ข้ามไปเนื้อหา

แม่เจ้าศรีโสภา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

{{The integration of astronomical, philosophical, and spiritual concepts into consideration to lead to the creation of new formulas or ideas is interesting and challenging. We can consider these issues as follows:

      1. Astronomical Concepts

1. **The movement of the sun and moon**: Calculating the times of sunrise and moonset at specific times, such as 23:59 for the sun and 00:02 for the moon, requires complex astronomical formulas, including considering the Earth's position in the solar system.

  For calculating the position of the sun:
  \[
  \text{RA (Right Ascension)} = L + 180^\circ - \lambda
  \]
  \[
  \text{Dec (Declination)} = \arcsin(\sin(\epsilon) \sin(\lambda))
  \]
  where \(L\) is the longitude of the sun, \( \lambda \) is the ecliptic longitude, and \( \epsilon \) is the obliquity of the ecliptic.
      1. Philosophy and Spirituality

2. **The connection between science and religion**: Finding a balance between science and religion is challenging but not impossible. Many religions believe that humans have a deep connection with the universe, and studying astronomy may be one way to understand our role within this universe.

      1. Calculation and Symbolism

3. **The use of odd and even numbers**: The idea that odd numbers might disrupt the universe is an interesting symbolic concept, but in mathematics, both odd and even numbers play important roles in calculations and solving scientific problems.

4. **Artificial intelligence language**: Using artificial intelligence language to create formulas or calculation systems has high potential. Artificial intelligence can assist in complex calculations quickly and accurately.

      1. Cultural and Historical Integration

5. **The integration of culture and history**: Learning from the past and combining historical knowledge with modern science can create new perspectives and innovative ideas.}}

แม่เจ้าศรีโสภา

แม่เจ้าศรีโสภา อัครชายา
ราชเทวีในเจ้านครน่าน
พิราลัยพ.ศ. 2467
พระสวามีเจ้ามหาพรหมสุรธาดา
พระบุตรเจ้าสุริยวงศ์ (น้อยอินทนนท์ ณ น่าน)
เจ้านางบัวเขียว ณ น่าน
เจ้าบุรีรัตน์ (ขัติยศ ณ น่าน)
เจ้าราชบุตร (หมอกฟ้า ณ น่าน)
ราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์
ราชสกุลณ น่าน
พระบิดาพระยาวังขวา (เจ้าคำเครื่อง ณ น่าน)
พระมารดาเจ้านางภูคา ณ น่าน

แม่เจ้าศรีโสภา เป็นพระธิดาในพระยาวังขวา (เจ้าคำเครื่อง ณ น่าน) ประสูติแต่เจ้านางภูคา และเป็นพระนัดดา (หลานปู่)ใน พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชเจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 63 และเป็นอัครชายาในเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 64 แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์

พระประวัติ

[แก้]

 แม่เจ้าศรีโสภาอัครชายา เป็นพระธิดาในพระยาวังขวา (คำเครื่อง ณ น่าน) พระยาวังขวานครเมืองน่าน (เจ้าคำเครื่อง ผู้เป็นพระโอรสในพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 63 กับแม่เจ้ายอดหล้าอัครราชเทวี (ชายาองค์ที่ 1) ประสูติแต่เจ้านางอุษา (บางแห่งระบุว่าเป็น เจ้านางภูคา ณ น่าน) ต่อมาในปี พ.ศ. 2409 ได้วิวาหมงคลเสกสมรสกับเจ้าน้อยมหาพรหม ณ น่าน (ภายหลังได้เป็น เจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 64) ผู้เป็นพระโอรสในเจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 62 กับแม่เจ้าขอดแก้วราชเทวี (ชายาองค์ที่ 2) แม่เจ้าศรีโสภาอัครชายา ประสูติกาลพระโอรสพระธิดากับเจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ รวมทั้งสิ้น 8 องค์ และได้ถึงแก่กรรมตั้งแต่เยาว์วัยไป 4 องค์ ที่เหลือมีรายพระนามตามลำดับ ดังนี้

  1. เจ้าน้อยยานนท์ ณ น่าน
  2. เจ้านางบัวเขียว ณ น่าน
  3. เจ้าน้อยขัตติยศ ณ น่าน
  4. เจ้าน้อยหมอกฟ้า ณ น่าน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

 เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้น จตุตถจุลจอมเกล้า (จ.จ.) (ฝ่ายใน) (วิสามัญสมาชิกาจตุตถจุลจอมเกล้า) แด่แม่เจ้าศรีโสภาชายาในเจ้าอุปราช (น้อยมหาพรหม ณ น่าน) เจ้าอุปราชนครเมืองน่าน[1]

ถึงแก่อนิจกรรม

 แม่เจ้าศรีโสภาอัครชายา ได้ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อปี พ.ศ. 2467 (นับปีใหม่วันที่ 1 เมษายน) ในบันทึกความทรงจำของนายสำราญ จรุงจิตรประชารมย์ มหาดเล็กในเจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ กล่าวถึงงานศพแม่เจ้าศรีโสภาว่า

...“ศพของแม่เจ้าศรีโสภา ปลงศพตั้งปราสาท 3 ยอด สวยงามมาก บำเพ็ญกุศล 3 วัน 3 คืน ณ ท้องข่วง มี “การตี๋มวย (ชกมวย)” “ผุยมะนาว (โปรยทาน)” พระศพแม่เจ้าศรีโสภา ตั้งบำเพ็ญพระกุศล 3 วัน 3 คืน แล้วนั้น จึงพระราชทานเพลิง ในระหว่างตั้งปลงพระศพแม่เจ้าศรีโสภา ในการออกบำเพ็ญพระกุศล 3 วัน 3 คืนนั้น นอกจากมีการตีมวย (ชกมวย) และผุยมะนาวแล้ว ยังมีการจุดพลุญี่ปุ่นและอุ่มงัน (สมโภช) ด้วยระนาดปาดก้อง (ฆ้อง) (ปี่พาทย์) วงใหญ่ การบรรเลงเป็นเพลงล้านนาไทยโบราณ เท่าที่ผมจำได้มีเพลงม้าย่อง เพลงม้าตึ๊บคอก (กระทืบ) เพลงปราสาทไหว เพลงกราวนอก เพลงแม่ม่ายก้อม (สั้น) เพลงน้ำตกตาด (เหว) เป็นต้น” (ในการปลงศพ การชกมวย ผุยมะนาวในงานศพจะทำได้เฉพาะงานพระศพของเจ้าผู้ครองนครและเจ้านายชั้นสูงเท่านั้น คนสามัญห้ามทำเด็ดขาด เป็นอาณาสิทธิของเจ้าผู้ครองนคร เว้นพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ให้ทำได้โดยอนุโลม”)

พระราชทานเพลิงศพ

 วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2468 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานจัดหีบเพลิงส่งไปพระราชทานเพลิงพระศพ แม่เจ้าศรีโสภาอัครชายา (จ.จ.) (ชายาองค์ที่ 1) ในเจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 64 ณ สุสานหลวงดอนไชย อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน โดยได้พระราชทานเงิน 1,000 สตางค์ ผ้าขาว 2 พับ กับเครื่องกัณฑ์เทศน์เปนพิเศษเครื่องหนึ่ง[2]

ราชโอรส/ธิดา

[แก้]

 แม่เจ้าศรีโสภาอัครชายา และเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 64 ทรงมีราชโอรส/ราชธิดา ร่วมกัน 4 องค์ ได้แก่

  1. เจ้าสุริยวงศ์ (น้อยอินทนนท์ ณ น่าน)
  2. เจ้านางบัวเขียว สมรสกับ เจ้าราชวงศ์ (สุทธิสาร ณ น่าน)
  3. เจ้าบุรีรัตน์ (ขัติยศ ณ น่าน) สมรสกับ เจ้านางจันทรประภา ณ น่าน
  4. เจ้าราชบุตร (หมอกฟ้า ณ น่าน) สมรสกับ เจ้านางบุญสม ณ น่าน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

ราชตระกูล

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๙ เล่ม ๒๓ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๘๙๓
  2. ราชกิจจานุเบกษา ส่งหีบเพลิงไปพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๘ เล่ม ๔๒ หน้า ๑๙๓๘
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๓ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๘๙๓, ๒๕ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๕