ข้ามไปเนื้อหา

แม่น้ำเฌลัม

พิกัด: 31°12′N 72°08′E / 31.200°N 72.133°E / 31.200; 72.133
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แม่น้ำเฌลัม
ลักษณะทางกายภาพ
ปากน้ำแม่น้ำจนาพ ปากีสถาน
ความยาว725 กิโลเมตร (450 ไมล์)
แผนที่แม่น้ำเฌลัม

แม่น้ำเฌลัม (อังกฤษ: Jhelum River, Jehlam River; ปัญจาบ: ਜੇਹਲਮ) เป็นแม่น้ำสายหลักในประเทศอินเดียและปากีสถาน เป็นหนึ่งในแม่น้ำใหญ่ทั้งห้าสาย (ปัญจนที) ของภูมิภาคปัญจาบและเป็นแม่น้ำสาขาของแม่น้ำสินธุ มีความยาวรวม 725 กิโลเมตร (450 ไมล์)[1] แม่น้ำเฌลัมเป็นแม่น้ำที่อยู่ทางตะวันตกสุดของภูมิภาคปัญจาบ[2] มีต้นน้ำอยู่ที่บ่อน้ำพุเวรีนาค ตีนเขาปีร์ปัญชัล (Pir Panjal) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐชัมมูและกัศมีร์ ไหลผ่านเมืองศรีนครและทะเลสาบวูลาร์ ก่อนจะไหลรวมกับแม่น้ำคุนฮาร์ในหุบเขาคากาน แม่น้ำสายนี้ไหลเข้าแคว้นปัญจาบในปากีสถานที่เขตเฌลัมและไหลผ่านที่ราบปัญจาบไปรวมกับแม่น้ำจนาพที่เขตฌังค์ (Jhang)

ชื่อสันสกฤตของแม่น้ำเฌลัมคือ "วิตัสตา" (Vitasta) ซึ่งตามตำนานเป็นพระนามที่พระศิวะประทานให้พระปารวตีหลังลงมาจุติเป็นแม่น้ำเพื่อปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายตามคำร้องขอของฤๅษีกัศยป[3] ชื่อนี้ยังปรากฏในคัมภีร์ฤคเวทหลายครั้ง ในภาษากรีกโบราณเรียกแม่น้ำสายนี้ว่า "ฮือดัสเปส" หรือ "ไฮแดสพีส" (Hydaspes) โดยในเทพปกรณัมกรีกกล่าวว่า ไฮแดสพีสเป็นบุตรของธอมัส เทพเจ้าแห่งท้องทะเลกับอิเล็กตรา หนึ่งในกลุ่มไพลยาดีส มีพี่น้องคือไอริสและฮาร์พี[4]

แม่น้ำเฌลัมเป็นหนึ่งในจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญในประวัติศาสตร์ ในปีที่ 326 ก่อนคริสต์ศักราช พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชและกองทัพข้ามแม่น้ำแห่งนี้เพื่อทำศึกกับพระเจ้าโปรสในยุทธการที่ไฮดาสเปส[5] (Battle of the Hydaspes) ในปี ค.ศ. 1960 ได้มีการตกลงทำสนธิสัญญาแม่น้ำสินธุ ซึ่งเป็นความร่วมมือทางทรัพยากรน้ำของอินเดียกับปากีสถาน[6] ต่อมาในปี ค.ศ. 1967 ปากีสถานได้สร้างเขื่อนมังคลา (Mangla Dam) ซึ่งเป็นเขื่อนที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลกเพื่อใช้ประโยชน์จากแม่น้ำแห่งนี้

อ้างอิง

[แก้]
  1. Jhelum River -- Encyclopedia Britannica. Retrieved on 2013-10-04.
  2. Jhelum, river, India and Pakistan - Infoplease
  3. The Nilamata Purana English Translation by Dr. Ved Kumari verses 247-261
  4. Encyclopaedia of India, Pakistan and Bangladesh by Om Gupta
  5. Battle of Hydaspes (Article) - Ancient History Encyclopedia
  6. "The Indus Water Treaty - transboundarywaters". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-16. สืบค้นเมื่อ 2015-11-04.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

31°12′N 72°08′E / 31.200°N 72.133°E / 31.200; 72.133