โค้ด กีอัส
โค้ด กีอัส | |
ไฟล์:Code Geass.jpg | |
コードギアス 反逆のルルーシュ (Kōdo Giasu: Hangyaku no Rurūshu) | |
---|---|
แนว | เมฉะ, เหนือธรรมชาติ, สงคราม, การเมือง |
อนิเมะโทรทัศน์ | |
โค้ด กีอัส ภาคการปฏิวัติของลูลูช | |
กำกับโดย | โกะโร ทะนิงุชิ |
อำนวยการโดย |
|
เขียนบทโดย | อิชิโร โอโกชิ |
ดนตรีโดย | โคตะโร นะกะงะวะ |
สตูดิโอ | ซันไรส์ |
เครือข่าย | JNN (MBS), Animax |
ฉาย | 5 ตุลาคม 2549 – 28 กรกฎาคม 2550 |
ตอน | 25 |
อนิเมะโทรทัศน์ | |
โค้ด กีอัส ภาคการปฏิวัติของลูลูช R2 | |
กำกับโดย | โกะโร ทะนิงุชิ |
อำนวยการโดย |
|
เขียนบทโดย | อิชิโร โอโกชิ |
ดนตรีโดย | โคตะโร นะกะงะวะ |
สตูดิโอ | ซันไรส์ |
เครือข่าย | JNN, Animax |
ฉาย | 6 เมษายน 2551 – 28 กันยายน 2551 |
ตอน | 25 |
โอวีเอ | |
โค้ด กีอัส อากิโตะผู้ถูกเนรเทศ | |
กำกับโดย | คะซุกิ อะกะเนะ |
เขียนบทโดย | ฮิโระชิ โอโนะงิ ชิเงะรุ โมะริตะ |
ดนตรีโดย | อิชิโกะ ฮะชิโมะโตะ |
สตูดิโอ | ซันไรส์ |
ฉาย | 4 สิงหาคม 2555 – 6 กุมภาพันธ์ 2559 |
ตอน | 5 |
อนิเมะโทรทัศน์ | |
โค้ด กีอัส ภาคการฟื้นคืนชีพของลูลูช | |
สตูดิโอ | ซันไรส์ |
โค้ด กีอัส (ญี่ปุ่น: コードギアス, อังกฤษ: CODE GEASS) เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นสร้างโดยบริษัทซันไรส์ กำกับโดยโกะโร ทะนิงุชิ เขียนบทโดยอิชิโร โอโกชิ และออกแบบตัวละครโดยแคลมป์ โดยโฟกัสไปที่ ทำอย่างไรที่อดีตเจ้าชาย ลูลูช วี บริแทนเนีย ซึ่งได้พลังเหนือธรรมชาติอย่างกีอัสมาครอบครอง จะใช้พลังที่ได้รับมาอย่างไรเพื่อทำลายจักรวรรดิบริแทนเนียอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นชาติอภิมหาอำนาจที่แผ่ขยายอาณาเขตอย่างไพศาลให้สิ้นซาก
ภาคแรกมีชื่อว่า โค้ด กีอัส ภาคการปฏิวัติของลูลูช เริ่มออกอากาศครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นระหว่าง 5 ตุลาคม 2549 ถึง 28 กรกฎาคม 2550 และภาคที่สองที่มีชื่อว่า โค้ด กีอัส ภาคการปฏิวัติของลูลูช R2 ออกอากาศระหว่าง 6 เมษายน 2551 ถึง 28 กันยายน 2551 จากกระแสตอบรับที่ล้นหลามทำให้เกิดเป็นมังงะและไลต์โนเวลออกมาอีกจำนวนมากซึ่งมีเนื้อเรื่องแยกจากฉบับอนิเมะ ในมหกรรมฉลองครบรอบ 10 ปีเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2559 อนิเมะเรื่องนี้จะถูกทำเป็นฉบับไตรภาค โดยภาคที่สามมีชื่อว่า โค้ด กีอัส ภาคการฟื้นคืนของลูลูช ซึ่งจะเป็นเหตุการณ์ไม่กี่ปีหลังจากภาคก่อนหน้า[1] ผู้กำกับได้ออกมาเปิดเผยว่าในภาคใหม่นี้ก็จะยังคงมีลูลูชตัวเป็นๆเป็นตัวละครเอก[2][3]
อนิเมะเรื่องนี้ได้รับการตอบรับที่ดีมากจากทั้งในญี่ปุ่นและทั่วโลก เฉพาะในญี่ปุ่นสามารถขาย DVD และ Blu-ray ได้มากกว่าล้านแผ่น และยังชนะรางวัลมากมายในมหกรรมต่างๆอย่าง งาน Tokyo International Anime Fair, งาน Animage Anime Grand Prix และงาน Animation Kobe
เนื้อเรื่อง[แก้]
ประวัติศาสตร์ใน โค้ด กีอัส[แก้]
โค้ด กีอัส ดำเนินเรื่องราวอยู่บนโลกที่มีประวัติศาสตร์ที่แตกต่างออกไป กล่าวคือ สาธารณรัฐโรมันในสมัยของจูเลียส ซีซาร์ในโลกของโค้ด กีอัส สามารถยึดและปกครองเกาะอังกฤษสำเร็จ อย่างไรก็ตาม ในรัชสมัยจักรพรรดิเอากุสตุส โรมันก็ต้องเสียเกาะอังกฤษไปเมื่ออัลวินที่ 1 แห่งชาวเคลต์ ได้นำไพร่พลเข้าปลดแอกเกาะอังกฤษจากการปกครองของโรมันได้สำเร็จ อัลวินได้ขึ้นเป็นกษัตริย์คนแรกของชาวเคลต์ และถือเป็นจุดเริ่มต้นศักราช a.t.b. (Ascention Throne Britannia - "สถาปนาราชบัลลังก์บริแทนเนีย")
ถัดจากนั้นจนมาถึงศตวรรษที่ 17 รัชสมัยพระนางเจ้าเอลิซาเบธที่ 1 ผู้ซึ่งครองพระองค์เป็นโสดกลับให้ประสูติกาลพระโอรส ผู้ต้องสงสัยว่าเป็นบิดามีอยู่สามคนคือ เซอร์โรเบิร์ต ดัดลีย์ เอิร์ลที่ 1 แห่งเลสเตอร์, เซอร์โรเบิร์ต เดเวอรู เอิร์ลที่ 2 แห่งเอสเซกซ์ และเซอร์คาร์ล ดยุกแห่งบริแทนเนีย ในเวลาต่อมาพระโอรสองค์นั้นก็ได้ขึ้นครองราชย์เป็น พระเจ้าเฮนรี่ที่ 9 แห่งอังกฤษ และเป็นการเปิดฉากยุคทองของราชวงศ์ทิวดอร์
ต่อมาในปี 1776 ฝรั่งเศสเป็นผู้สนับสนุนแก่อาณานิคมอเมริกาในการก่อกบฏของจอร์จ วอชิงตันเพื่อประกาศเอกราชจากอังกฤษ แต่ เซอร์ ริคาร์โด ดยุกแห่งบริแทนเนีย ได้ติดสินบนแก่เบนจามิน แฟรงคลิน ให้ยุติรับการสนับสนุนดังกล่าวแลกกับจะได้ยศเป็นเอิร์ลปกครองนิคมอเมริกา ต่อมา ทหารอังกฤษเข้าล้อมปิดล้อมยอร์กทาวน์ ซึ่งจอร์จ วอชิงตัน แม่ทัพของกองทัพภาคพื้นทวีปได้เสียชีวิตในศึกครั้งนี้ ทำให้อเมริกาขาดผู้นำในการเรียกร้องอิสรภาพจากอังกฤษ
ปลายศตวรรษที่ 18 ทวีปยุโรปเข้าสู่ยุคแห่งปฏิวัติ การปฏิวัติล้มล้างระบอบกษัตริย์เกิดขึ้นในทุกชาติ โดยเริ่มจากการปฏิวัติฝรั่งเศส ชาวฝรั่งเศสได้ยกเลิกการใช้ปฏิทินเกรโกเรี่ยนไปในคราวนั้น และหันมาใช้ปฏิทินปฏิวัติแทนที่ การปฏิวัติแพร่กระจายไปทุกที่ ยกเว้นอังกฤษในการปกครองของพระเจ้าเฮนรี่ที่ 10 ซึ่งยังทรงรักษาพระราชอำนาจในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไว้ได้ ต่อมา นโปเลียน โบนาปาร์ต ทำสงครามยึดครองยุโรป นโปเลียนมีชัยในยุทธนาวีที่ตราฟัลการ์ กองทัพของนโปเลียนยกพลขึ้นรุกรานเกาะอังกฤษ ต่อมาในปี 1807 พระนางเจ้าเอลิซาเบธที่สาม ถูกทหารอาสาฝ่ายสาธารณรัฐนิยมจับกุมได้ในเอดินบะระและทรงถูกบังคับให้สละราชสมบัติ ถือเป็นจุดสิ้นสุดของระบอบกษัตริย์ในอังกฤษ อย่างไรก็ตาม เซอร์ริคาร์โด ฟอน บริแทนเนีย ดยุกแห่งบริแทนเนีย พร้อมกับเซอร์ ริชาร์ด เฮกเตอร์ ไนท์ออฟวัน ได้พระนางเจ้าเอลิซาเบธที่สามและผู้ติดตามไปสร้างประเทศใหม่ที่แผ่นดินอเมริกา ในขณะที่หมู่เกาะอังกฤษถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของอียู ต่อมาในปี a.t.b. 1813 พระนางเจ้าเอลิซาเบธที่สาม ได้ประกาศให้สวามีคือ เซอร์ ริคาร์โด ดยุกแห่งบริแทนเนีย ขึ้นครองบัลลังก์ต่อไปหลังการสวรรคตของพระนาง
ในส่วนของทางฝั่งยุโรปนั้น หลังจากที่นโปเลียน โบนาปาร์ตได้ทำการพิชิตหมู่เกาะบริติชแล้ว ก็ได้เกิดยุทธการที่วอเตอร์ลูขึ้นในปี a.t.b. 1821 ซึ่งนโปเลียนพ่ายแพ้ และเสียชีวิตหลังจากนั้นไม่นาน โดยเขาถูกประหารด้วยกิโยตีน เนื่องจากความเกรงกลัวว่าเขาจะสถาปนาตนเป็นจักรพรรดิ และกลายเป็นทรราช แต่ก็มีข่าวลือกันว่าเขาอาจจะเสียชีวิตจากการลอบวางยาพิษจากมือสังหารของพระนางเจ้าอลิซาเบธที่สาม ระหว่างเดินทางกลับไปยังฝรั่งเศส
ภาคการปฏิวัติของลูลูช[แก้]
โลกถูกแบ่งออกเป็น 3 ขั้วอำนาจหลัก ได้แก่ จักรวรรดิบริแทนเนียอันศักดิ์สิทธิ์, สหพันธ์จีน (ภายหลังกลายเป็นสหรัฐจีน) และ สหภาพยุโรป (หรือสหพันธ์ยุโรป) เรื่องราวเริ่มดำเนินขึ้นเมื่อบริแทนเนียใช้ "อัศวินหุ้มเกราะอันโนมัติ" หรือที่เรียกว่า ไนท์แมร์เฟรม เข้ายึดครองประเทศญี่ปุ่นในปี 2010 และตั้งญี่ปุ่นเป็น "แอเรีย 11" และพลเมืองญี่ปุ่นถูกเรียกว่า "อีเลฟเว่น"
ลูลูช แลมเพอรูจ เป็นเจ้าชายบริแทนเนียซึ่งถูกเนรเทศมายังญี่ปุ่นเพื่อเป็นเครื่องต่อรองทางการเมืองของจักรวรรดิ์ เขาถูกส่งไปพร้อมกับน้องสาว นานาลี วี บริแทนเนีย โดยพระบัญชาของพระบิดา จักรพรรดิชาลส์ ซี บริแทนเนีย โดยภายหลังจากที่แม่ของพวกเขา พระนางมารีแอน วี บริแทนเนีย ถูกลอบสังหารในวังหลวง ซึ่งนานาลีที่อยู่ในเหตุการณ์ครั้งนั้น ได้รับการกระทบกระเทือนทางจิตใจจนดวงตามิอาจมองเห็นได้และไม่สามารถเดินได้ ซึ่งกลายเป็นภาระของลูลูชที่จะต้องคอยดูแลน้องสาวสุดที่รักเพียงคนเดียวของเขาแม้แต่ในช่วงที่ญี่ปุ่นตกอยู่ในภาวะสงครามกับบริแทนเนีย ภายหลังสงครามสิ้นสุด ญี่ปุ่นเต็มไปด้วยซากปรักหักพัง เขาก็ได้สาบานกับเพื่อนชาวญี่ปุ่นของเขา คุรุรุกิ สุซาคุ ว่าซักวันหนึ่งจะล้มล้างบริแทนเนียให้ได้ ในขณะที่เชื้อพระวงศ์องค์อื่นๆคิดว่าลูลูชและน้องสาวได้ตายไปในสงครามครั้งนั้นแล้ว
7 ปีต่อมา ลูลูชที่เป็นนักเรียนอยู่ที่โรงเรียนมัธยมแอชฟอร์ดในแอเรีย 11 โดยใช้ชื่อปลอมว่า ลูลูช แลมเพอรูจ โดยอยู่ในอุปการะของตระกูลแอชฟอร์ด ตระกูลขุนนางของบริแทนเนีย จนในวันหนึ่ง ลูลูชเข้าไปติดพนันในที่เกิดเหตุ การก่อการร้าย และได้พบกับผู้หญิงปริศนาที่ชื่อว่า ซีทู (C.C.) ซึ่งเข้ามาช่วยชีวิตเขาไว้จากทหารบริแทนเนีย เธอทำสัญญากับลูลูชโดยจะมอบพลังที่มีชื่อว่ากีอัส หรือที่เรียกกันว่า "พลังแห่งราชันย์" เป็นพลังที่เขาสามารถสั่งการและบงการทุกคนที่โดนพลังนี้เข้าไปให้ทำตามคำสั่งของเขาได้ทุกอย่าง แม้กระทั่งสั่งให้ฆ่าตัวตาย โดยมีเงื่อนไขการใช้งานว่าฝ่ายตรงข้ามจะต้องสบตากับลูลูชเท่านั้นกีอัสถึงจะมีผลใช้งาน ลูลูชได้ตัดสินใจใช้พลังกีอัสนี้ในการทำลายจักรวรรดิบริทาเนีย และสร้างโลกที่อ่อนโยนอย่างที่นันนาลี่ต้องการจะให้เป็น โดยเขากลายเป็นบุรุษปริศนาสวมหน้ากากโดยใช้ชื่อว่า ซีโร่ และเป็นผู้นำขององค์กรติดอาวุธในชื่อว่า "ภาคีอัศวินดำ" ขึ้นมาต่อกรกับจักรวรรดิบริแทนเนีย และเนื่องจากเพื่อนรักของเขา ซูซาคุก็เข้าเป็นอัศวินของจักรวรรดิบริแทนเนีย และเป็นเหตุที่ให้ทั้งสองต้องกลายมาเป็นศัตรูกันในภายหลัง
อากิโตะผู้ถูกเนรเทศ[แก้]
โค้ด กีอัส อากิโตะผู้ถูกเนรเทศ เป็นภาคเสริมแบบฉายโรง มีทั้งหมด 5 ตอน เนื้อเรื่องในภาคนี้อยู่ในระหว่างโค้ดกีอัสในภาคแรกและภาค R2 เป็นเรื่องราวของเด็กหนุ่มชาวญี่ปุ่นนาม ฮีวงะ อากิโตะ ซึ่งเป็นทหารในกองทัพสหพันธ์ยุโรปและทำสงครามกับยูโรบริแทนเนีย ในภาคนี้ลูลูชที่สูญเสียความทรงจำได้ปรากฏตัวในชื่อ จูเลียส คิงส์เลย์ เป็นเสนาธิการที่ทางจักรพรรดิชาลส์ส่งมาเพื่อบัญชากองทัพยูโรบริแทนเนีย โดยมีสุซาคุในฐานะไนท์ออฟราวด์คอยตามประกบลูลูช
ดินแดน[แก้]

ในโลกของกีอัส มีมหาอำนาจอยู่สามฝ่าย คือ จักรวรรดิบริแทนเนียอันศักดิ์สิทธิ์, สหพันธ์รัฐจีน และ สหพันธ์ยุโรป เป็นโลกสามอภิรัฐ คล้ายกับแนวคิดในนวนิยายชื่อดังของจอร์จ ออร์เวลล์ เรื่อง หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ (1984)
- จักรวรรดิบริแทนเนียอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Britannian Empire) จักรวรรดิที่ทรงแสนยานุภาพที่สุดในโลก ในซีซั่นแรก จักรวรรดิครอบครองทวีปอเมริกาทั้งหมด รวมทั้งนิวซีแลนด์ โอเชียเนีย และญี่ปุ่น รวมแล้วเป็นพื้นที่ถึงหนึ่งในสามของโลกและในตอนที่ 6 ตะวันออกกลางจึงถูกจัดตั้งเป็น Area 18 โดย เจ้าหญิงคอร์เนเลีย ในซีซั่นที่ 2 องค์ชายชไนเซล นำกองทัพเข้ายึดสหพันธ์ยุโรปได้ครึ่งหนึ่ง มีนครหลวงชื่อเพนดรากอน ปกครองแบบแบ่งชนชั้นฐานันดรศักดิ์ แบบระบอบอภิชนาธิปไตย
- ยูโรบริแทนเนีย (Euro Britannia) จัดตั้งขึ้นหลังบริแทนเนียสามารถยึดยุโรปได้ มีเมืองหลวงอยู่ที่ เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ปกครองด้วยระบอบขุนนาง มีประมุขรัฐบาลคืออาร์ชดยุกแห่งเวแลนซ์ แม้ว่าจะเป็นส่วนหนึ่งของบริทาเนียแต่ก็ค่อนข้างมีอิสระในการปกครองตนเอง ทำให้ขุนนางบางส่วนในยูโรบริทาเนียมีความคิดที่จะแยกตัวจากบริทาเนียแผ่นดินแม่
- สหพันธรัฐจีน (The Chinese Federation) กินพื้นที่เอเชียตะวันออก (ไม่นับญี่ปุ่น) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียใต้ เมืองหลวงคือ นครต้องห้าม ลั่วหยาง ลักษณะการปกครองแบบคณาธิปไตย มีองค์จักรพรรดินีเทียนจื่อเป็นสัญลักษณ์ เศรษฐกิจจะเป็นการแบ่งสันปันส่วนทรัพยากร เนื่องจากสหพันธ์จีน เป็นชาติที่มีประชากรมากที่สุดในโลก
- สหพันธ์ยุโรป (The Euro Universe) เป็นสหพันธ์ที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย กินพื้นที่ในทวีปยุโรปทั้งหมด (ไม่นับหมู่เกาะอังกฤษ) รวมทั้ง แอฟริกา และรัสเซียด้วย มีความขัดแย้งกับจักรวรรดิบริแทนเนียมาช้านาน เพราะจักรพรรดินโปเลียนสามารถยกทัพยึดเกาะอังกฤษได้ ทำให้อังกฤษต้องย้ายถิ่นฐานไปยังทวีปอเมริกาซึ่งต่อมาก็คือ จักรวรรดิบริแทนเนียอันศักดิ์สิทธิ์ ในภาคที่สอง ชาติในสหพันธ์ยุโรปอย่าง สเปน,โปรตุเกส,ฝรั่งเศส,แอฟริกาฝั่งตะวันตก,ซาฮาราถึงอียิปต์ ประกาศยอมแพ้ต่อจักรวรรดิบริแทนเนีย แต่มีบางชาติไม่ยอม เช่น อิตาลี โปแลนด์ ได้เข้าร่วมสมคบคิดกับซีโร่ ก่อตั้ง องค์การสหพันธ์ประชาชาติ (มหาสหพันธรัฐ)
- ญี่ปุ่น ประเทศที่ถูกบริแทนเนียยึดครองในสงครามแปซิฟิกครั้งที่ 2 โดยความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างบริแทนเนียกับญี่ปุ่น โดยบริแทนเนียอ้างถึงความปลอดภัยของลูลูชและนานาลี่ที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองในการเข้ายึดครองประเทศ แต่จุดประสงค์หลักคือ ญี่ปุ่นมีแร่ซากุระไดต์มาก ถึง 70% ของโลก ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่สำคัญของไนท์แมร์แฟรม และเป็นฐานที่มั่นในการขยายอิทธิพลเข้าสู่สหพันธ์จีน ญี่ปุ่นประเทศที่ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "แอเรีย 11" ชาวญี่ปุ่นถูกเรียกว่า "อีเลฟเว่น" ในการแบ่งถิ่นที่อยู่อาศัยแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบการปกครองคือ
- เขตนิคม เป็นเขตที่อยู่อาศัยของผู้มีสัญชาติบริแทนเนีย หากชาวอีเลฟเว่นที่จะย้ายเข้ามาอาศัยในเขตนี้จะต้องไปขึ้นทะเบียนที่หน่วยปกครอง อีเลฟเว่นผู้นั้นจะถูกเลื่อนสถานะเป็น "ชาวบริแทนเนียกิตติมศักดิ์" (Honorary Britannian) ซึ่งถึงแม้จะมีฐานะเท่าชาวบริแทนเนีย แต่ด้วยการที่ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่แพ้สงคราม ทำให้คนญี่ปุ่นไม่ว่าจะเป็นอีเลฟเว่นหรือชาวบริแทนเนียกิตติมศักดิ์มีฐานะด้อยกว่าชาวบริแทนเนียเสมอ
- เก็ตโต เป็นเขตเสื่อมโทรมที่ไม่ได้รับการดูแลจากบริแทนเนีย เป็นแหล่งที่อยู่ของชาวอีเลฟเว่นที่รักในศักดิ์ศรี มักเป็นแหล่งกบดานของกลุ่มต่อต้านจักรวรรดิ
- อินเดีย หนึ่งในชาติสมาชิกของสหพันธ์จีน ที่ต้องการแยกตัวออกจากสหพันธ์จีน โดยร่วมมือกับภาคีอัศวินดำในการก่อกบฏที่ญี่ปุ่น ตั้งแต่ส่งอาวุธ รวมทั้งทีมนักวิทยาศาสตร์ของรัคชาตะ มาพัฒนาอาวุธ
- องค์การสหพันธ์ประชาชาติ (The United Federation of Nations) หรือ มหาสหพันธรัฐ เกิดจากกลุ่มประเทศที่ต่อต้านจักรวรรดิบริแทนเนียอันศักดิ์สิทธิ์มารวมตัวกัน คือ กลุ่มสหพันธ์ยุโรปบางส่วนที่ไม่ยอมรับการประกาศยอมแพ้ สหพันธ์จีน สหพันธ์ญี่ปุ่นและภาคีอัศวินดำ โดยซีโร่เป็นคนดำเนินการ ทำให้สมดุลอำนาจเปลี่ยนเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายจักรวรรดิและฝ่ายต่อต้านจักรวรรดิ โดยการ vote จะใช้จำนวนตัวแทนตามสัดส่วนประชากร หากบริทาเนียเข้าร่วม (ซึ่งรวมประเทศอาณานิคม) จักรวรรดิจะเข้าครอบงำสหพันธ์ทันที
รายชื่อตอน[แก้]
ภาคการปฏิวัติของลูลูช[แก้]
ตอน | ชื่อตอนฉบับภาษาไทย (ชื่อตอนฉบับภาษาญี่ปุ่น) |
ผู้กำกับ | ออกอากาศในญี่ปุ่นเมื่อ[4] | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|
1 | วันที่จอมมารถือกำเนิด (魔神が生まれた日) | Jun Shishido | 5 ตุลาคม 2549 | [5] |
2 | อัศวินสีขาวตื่นจากนิทรา (覚醒の白き騎士) | Masato Miyoshi | 13 ตุลาคม 2549 | [6][7] |
3 | เพื่อนร่วมชั้นจอมปลอม (偽りのクラスメイト) | Kazuya Murata | 20 ตุลาคม 2549 | [8][9] |
4 | นามนั้นคือ "ซีโร่" (その名はゼロ) | Kazuo Miyake | 27 ตุลาคม 2549 | [10][11] |
5 | รัชทายาทหญิงกับมารร้าย (皇女と魔女) | Satoshi Toba | 3 พฤศจิกายน 2549 | [12][13] |
6 | หน้ากากที่ถูกช่วงชิง (奪われた仮面) | Hiroaki Kudō | 10 พฤศจิกายน 2549 | [14][15] |
7 | กำจัดคอร์เนเลียซะ! (コーネリアを撃て) | Noriaki Akitaya | 17 พฤศจิกายน 2549 | [16][17] |
8 | ภาคีอัศวินดำ (黒の騎士団) | Makoto Baba | 24 พฤศจิกายน 2549 | [18][19] |
9 | Refrain (リフレイン) | Kazuya Murata | 8 ธันวาคม 2549 | [20][21] |
10 | กุเรนเริงระบำ (紅蓮舞う) | Kazuo Miyake | 15 ธันวาคม 2549 | [22][23] |
11 | ศึกรุกรับที่นาริตะ (ナリタ攻防戦) | Satoshi Toba | 22 ธันวาคม 2549 | [24][25] |
12 | ทูตจากเกียวโต (キョウトからの使者) | Hiroaki Kudō | 5 มกราคม 2550 | [26][27] |
13 | เชอร์ลีย์และปากกระบอกปืน (シャーリーと銃口) | Noriaki Akitaya | 12 มกราคม 2550 | [28][29] |
14 | กีอัส ปะทะ กีอัส (ギアス対ギアス) | Makoto Baba | 19 มกราคม 2550 | [30][31] |
15 | เสียงปรบมือแด่เหมา (喝采のマオ) | Tōru Yamada | 26 มกราคม 2550 | [32][33] |
16 | ตัวประกันคือนันนาลลี่ (囚われのナナリー) | Kazuo Miyake | 2 กุมภาพันธ์ 2550 | [34][35] |
17 | อัศวิน (騎士) | Kazuya Murata | 9 กุมภาพันธ์ 2550 | [36][37] |
18 | ขอออกคำสั่งแก่ คุรุรุกิ สุซาคุ (枢木スザクに命じる) | Satoshi Toba | 23 กุมภาพันธ์ 2550 | [38][39] |
19 | เกาะแห่งพระเจ้า (神の島) | Shin'ichi Masaki | 2 มีนาคม 2550 | [40][41] |
20 | สงครามคิวชู (キュウシュウ戦役) | Hiroaki Kudō | 9 มีนาคม 2550 | [42][43] |
21 | ประกาศิตงานโรงเรียน (学園祭宣言!) | Noriaki Akitaya | 16 มีนาคม 2550 | [44][45] |
22 | ยูฟี่ ชโลมเลือด (血染めのユフィ) | Makoto Baba | 23 มีนาคม 2550 | [46][47] |
23 | ล่วงลับไปกับความโศกเศร้า (せめて哀しみとともに) | Shin'ichi Masaki | 30 มีนาคม 2550 | [48][49] |
24 | สเตจแห่งการพังทลาย (崩落のステージ) | Kazuo Miyake | 29 กรกฎาคม2550 | [50][51] |
25 | ซีโร่ (ゼロ) | Satoshi Toba | 29 กรกฎาคม 2550 | [50][52] |
ภาคการปฏิวัติของลูลูช R2[แก้]
ตอน | ชื่อตอนฉบับภาษาไทย (ชื่อตอนฉบับภาษาญี่ปุ่น) |
ผู้กำกับ | ออกอากาศในญี่ปุ่น | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|
1 | วันที่เทพอสูรคืนชีพ (魔神が目覚める日) | Noriaki Akitaya | 6 เมษายน 2551 | [53][54] |
2 | แผนประกาศเอกราชญี่ปุ่น (日本独立計画) | Akira Toba | 13 เมษายน 2551 | [55][56] |
3 | โรงเรียนแห่งการจองจำ (囚われの学園) | Makoto Baba | 20 เมษายน 2551 | [57][58] |
4 | แท่นประหารแห่งการโต้กลับ (逆襲の処刑台) | Kazuo Miyake | 27 เมษายน 2551 | [59][60] |
5 | ไนท์ออฟราวด์ (ナイトオブラウンズ) | Masato Miyoshi & Noriaki Akitaya | 4 พฤษภาคม 2551 | [61][62] |
6 | ปฏิบัติการลอบจู่โจมมหาสมุทรแปซิฟิก (太平洋奇襲作戦) | Akira Toba | 11 พฤษภาคม 2551 | [63][64] |
7 | หน้ากากที่ถูกทิ้ง (棄てられた仮面) | Makoto Baba | 18 พฤษภาคม 2551 | [65][66] |
8 | หนึ่งล้านปาฏิหาริย์ (百万のキセキ) | Kazuo Miyake | 25 พฤษภาคม 2551 | [67][68] |
9 | เจ้าสาวแห่งวังต้องห้าม (朱禁城の花嫁) | Kazuo Sakai | 8 มิถุนายน 2551 | [69][70] |
10 | ยาม "เชิ่นหู" เปล่งแสง (神虎輝く刻) | Akira Toba | 15 มิถุนายน 2551 | [71][72] |
11 | พลังแห่งความรู้สึก (想いの力) | Shinda Yū | 22 มิถุนายน 2551 | [73][74] |
12 | Love Attack! (ラブアタック!) | Kunihiro Mori & Mamoru Sunaga | 29 มิถุนายน 2551 | [75][76] |
13 | มือสังหารจากอดีต (過去からの刺客) | Kazuya Murata | 6 กรกฎาคม 2551 | [77][78] |
14 | ล่ากีอัส (ギアス狩り) | Kazuo Miyake | 13 กรกฎาคม 2551 | [79][80] |
15 | โลกแห่ง C (Cの世界) | Makoto Baba | 20 กรกฎาคม 2551 | [81][82] |
16 | มติลำดับแรกของมหาสหพันธรัฐ (超合集国決議第壱號) | Tatsuya Abe | 27 กรกฎาคม 2551 | [83][84] |
17 | รสชาติของผืนดิน (土の味) | Akira Hiroshi Kudo | 3 สิงหาคม 2551 | [85][86] |
18 | ศึกรบตัดสินโตเกียวครั้งที่ 2 (第二次東京決戦) | Akira Toba | 10 สิงหาคม 2551 | [87][88] |
19 | ทรยศ (裏切り) | Noriaki Akitaya | 17 สิงหาคม 2551 | [89][90] |
20 | จักรพรรดิผู้ไร้คุณสมบัติ (皇帝失格) | Kazuo Miyake | 24 สิงหาคม 2551 | [91][92]eternity. |
21 | การเชื่อมต่อของแร็คนาเรก (ラグナレクの接続) | Makoto Baba | 31 สิงหาคม 2551 | [93][94] |
22 | จักรพรรดิลูลูช (皇帝ルルーシュ) | Shinda Yū | 7 กันยายน 2551 | [95][96] |
23 | หน้ากากของชไนเซล (シュナイゼルの仮面) | Tatsuya Igarashi | 14 กันยายน 2551 | [97][98] |
24 | ท้องฟ้าของดาโมเคลซ (ダモクレスの空) | Akira Toba | 21 กันยายน 2551 | [99][100] |
25 | Re; | Noriaki Akitaya | 28 กันยายน 2551 | [101][102] |
เพลงประกอบอนิเมะ[แก้]
เพลงเปิด[แก้]
- Colors ขับร้องโดย Flow
- Kaidoku Funou ขับร้องโดย Jinn
- Hitomi No Tsubasa ขับร้องโดย Access
เพลงปิด[แก้]
- Yuukyou Seishunka ขับร้องโดย Ali Project
- Mosaic Kakera ขับร้องโดย Sunset Swish
เพลงแทรกระหว่างเรื่อง[แก้]
- Stories (Epi.05) ขับร้องโดย Hitomi Kuroishi
- Masquerade (Epi.07) ขับร้องโดย Hitomi Kuroishi
- Picaresque (Epi.17) ขับร้องโดย Mikio Sakai
- Callin' (Epi.20) ขับร้องโดย Mikio Sakai
- Alone (Epi.21) ขับร้องโดย Hitomi Kuroishi
- Innocent Days (Epi.23) ขับร้องโดย Hitomi Kuroishi
- Boku wa,Tori ni Naru (If I were a bird) ขับร้องโดย Hitomi Kuroishi
- Continued Story ขับร้องโดย Hitomi Kuroishi
เพลงประกอบอนิเมะ ซีซั่นสอง[แก้]
เพลงเปิด[แก้]
- O2 ขับร้องโดย Orange Range
- WORLD END ขับร้องโดย FLOW
เพลงปิด[แก้]
- Shiawase Neiro ขับร้องโดย Orange Range
- Waga Routashi Aku no Hana ขับร้องโดย Ali Project
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "Code Geass Gets New Sequel & Anime Compilation Film Trilogy". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ November 28, 2016.
- ↑ ""Code Geass" Compilation Movies To Prepare For New Sequel". Crunchyroll. November 28, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-29. สืบค้นเมื่อ November 28, 2016.
- ↑ "Code Geass Lelouch of the Resurrection & Lead Up Compilation Movie Announced". nagamedigital.com. November 28, 2016. สืบค้นเมื่อ November 28, 2016.
- ↑ "Code Geass: Lelouch of the Rebellion" series information" (ภาษาญี่ปุ่น). Agency for Cultural Affairs (Japan). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-05. สืบค้นเมื่อ July 5, 2015.
- ↑ 【第1滑走】なんのピロシキ!! 涙のグランプリファイナル. yurionice.com (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ December 4, 2016.
- ↑ "Stage 2" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ March 9, 2012.
- ↑ "Code Geass Stage 2 summary". Bandai Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 17, 2551. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013.
- ↑ "Stage 3" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ March 9, 2012.
- ↑ "Code Geass Stage 3 summary". Bandai Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 17, 2551. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013.
- ↑ "Stage 4" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ December 27, 2012.
- ↑ "Code Geass Stage 4 summary". Bandai Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 19, 2008. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013.
- ↑ "Stage 5" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ December 27, 2012.
- ↑ "Code Geass Stage 5 summary". Bandai Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 19, 2008. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013.
- ↑ "Stage 6" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ December 27, 2012.
- ↑ "Code Geass Stage 6 summary". Bandai Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 19, 2008. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013.
- ↑ "Stage 7" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ December 27, 2012.
- ↑ "Code Geass Stage 7 summary". Bandai Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 19, 2008. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013.
- ↑ "Stage 8" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ December 27, 2012.
- ↑ "Code Geass Stage 8 summary". Bandai Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 19, 2008. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013.
- ↑ "Stage 9" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ December 27, 2012.
- ↑ "Code Geass Stage 9 summary". Bandai Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 19, 2008. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013.
- ↑ "Stage 10" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ December 27, 2012.
- ↑ "Code Geass Stage 10 summary". Bandai Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 19, 2008. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013.
- ↑ "Stage 11" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ December 27, 2012.
- ↑ "Code Geass Stage 11 summary". Bandai Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 19, 2008. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013.
- ↑ "Stage 12" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ December 27, 2012.
- ↑ "Code Geass Stage 12 summary". Bandai Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 19, 2008. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013.
- ↑ "Stage 13" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ December 27, 2012.
- ↑ "Code Geass Stage 13 summary". Bandai Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 19, 2008. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013.
- ↑ "Stage 14" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ December 27, 2012.
- ↑ "Code Geass Stage 14 summary". Bandai Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 19, 2008. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013.
- ↑ "Stage 15" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ December 27, 2012.
- ↑ "Code Geass Stage 15 summary". Bandai Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 19, 2008. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013.
- ↑ "Stage 16" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ December 27, 2012.
- ↑ "Code Geass Stage 16 summary". Bandai Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 19, 2008. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013.
- ↑ "Stage 17" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ December 27, 2012.
- ↑ "Code Geass Stage 17 summary". Bandai Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 19, 2008. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013.
- ↑ "Stage 18" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ December 27, 2012.
- ↑ "Code Geass Stage 18 summary". Bandai Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 19, 2008. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013.
- ↑ "Stage 19" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ December 27, 2012.
- ↑ "Code Geass Stage 19 summary". Bandai Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 19, 2008. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013.
- ↑ "Stage 20" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ December 27, 2012.
- ↑ "Code Geass Stage 20 summary". Bandai Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 19, 2008. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013.
- ↑ "Stage 21" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ December 27, 2012.
- ↑ "Code Geass Stage 21 summary". Bandai Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 19, 2008. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013.
- ↑ "Stage 22" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ December 27, 2012.
- ↑ "Code Geass Stage 22 summary". Bandai Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 19, 2008. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013.
- ↑ "Stage 23" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ December 27, 2012.
- ↑ "Code Geass Stage 23 summary". Bandai Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 19, 2008. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013.
- ↑ 50.0 50.1 "Stage 24 and 25" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ December 27, 2012.
- ↑ "Code Geass Stage 24 summary". Bandai Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 19, 2008. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013.
- ↑ "Code Geass Stage 25 summary". Bandai Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 19, 2008. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013.
- ↑ "Turn 1" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013.
- ↑ "Code Geass R2 Turn 1 summary". Bandai Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 16, 2011. สืบค้นเมื่อ April 21, 2013.
- ↑ "Turn 2" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013.
- ↑ "Code Geass R2 Turn 2 summary". Bandai Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 16, 2011. สืบค้นเมื่อ April 21, 2013.
- ↑ "Turn 3" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013.
- ↑ "Code Geass R2 Turn 3 summary". Bandai Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 16, 2011. สืบค้นเมื่อ April 21, 2013.
- ↑ "Turn 4" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013.
- ↑ "Code Geass R2 Turn 4 summary". Bandai Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 16, 2011. สืบค้นเมื่อ April 21, 2013.
- ↑ "Turn 5" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013.
- ↑ "Code Geass R2 Turn 5 summary". Bandai Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 16, 2011. สืบค้นเมื่อ April 21, 2013.
- ↑ "Turn 6" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013.
- ↑ "Code Geass R2 Turn 6 summary". Bandai Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 16, 2011. สืบค้นเมื่อ April 21, 2013.
- ↑ "Turn 7" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013.
- ↑ "Code Geass R2 Turn 7 summary". Bandai Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 16, 2011. สืบค้นเมื่อ April 21, 2013.
- ↑ "Turn 8" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013.
- ↑ "Code Geass R2 Turn 8 summary". Bandai Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 16, 2011. สืบค้นเมื่อ April 21, 2013.
- ↑ "Turn 9" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013.
- ↑ "Code Geass R2 Turn 9 summary". Bandai Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 16, 2011. สืบค้นเมื่อ April 21, 2013.
- ↑ "Turn 10" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013.
- ↑ "Code Geass R2 Turn 10 summary". Bandai Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 16, 2011. สืบค้นเมื่อ April 21, 2013.
- ↑ "Turn 11" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013.
- ↑ "Code Geass R2 Turn 11 summary". Bandai Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 16, 2011. สืบค้นเมื่อ April 21, 2013.
- ↑ "Turn 12" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013.
- ↑ "Code Geass R2 Turn 12 summary". Bandai Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 16, 2011. สืบค้นเมื่อ April 21, 2013.
- ↑ "Turn 13" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013.
- ↑ "Code Geass R2 Turn 13 summary". Bandai Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 16, 2011. สืบค้นเมื่อ April 21, 2013.
- ↑ "Turn 14" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013.
- ↑ "Code Geass R2 Turn 14 summary". Bandai Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 16, 2011. สืบค้นเมื่อ April 21, 2013.
- ↑ "Turn 15" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013.
- ↑ "Code Geass R2 Turn 15 summary". Bandai Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 16, 2011. สืบค้นเมื่อ April 21, 2013.
- ↑ "Turn 16" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013.
- ↑ "Code Geass R2 Turn 16 summary". Bandai Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 16, 2011. สืบค้นเมื่อ April 21, 2013.
- ↑ "Turn 17" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013.
- ↑ "Code Geass R2 Turn 17 summary". Bandai Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 16, 2011. สืบค้นเมื่อ April 21, 2013.
- ↑ "Turn 18" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013.
- ↑ "Code Geass R2 Turn 18 summary". Bandai Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 16, 2011. สืบค้นเมื่อ April 21, 2013.
- ↑ "Turn 19" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013.
- ↑ "Code Geass R2 Turn 19 summary". Bandai Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 16, 2011. สืบค้นเมื่อ April 21, 2013.
- ↑ "Turn 20" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013.
- ↑ "Code Geass R2 Turn 20 summary". Bandai Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 16, 2011. สืบค้นเมื่อ April 21, 2013.
- ↑ "Turn 21" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013.
- ↑ "Code Geass R2 Turn 21 summary". Bandai Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 16, 2011. สืบค้นเมื่อ April 21, 2013.
- ↑ "Turn 22" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013.
- ↑ "Code Geass R2 Turn 22 summary". Bandai Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 16, 2011. สืบค้นเมื่อ April 21, 2013.
- ↑ "Turn 23" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013.
- ↑ "Code Geass R2 Turn 23 summary". Bandai Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 16, 2011. สืบค้นเมื่อ April 21, 2013.
- ↑ "Turn 24" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013.
- ↑ "Code Geass R2 Turn 24 summary". Bandai Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 16, 2011. สืบค้นเมื่อ April 21, 2013.
- ↑ "Turn 25" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013.
- ↑ "Code Geass R2 Turn 25 summary". Bandai Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 16, 2011. สืบค้นเมื่อ April 21, 2013.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ (ญี่ปุ่น)
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของ MBS (ญี่ปุ่น)
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ โค้ดกีอัส การคืนชีพของลูลูซ (ญี่ปุ่น)
- Thai Code Geass (แฟนคลับแห่งแรกในไทย)
- การ์ตูนญี่ปุ่น
- ซีรีส์อนิเมะ
- อนิเมะโอเอ็นเอ
- บทความเกี่ยวกับอนิเมะและมังงะที่ไม่มีพารามิเตอร์เครือข่าย
- โค้ด กีอัส
- อนิเมะที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2549
- อนิเมะที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2551
- การ์ตูนญี่ปุ่นแนวโชเน็ง
- การ์ตูนญี่ปุ่นแนวโชโจะ
- ภาพยนตร์อนิเมะที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2560
- การทหารในอนิเมะและมังงะ
- ภาพยนตร์อนิเมะที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2561
- การก่อการร้ายในบันเทิงคดี
- ราชาธิปไตยในบันเทิงคดี
- รัฐบาลในบันเทิงคดี