ยุทธการที่แม่น้ำเฌลัม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ยุทธการที่ไฮดาสเปส)
ยุทธการที่แม่น้ำเฌลัม
ส่วนหนึ่งของ สงครามของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช
วันที่พฤษภาคม พ.ศ. 218
สถานที่
แม่น้ำเฌลัม ปัจจุบันอยู่ใน แคว้นปัญจาบ ปากีสถาน
ผล มาเซโดเนียได้ชัยชนะ พระเจ้าโปรสได้รับแต่งตั้งเป็น เซแทร็ป หรือเจ้าประเทศราช
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชครอบครองภูมิภาคปัญจาบทั้งหมด
คู่สงคราม
Hellenistic League
พันธมิตร เปอร์เซีย
พันธมิตร อินเดีย
เปารวะ
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช
เฮฟีสเทียน
ปโตเลมี
พระเจ้าโปรส

ยุทธการที่แม่น้ำเฌลัม หรือ ยุทธการที่ไฮดาสเปส (อักษรโรมัน: Battle of the Hydaspes) เป็นสงครามที่เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 218 ระหว่าง พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช แห่ง มาซิโดเนีย และ พระเจ้าโปรส แห่ง เปารวะ บนฝั่ง แม่น้ำเฌลัม (ภาษากรีกเรียกว่า ไฮดาสเปส) ปัจจุบันอยู่ใน แคว้นปัญจาบ ของ ปากีสถาน โดยบทสรุปของสงครามครั้งนี้กองทัพของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ได้รับชัยชนะ และพระเจ้าโปรสได้รับแต่งตั้งเป็น เซแทร็ป หรือเจ้าประเทศราช

เหตุการณ์ในสงครามโดยย่อ[แก้]

หลายปีต่อมา หลังจากพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชทรงเอาชนะเปอร์เชียได้แล้ว พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ทรงมีพระดำริจะขยายอาณาเขตไปยังชมพูทวีป จึงรวบรวมกองทัพ กำลังไพร่พลและยกกองทัพเดินทางสู่เทือกเขาฮินดูกุซ แคว้นปัญจาบ ของ อินเดีย พระเจ้าอัมพิราชา กษัตริย์แห่งตักศิลา ทรงยอมแพ้แก่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์แต่โดยดี เพราะรู้ว่ากองทัพพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ยิ่งใหญ่มาก หากรบไปก็มีแต่แพ้ยับย่อยเท่านั้น ทำให้พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชทรงสามารถเอาชนะเมืองตักศิลาได้โดยง่าย

เมื่อพระเจ้าโปรส พระราชาแห่งเมืองเปารวะทรงทราบเรื่อง จึงเร่งระดมพลกองทหารราบ ทหารม้า และช้างศึกมากมาย ตั้งทัพคอยที่ริมฝั่งแม่น้ำเฌลัม ฝ่ายพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ก็วางแผนการรบ โดยให้เคลื่อนทัพข้ามแม่น้ำเฌลัมในเวลาเช้ามืด แม้ในขณะนั้นจะมีสายฝนโหมกระหน่ำก็ตาม จนกระทั่งพระเจ้าอเล็กซานเดอร์สามารถนำทัพข้ามแม่น้ำเฌลัมได้สำเร็จ ทั้งสองกองทัพเผชิญหน้ากัน

กองทัพมาซิโดเนียเริ่มโจมตีในขณะที่กองทัพอินเดียไม่ทันระวังตัว ด้วยหวังว่าจะโจมตีได้ง่าย แต่ผิดคาด เมื่อกองทัพช้างที่มีพระเจ้าโปรสนำทัพ สามารถสู้รบกับกองทัพมาซิโดเนียได้อย่างมีชั้นเชิงกว่า เพราะได้เปรียบกว่าในสมรภูมิ ฝ่ายทหารมาซิโดเนียไม่เคยเห็นช้างมาก่อนก็หวาดหวั่น ตกใจเป็นอย่างมากจนเสียรูปกระบวนทัพ อีกทั้งสายฝนที่โหมกระหน่ำลงมาทำให้เกิดดินโคลน ทหารมาซิโดเนียจึงขาดความคล่องตัวในการรบ

ในขณะที่กองทัพมาซิโดเนียกำลังเสียเปรียบนั้น ช้างศึกของพระเจ้าโปรสก็ถูกแหลนของทหารมาซิโดเนียแทงเข้าจุดสำคัญได้รับบาดเจ็บสาหัส สะบัดร่างด้วยความเจ็บปวดจนพระเจ้าโปรุสตกลงมา ทหารมาซิโดเนียเห็นดังนั้นก็รีบเข้าไปจับตัวพระเจ้าโปรสไว้ทันที พระเจ้าโปรสถูกนำตัวมาเข้าเฝ้าพระเจ้าอเล็กซานเดอร์และยอมจำนนแต่โดยดี พระเจ้าอเล็กซานเดอร์เห็นว่าพระเจ้าโปรสยอมอ่อนน้อม จึงให้ครองแคว้นปัญจาบต่อไป แคว้นปัญจาบจึงเป็นเมืองขึ้นของมาซิโดเนียตั้งแต่นั้นมา[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. หนังสือ เรื่อง อเล็กซานเดอร์มหาราช หน้า 37-39

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]