-1 ในรอบชิงชนะเลิศ[4] ต่อมาใน พ.ศ. 2550 ได้เหรียญทองในการแข่งขันมวยสากลสมัครเล่นชิงแชมป์โลก โดยเป็นฝ่ายชนะ ดาวิด ไอราเปเตียน ชาวรัสเซีย ด้วยคะแนน 23-6 ในรอบรองชนะเลิศและเป็นฝ่ายชนะ แฮร์รี ทานามอร์ จากประเทศฟิลิปปินส์ ในรอบชิงชนะเลิศ จากนั้น ได้เหรียญเงินจากการแข่งขันรายการ เอเชียนแชมเปี้ยนชิปเกมส์ ในอูลานบาตาร์ โดยแพ้พิวเรพดอร์จิน เซอร์แดมบานักชกชาวมองโกเลีย
ในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ที่กรุงปักกิ่ง โจว ซื่อหมิงได้เป็นชาวจีนคนที่ 50 ที่ได้รับเหรียญทองจากการแข่งขันมวยสากลสมัครเล่นรุ่นไลท์ฟลายเวทโดยเป็นชนะพิวเรพดอร์จิน เซอร์แดมบา จากประเทศมองโกเลียในรอบชิงชนะเลิศซึ่งถูกตัดสินให้แพ้เนื่องจากบาดเจ็บที่ไหล่[5] นับเป็นเหรียญทองโอลิมปิกเหรียญแรกของประเทศจีนที่ได้มาจากมวยสากล
ในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 โจว ซื่อหมิงพบกับ แก้ว พงษ์ประยูร ในรอบชิงชนะเลิศ[6][7] โดยเป็นฝ่ายชนะแก้วไปได้ด้วยคะแนน 13-10[8] แต่ชัยชนะครั้งนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์มากในประเทศไทย[9] จนมีภาพล้อเลียนตามสื่อต่าง ๆ[10] แม้ว่าไอบาจะรับรองว่าการตัดสินเกิดขึ้นโดยยุติธรรมแล้วก็ตาม[11]
ด้านชีวิตส่วนตัว โจว ซื่อหมิง สมรสกับ หราน อิ๋งอิ่ง ซึ่งเป็นอดีตนางแบบ และเป็นผู้ประกาศประจำช่องข่าวตลาดหุ้น ของสถานีโทรทัศน์ซีซีทีวี และมีลูกชาย 2 คน[12][13]
ผลการแข่งขันมวยสากลสมัครเล่นโอลิมปิก
[แก้]ค.ศ. 2004 (เอเธนส์ ประเทศกรีซ)
- ชนะ โรชี วอร์เรน (ประเทศสหรัฐอเมริกา) 22-9 คะแนน
- ชนะ เอนดัลคาชิว เคอบีดี (สาธารณรัฐเอธิโอเปีย) 31-8 คะแนน
- ชนะ เรอดูอัน อัซลูม (ประเทศฝรั่งเศส) 20-12 คะแนน
- แพ้ ยัง บาเตเลมี (ประเทศคิวบา) 17-29 คะแนน
ค.ศ. 2008 (ปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน)
- ชนะ เอดูอาร์ด เบร์มูเดซ (เวเนซุเอลา) 11-2 คะแนน
- ชนะ นอร์ดีน วีบาลี (ประเทศฝรั่งเศส) 3-3 คะแนน (โจว ซื่อหมิง ชนะคะแนนดิบ)
- ชนะ เบอร์ซาน ซาคีพอฟ (คาซัคสถาน) 9-4 คะแนน
- ชนะ แพทริค บาร์นส์ (ไอร์แลนด์) 15-0 คะแนน
- ชนะทางเทคนิค พิวเรพดอร์จิน เซอร์แดมบา (ประเทศมองโกเลีย) 1-0 คะแนน (พิวเรพดอร์จิน เซอร์แดมบา ถูกบังคับให้ออกจากการแข่งขันเนื่องจากบาดเจ็บที่ไหล่)
ค.ศ. 2012 (กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร)
- ชนะ ยอสบานี เบย์เตีย (คิวบา) 14-11 คะแนน
- ชนะ เบอร์ซาน ซาคีพอฟ (คาซัคสถาน) 13-10 คะแนน
- ชนะ แพทริค บาร์นส์ (ไอร์แลนด์) 15-15 คะแนน
- ชนะ แก้ว พงษ์ประยูร (ประเทศไทย) 13-10 คะแนน
ผลการแข่งขันมวยสากลสมัครเล่นชิงแชมป์โลก
[แก้]- ชนะ ยัง บาเตเลมี (คิวบา) 22-15 คะแนน
- ชนะ รูดอล์ฟ ดายดี (ประเทศสโลวาเกีย) 21-9 คะแนน
- ชนะ แฮร์รี ทานามอร์ (ฟิลิปปินส์) 21-13 คะแนน
- แพ้ เซอร์เกย์ คาซาคอฟ (ประเทศรัสเซีย) 19-23 คะแนน
ค.ศ. 2005 (เหมียนหยาง สาธารณรัฐประชาชนจีน)
- ชนะ วูกัซ มาชซิค (โปแลนด์) 18-10 คะแนน
- ชนะ ซาลิม ซาลิมอฟ (บัลแกเรีย) 22-9 คะแนน
- ชนะ ยัง บาเตเลมี (คิวบา) 12-10 คะแนน
- ชนะ เชราลี ดอสตีพ (ทาจิกิสถาน) 18-13 คะแนน
- ชนะ ปาล เบดาค (ฮังการี) 31-13 คะแนน
ค.ศ. 2007 (เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา)
- ชนะ คอนสตันติน พาราสคีฟ (โรมาเนีย) 15-3 คะแนน
- ชนะ เบอร์ซาน ซาคีพอฟ (คาซัคสถาน) 30-13 คะแนน
- ชนะ ดาวิด ไอราเปเตียน (ประเทศรัสเซีย) 23-6 คะแนน
- ชนะ แพทริค บาร์นส์ (ไอร์แลนด์) 22-8 คะแนน
- ชนะ นอร์ดีน วีบาลี (ฝรั่งเศส) 16-1 คะแนน
- ชนะ แฮร์รี ทานามอร์ (ฟิลิปปินส์) 17-3 คะแนน
ค.ศ. 2011 (เมืองบากู อาเซอร์ไบจาน)
- ชนะ ควน เมดีนา (สาธารณรัฐโดมินิกัน) 17-9 คะแนน
- ชนะ อิสวาน อุนก์วารี (ฮังการี) 12-2 คะแนน
- ชนะ มาร์ค บารีกา (ฟิลิปปินส์) 12-5 คะแนน
- ชนะ แก้ว พงษ์ประยูร (ประเทศไทย) 14-8 คะแนน
- ชนะ ดาวิด ไอราเปเตียน (รัสเซีย) 15-8 คะแนน
- ชนะ ชิน จงฮุน (เกาหลีใต้) 17-3 คะแนน
มวยสากลอาชีพ
[แก้]หลังจากได้รับเหรียญทองโอลิมปิก 2012 แล้ว โจว ซื่อหมิง ได้เปลี่ยนมาชกมวยสากลอาชีพ โดยหวังที่จะเป็นแชมป์โลกคนแรกของประเทศจีน[1] (แต่แชมป์โลกมวยสากลอาชีพชาวจีนคนแรก คือ สฺยง เฉาจง ซึ่งเป็นแชมป์โลกในรุ่นมินิมัมเวท ของสภามวยโลก (WBC) โดยชนะคะแนนมาจากการชกชิงแชมป์ที่ว่างในปลายปี ค.ศ. 2012 ที่คุนหมิง) โดยโจว ซื่อหมิง ได้เซ็นสัญญาเป็นนักมวยในสังกัดท้อป แรงค์ โปรโมชั่น ของบ็อบ แอรัม โปรโมเตอร์ชาวอเมริกัน โดยเข้าค่ายฝึกซ้อมที่สหรัฐอเมริกา โดยมี เฟร็ดดี โรช เป็นเทรนเนอร์ ซึ่งการชกครั้งแรกมีขึ้นในวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 2013 ที่เดอะเวเนเชียนมาเก๊า[14] โดยที่ โจว ซื่อหมิง สามารถเอาชนะคะแนน 4 ยก อีเลียสซา วาเลนซูเอล่า นักมวยชาวเวเนซุเอลา อายุ 18 ปีไปได้[15]
ต่อมาได้เป็นแชมป์อินเตอร์เนชั่นแนลรุ่นฟลายเวท ขององค์กรมวยโลก (WBO) ได้แชมป์โดยชนะคะแนนไปแบบเอกฉันท์ 10 ยก ต่อ ลุยส์ เดอ ลา โลซา นักมวยชาวโคลัมเบีย[16] โดยการชกครั้งที่ 6 นั้น เป็นการเอาชนะคะแนน ขวัญพิชิต 13 เหรียญเอ็กซ์เพรส นักมวยชาวไทยไปได้ ในปลายปี ค.ศ. 2014 ซึ่งเป็นการชกเพื่อหาผู้ชนะเพื่อไปชิงแชมป์โลกตัวจริงต่อไป ถึงแม้โจว ซื่อหมิง จะเป็นฝ่ายชนะขวัญพิชิตไปได้อย่างขาดลอยก็ตาม และได้นับ 8 ถึง 4 นับ แต่ก็มีแผลบวมแตกจากการถูกศีรษะชนและถูกหมัดของขวัญพิชิต[17]
โจว ซื่อหมิง ได้ขึ้นชกชิงแชมป์โลกครั้งแรกในรุ่นฟลายเวท ของสหพันธ์มวยนานาชาติ (IBF) กับ อำนาจ รื่นเริง เจ้าของตำแหน่งชาวไทย ซึ่งเคยเป็นคู่ปรับเก่ากันมาก่อนสมัยชกมวยสากลสมัครเล่น ที่เดอะเวเนเชียนมาเก๊า ในวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 2015 โดยเป็นรายการใหญ่ภายใต้ชื่อรายการว่า "โชว์ดาว์แอตแซนด์" (Showdown at Sands) ซึ่งทั้งคู่ในการชกมวยสากลสมัครเล่นเคยพบกันทั้งหมด 3 ครั้ง และโจว ซื่อหมิง เป็นฝ่ายเอาชนะอำนาจไปได้ 2 ครั้ง และแพ้ 1 ครั้ง[18] ผลการชกปรากฏว่า อำนาจเป็นฝ่ายเอาชนะไปได้อย่างเป็นเอกฉันท์เมื่อครบ 12 ยก ด้วยคะแนน 116-111 จากกรรมการทั้ง 3 ท่าน ถึงแม้ว่าโจว ซื่อหมิง จะได้นับ 8 อำนาจในช่วงยกที่ 2 ก็ตาม ทำให้ โจว ซื่อหมิง แพ้เป็นครั้งแรกในการชกมวยสากลอาชีพ ทำให้มีสถิติชก 7 ครั้ง ชนะ 6 ครั้ง แพ้ 1 ครั้ง เป็นการชนะน็อก 1 ครั้ง[19]
ต่อมาในปลายปี ค.ศ. 2016 โจว ซื่อหมิง ได้ชิงแชมป์โลกเป็นครั้งที่สอง โดยชิงในรุ่นฟลายเวท ขององค์กรมวยโลก (WBO) ที่ว่าง โดยพบกับขวัญพิชิต 13 เหรียญเอ็กซ์เพรส ซึ่งเป็นคู่ปรับเก่า ที่ลาสเวกัส สหรัฐอเมริกา และคราวนี้เป็นฝ่ายเอาชนะคะแนนไปได้เป็นเอกฉันท์เมื่อครบ 12 ยก ด้วยคะแนน 120-107, 120-107 และ 119-108 เพิ่มสถิติชกอาชีพเป็น 10 ครั้งชนะ 9 ครั้ง และทำให้เป็นแชมป์โลกไปในครั้งนี้[20] แต่ในการป้องกันตำแหน่งครั้งแรกกับ โช คิมูระ ผู้ท้าชิงชาวญี่ปุ่น ในปลายเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2017 ที่โอเรียลทอลสปอร์ตส์เซนเตอร์ ในนครเซี่ยงไฮ้ ปรากฏว่าเป็นฝ่ายแพ้ทีเคโอในยกที่ 11 ทำให้เสียตำแหน่งแชมป์โลกไปทันที และเสียสถิติการชกเป็นการแพ้ครั้งที่ 2[21]
สถิติการชกมวยสากลอาชีพ
[แก้]ก่อนหน้า | โจว ซื่อหมิง | ถัดไป | ชนะ 6 ครั้ง (ชนะน็อก 1 ครั้ง, กรรมการตัดสิน 5 ครั้ง), แพ้ 1 ครั้ง, เสมอ 0 ครั้ง[22] | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ผล | สถิติบันทึก | คู่ชก | การชนะ | ยก | วันที่ | สถานที่ | หมายเหตุ | |||||
แพ้ | 6–1 | อำนาจ รื่นเริง | กรรมการตัดสิน | 12 | 2015-03-07 | เดอะเวเนเชียนมาเก๊า มาเก๊า | แพ้รายการรุ่นฟลายเวท ของสหพันธ์มวยนานาชาติ | |||||
ชนะ | 6–0 | ขวัญพิชิต 13 เหรียญเอ็กซ์เพรส | กรรมการตัดสิน | 12 | 2014-11-22 | เดอะเวเนเชียนมาเก๊า มาเก๊า | ชนะรายการรุ่นฟลายเวท ขององค์กรมวยโลก | |||||
ชนะ | 5–0 | ลุยส์ เด ลา โรซา | กรรมการตัดสิน | 10 | 2014-07-19 | เดอะเวเนเชียนมาเก๊า มาเก๊า | ชนะรายการรุ่นฟลายเวทนานาชาติ ขององค์กรมวยโลก | |||||
ชนะ | 4–0 | หยกทอง ก่อเกียรติยิม | ชนะน็อก | 7 (8) | 2014-02-22 | เดอะเวเนเชียนมาเก๊า มาเก๊า | ||||||
ชนะ | 3–0 | ควน ตอซกาโน | กรรมการตัดสิน | 6 | 2013-11-23 | เดอะเวเนเชียนมาเก๊า มาเก๊า | ||||||
ชนะ | 2–0 | เคซัส ออร์เตกา | กรรมการตัดสิน | 6 | 2013-07-27 | เดอะเวเนเชียนมาเก๊า มาเก๊า | ||||||
ชนะ | 1–0 | เอเลียซาร์ บาเลนซวยลา | กรรมการตัดสิน | 4 | 2013-04-06 | เดอะเวเนเชียนมาเก๊า มาเก๊า | เปิดตัวในระดับอาชีพ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 มวยสยามรายวัน. ปีที่ 20 ฉบับที่ 6926. วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555. หน้า 7
- ↑ "Zou and Campbell hit the heights". August 11, 2012.[ลิงก์เสีย]
- ↑ ซู ชิ หมิง จิ้งจอกจีนอันตราย. มติชน. ปีที่ 35 ฉบับที่ 12574. วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555. ISSN 1686-8188. หน้า 32
- ↑ Light flyweight final results
- ↑ Leslie Hook (June 9, 2012). "The Olympians: Zou Shiming, China". Financial Times Magazine.
- ↑ ตามลุ้น! ค่ำนี้เชียร์ "แก้ว พงษ์ประยูร" ล้มนักมวยรัสเซีย-ชนะได้เข้าชิงเหรียญทอง
- ↑ ""แก้ว" ล้มหมีชิงทอง "ซู ชิง หมิง" เช้ามืดวันแม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-13. สืบค้นเมื่อ 2012-08-12.
- ↑ Olympics boxing: China's Zou Shiming retains light flyweight title จากบีบีซี (อังกฤษ)
- ↑ "Thai boxer Kaew Pongprayoon robbed of Olympic gold medal by bizarre officiating". Combat Asia. August 12, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-22. สืบค้นเมื่อ August 12, 2012.
- ↑ เผยภาพล้อเลียนสุดฮาของ"ซู ซิ หมิง"หลังต่อยชนะ "แก้ว พงษ์ประยูร"
- ↑ ""ไอบา" ตอบข้อความ MGR SPORT ยัน "แก้ว" แพ้ยุติธรรม". ผู้จัดการ. 12 สิงหาคม 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-14. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2555.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 'โจวซื่อหมิง'นักชกบัญชีดำในใจไทย
- ↑ ‘ซู ชิหมิง′ ชีวิตที่ถูกกำหนด. ศุภชัย วุฒิชูวงศ์. คมชัดลึก. ปีที่ 11 ฉบับที่ 3953. วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555. ISSN 16851390. หน้า 3
- ↑ 'ซูชิหมิง' เซ็น 'ท็อปแรงก์' จ่อชกอาชีพไฟต์แรก เม.ย. จากไทยรัฐ
- ↑ 'โรช' ปลื้ม 'ซู ชิหมิง' ประเดิมสวยชกอาชีพ ยกว่าที่แชมป์โลก จากไทยรัฐ
- ↑ "Champions of Gold Results: Rigondeaux, Ramirez, and Zou Shiming Win Easily". boxinginsider.com. 19 July 2014. สืบค้นเมื่อ 20 July 2014.
- ↑ "ชลธารโดนยำชวดแชมป์, ขวัญพิชิต4นับพ่ายหมิง". สยามสปอร์ต. 23 November 2014. สืบค้นเมื่อ 23 November 2014.
- ↑ หน้า 17 ต่อ 19 กีฬา, 'อำนาจ' กร้าวดับ 'ซูชิหมิง' . เดลินิวส์ฉบับที่ 23,812: วันอังคารที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2557 ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 2 ปีมะเมีย
- ↑ หน้า 16 ต่อ 14 กีฬา, 'อำนาจ'สุดเจ๋งดับซ่า'ซูชิหมิง' . เดลินิวส์ฉบับที่ 23,887: วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2558 แรม 4 ค่ำ เดือน 4 ปีมะเมีย
- ↑ "ซู ชิหมิง ต่อยชนะ ขวัญพิชิต คว้าแชมป์โลก WBO". เรื่องเล่าเช้านี้. 2016-11-7. สืบค้นเมื่อ 2017-04-24.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "โถๆๆ ชมคลิป "ซู ซิหมิง" แพ้หมดท่าแก่กำปั้นยุ่น เสียเข็มขัดส่อยุติชกอาชีพ". ผู้จัดการออนไลน์. 2017-07-31. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-03. สืบค้นเมื่อ 2017-07-31.
- ↑ "Zou Shiming - Boxer". Boxrec.com. 1981-03-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-27. สืบค้นเมื่อ 2014-05-08.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- 00.html "Zhou Shiming"[ลิงก์เสีย], n°20 on Time’s list of "100 Olympic Athletes To Watch"
- "The Boxing Rebellion", in The New Yorker - Feb 4th, 2008
- โจว ซื่อหมิง ที่เฟซบุ๊ก
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2524
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากมณฑลกุ้ยโจว
- นักมวยสากลสมัครเล่นในโอลิมปิกฤดูร้อน 2008
- นักมวยสากลสมัครเล่นในโอลิมปิกฤดูร้อน 2012
- นักมวยสากลสมัครเล่นชาวจีน
- นักมวยสากลรุ่นไลท์ฟลายเวท
- นักมวยสากลรุ่นฟลายเวท
- นักกีฬาเหรียญทองแดงโอลิมปิก
- นักกีฬาเหรียญทองโอลิมปิก
- นักกีฬาเหรียญทองเอเชียนเกมส์
- นักกีฬาโอลิมปิกทีมชาติจีน
- นักมวยสากลชาวจีน
- แชมป์โลก WBO