ข้ามไปเนื้อหา

แม่น้ำสตลุช

พิกัด: 29°23′23″N 71°3′42″E / 29.38972°N 71.06167°E / 29.38972; 71.06167
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แม่น้ำสตลุช
ทิวทัศน์แม่น้ำสตลุช
เส้นทางแม่น้ำ
ที่ตั้ง
ประเทศจีน, อินเดีย, ปากีสถาน
รัฐทิเบต, หิมาจัลประเทศ, ปัญจาบ (อินเดีย), ปัญจาบ (ปากีสถาน)
ลักษณะทางกายภาพ
ต้นน้ำทะเลสาบ มานสโรวร-รากัส (Manasarovar-Rakas)
 • ตำแหน่งทิเบต
 • พิกัด30°50′39″N 81°12′17″E / 30.84417°N 81.20472°E / 30.84417; 81.20472
 • ระดับความสูง4,575 เมตร (15,010 ฟุต)
ปากน้ำบรรจบกับแม่น้ำจนาพเพื่อก่อเป็นแม่น้ำปันชนัท
 • ตำแหน่ง
ใกล้ไขร์ปุระ อำเภอพหาวัลปุระ แคว้นปัญจาบ ประเทศปากีสถาน
 • พิกัด
29°23′23″N 71°3′42″E / 29.38972°N 71.06167°E / 29.38972; 71.06167
 • ระดับความสูง
102 เมตร (335 ฟุต)
ความยาวประมาณ 1,450 กิโลเมตร (900 ไมล์)
พื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 395,000 ตารางกิโลเมตร (153,000 ตารางไมล์)
อัตราการไหล 
 • ตำแหน่งรูปนคร[1]
 • เฉลี่ย500 ลูกบาศก์เมตร/วินาที (18,000 ลูกบาศก์ฟุต/วินาที)
อัตราการไหล 
 • ตำแหน่งปันชนัท จุดบรรจบกันของแม่น้ำจนาพ (ทางเหนือของปากแม่น้ำ 71 กิโลเมตร)
 • เฉลี่ย2,946.66 ลูกบาศก์เมตร/วินาที (104,060 ลูกบาศก์ฟุต/วินาที)[2] 63.613 ลูกบาศก์กิโลเมตร/ปี (2,015.8 ลูกบาศก์เมตร/วินาที)
ลุ่มน้ำ
ลำน้ำสาขา 
 • ซ้ายพัสปา
 • ขวาสปีติ, บีอาส, จนาพ

แม่น้ำสตลุช (อังกฤษ: Sutlej River, Satluj River; ปัญจาบ: ਸਤਲੁਜ; สันสกฤต: शतद्रु (ศตทรุ)) เป็นแม่น้ำในประเทศอินเดียและปากีสถาน เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดและอยู่ทางตะวันออกสุดของบรรดาแม่น้ำห้าสาย (ปัญจนาที) ของภูมิภาคปัญจาบ[3][4] และเป็นแม่น้ำสาขาของแม่น้ำสินธุ มีความยาวประมาณ 1,500 กิโลเมตร (932 ไมล์) มีต้นน้ำอยู่ที่ทะเลสาบรากษสตาล (Lake Rakshastal) ทางใต้ของเขาไกรลาสในทิเบต ก่อนจะไหลไปทางตะวันตกเฉียงเหนือเป็นระยะทาง 260 กิโลเมตร (160 ไมล์) เข้าประเทศอินเดียทางช่องเขาชิปกีลา (Shipki La) แล้วไหลลงมาทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นระยะทาง 360 กิโลเมตร (220 ไมล์) ไปรวมกับแม่น้ำบีอาส ที่ใกล้เมืองมาคู (Makhu) รัฐปัญจาบ แม่น้ำสายนี้จะไหลเข้าประเทศปากีสถานต่อไปเพื่อไปรวมกับแม่น้ำจนาพ กลายเป็นแม่น้ำปันชนัทที่ตำบลพหาวัลปุระ (Bahawalpur) แคว้นปัญจาบ และไหลไปรวมกับแม่น้ำสินธุในที่สุด[5]

ในสมัยโบราณหุบเขาแม่น้ำสตลุชตอนต้นถูกเรียกว่า หุบเขาครุฑ โดยชาวจางจุง (Zhangzhung) ซึ่งอาศัยอยู่ในทิเบตตะวันตก ซากปรักหักพังของเมืองจางจุงยังคงพบเห็นได้ในปัจจุบัน ชาวกรีกโบราณเรียกแม่น้ำสตลุชว่า "ซาราดรอส" (Zaradros)[6]

แม่น้ำสตลุชเป็นหนึ่งในแม่น้ำที่อยู่ในสนธิสัญญาแม่น้ำสินธุ ซึ่งเป็นข้อตกลงด้านทรัพยากรน้ำระหว่างอินเดียกับปากีสถาน[7] อินเดียสร้างเขื่อนหลายแห่ง เช่น เขื่อนภาขรา (Bhakra Dam) โรงไฟฟ้าพลังน้ำคาร์ชัมวังทู (Karcham Wangtoo Hydroelectric Plant) และเขื่อนนาถปาฌากรี (Nathpa Jhakri Dam) เพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิตกระแสไฟฟ้า อินเดียเคยมีโครงการที่จะขุดคลองความยาว 214 กิโลเมตร (133 ไมล์) เพื่อเชื่อมแม่น้ำสตลุชกับแม่น้ำยมุนา[8] (คนละสายกับแม่น้ำยมุนาในบังกลาเทศ)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Sutlej valley". The Free Dictionary.
  2. "Rivers Network – Sutlej". riverstnetwork.org. 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 สิงหาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2022.
  3. "Sutlej Facts, information, pictures". Encyclopedia.com.
  4. "Sutlej River". Maps of India.
  5. "Panjnad River – river, Pakistan". Britannica.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2015.
  6. "Sutlej River – river, Asia". Britannica.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2015.
  7. Aaron T. Wolf; Joshua T. Newton. "Case Study of Transboundary Dispute Resolution: The Indus Water Treaty". transboundarywaters. Oregon State University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 ตุลาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2015.
  8. "Sutlej Yamuna Link Canal". india.gov.in. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 สิงหาคม 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]