แบร์ท เทราท์มัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก แบร์ท เทราท์มันน์)
แบร์ท เทราท์มัน
OBE
เกิดแบร์นฮาร์ท คาร์ล เทราท์มัน
22 ตุลาคม ค.ศ. 1923(1923-10-22)
เบรเมิน สาธารณรัฐไวมาร์
เสียชีวิต19 กรกฎาคม ค.ศ. 2013(2013-07-19) (89 ปี)
ลาโยซา Castellón ประเทศสเปน
คู่สมรสMargaret Friar (สมรส 1950; หย่า 1972)
Ursula von der Heyde (สมรส 1974; หย่า 1982)
Marlis Trautmann (สมรส 1986–2013)
บุตร4
อาชีพนักฟุตบอล
ส่วนสูง 1.89 เมตร (6 ฟุต 2 นิ้ว)
ตำแหน่ง ผู้รักษาประตู
สโมสรเยาวชน
Blau und Weiss
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
1948–1949 เซนต์เฮเลนทาวน์ 43 (0)
1949–1964 แมนเชสเตอร์ซิตี 508 (0)
1964 เวลลิงตันทาวน์ 2 (0)
รวม 553 (0)
จัดการทีม
1965–1966 เทศมณฑลสตอกพอร์ต
1967–1968 สโมสรฟุตบอลพรอยเซ่น มึนสเตอร์
1968–1969 สโมสรฟุตบอล เอสซี โอเพล รัสเซลไฮม์
1972–1974 พม่า
1975 แทนซาเนีย
1978–1980 แทนซาเนีย
1980–1983 ปากีสถาน
1983–1988 เยเมนเหนือ
* นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไรช์เยอรมัน
แผนก/สังกัดFlag of the ลุฟท์วัฟเฟอ ลุฟท์วัฟเฟอ
ประจำการ1941–1944
ชั้นยศ Feldwebel
หน่วยกองพลทหารราบที่ 35
บำเหน็จ5 รางวัล (รวมทั้งกางเขนเหล็กขั้นที่หนึ่ง)

แบร์นฮาร์ท คาร์ล "แบร์ท" เทราท์มัน ผู้ซึ่งได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์กางเขนเหล็ก, เครื่องราชอิสริยาภรณ์จักรวรรดิบริติช (โอบีอี) เป็นนักฟุตบอลมืออาชีพชาวเยอรมันที่ทำหน้าที่เป็นผู้รักษาประตูจากสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1949 ถึง ค.ศ. 1964

เขาเกิดและเติบโตในช่วงที่มีการต่อสู้ปะทะกันในช่วงระหว่างสงครามในเยอรมนี เทราท์มันได้เข้าร่วมลุฟท์วัฟเฟอ(กองทัพอากาศเยอรมัน)ในช่วงต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง ทำหน้าที่เป็นพลทหารโดดร่ม เขาได้ต่อสู้รบบนแนวรบด้านตะวันออกเป็นเวลาสามปี ได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์มาห้าเหรียญ รวมทั้งกางเขนเหล็ก ต่อมาในสงคราม เขาได้ถูกย้ายไปประจำการที่แนวรบด้านตะวันตก ซึ่งเขาถูกจับกุมโดยทหารบริติชในช่วงสงครามใกล้จะยุติลง หนึ่งใน 90 นายจากกรมทหารหน่วยของเขาที่มีแต่แรกคือ 1,000 นาย ได้รอดชีวิตจากสงคราม เขาได้ถูกย้ายไปยังค่ายเชลยศึกใน Ashton-in-Makerfield แลงคาเชอร์ เทราท์มันได้ปฏิเสธข้อเสนอการส่งตัวกลับประเทศ และภายหลังจากที่ได้รับการปล่อยตัวในปี ค.ศ. 1948 ได้ตั้งรกรากอยู่ในแลงคาเชอร์ ซึ่งได้ทำงานในฟาร์มกับเล่นฟุตบอลในหน้าที่ผู้รักษาประตูให้กับทีมฟุตบอลท้องถิ่น ณ เมืองเซนต์ เฮเลนส์

การแสดงความสามารถในเมืองเซนต์ เฮเลนส์ ทำให้เทราท์มันได้มีชื่อเสียงว่า เป็นผู้รักษาประตูที่ยอดเยี่ยม ซึ่งได้รับความสนใจจากสโมรสรฟุตบอลลีก ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1949 เขาได้เซ็นสัญญาให้กับสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีซึ่งเป็นสโมสรฟุตบอลที่อยู่ในลีกสูงสุดของประเทศ (First Division) การตัดสินใจของสโมสรที่ได้ให้เซ็นสัญญากับอดีตทหารโดดร่มนาซีเป็นเหตุทำให้เกิดการประท้วงและมีประชาชน 20,000 คน ได้เข้าร่วมขบวนประท้วง เวลาผ่านไป เขาได้รับการยอมรับจากการแสดงความสามารถของเขาในการรักษาประตูของแมนเชสเตอร์ซิตี ซึ่งเขาเล่นได้ทุกนัด แต่เพียงห้าใน 250 นัดรอบต่อไปของสโมสร

ในฐานะที่เป็นนักฟุตบอลแห่งปีของสมาคมผู้สื่อข่าวฟุตบอลจากปี ค.ศ. 1956 เทราท์มันได้เข้าสู่วงการฟุตบอลด้วยการแสดงความสามารถของเขาในการแข่งขันเอฟเอคัพ รอบชิงชนะเลิศ ปี ค.ศ. 1956 ด้วยเวลาที่เหลืออยู่ 17 นาที่ในการแข่งขัน เทราท์มันได้รับบาดเจ็บสาหัสในขณะที่กำลังรักษาประตู ซึ่งโดนเท้าของปีเตอร์ เมอร์ฟี นักฟุตบอลจากสโมสรฟุตบอลเบอร์มิงแฮมซิตีเตะเข้าที่ศีรษะ แม้จะได้รับบาดเจ็บ แต่เขาก็ยังคงเล่นต่อไป ทำให้มีความสำคัญต่อการรักษาประตูเพื่อรักษาการนำของทีมจาก 3 ต่อ 1 คอของเขาได้คดงออย่างเห็นได้ชัดในขณะที่เขาได้รับเหรียญรางวัลชนะเลิศ สามวันต่อมา รังสีเอกซ์ได้เปิดเผยว่า กระดูกคอของเขาได้แตกหักเสียแล้ว

เทราท์มันได้เล่นฟุตบอลให้แมนเชสเตอร์ซิตีจนถึงปี ค.ศ. 1964 ได้ปรากฏตัว 545 ครั้ง ภายหลังจากอาชีพการเล่นฟุตบอล เขาได้ย้ายมาเป็นผู้จัดการฟุตบอล ครั้งแรกกับฝ่ายกองล่างในอังกฤษและเยอรมนี และต่อมาได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาสมาคมฟุตบอลเยอรมันซึ่งได้พาเขาไปหลายประเทศ รวมทั้งพม่า แทนซาเนีย และปากีสถาน ในปี ค.ศ. 2004 เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่กิตติมศักดิ์แห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์จักรวรรดิบริติช(OBE) เพื่อส่งเสริมความเข้าใจกันของอังกฤษ-เยอรมันผ่านทางฟุตบอล เทราท์มันได้เสียชีวิตลงที่บ้านใกล้กับเมืองบาเลนเซีย ประเทศสเปน เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 มีอายุ 89 ปี

อ้างอิง[แก้]

บรรณานุกรม[แก้]

  • Trautmann, Bert (1956). Steppes To Wembley. London: Robert Hale Limited.
  • Rowlands, Alan (2005). Trautmann: The Biography. Derby: Breedon. ISBN 1-85983-491-4.
  • James, Gary (2005). The Official Manchester City Hall of Fame. Hamlyn. ISBN 0-600-61282-1.
  • James, Gary (2006). Manchester City: The Complete Record. Derby: Breedon. ISBN 1-85983-512-0.
  • Clayton, David (2002). Everything Under the Blue Moon: The Complete Book of Manchester City FC – and more!. Edinburgh: Mainstream publishing. ISBN 1-84018-687-9.
  • Penney, Ian (1995). The Maine Road Encyclopedia. Edinburgh: Mainstream. ISBN 1-85158-710-1.
  • Penney, Ian (2008). Manchester City: The Mercer-Allison Years. Derby: Breedon. ISBN 978-1-85983-608-8.
  • Brandon, Derek (1978). A–Z of Manchester Football: 100 Years of Rivalry. London: Boondoggle.

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • Harris, N. (2006). The Foreign Revolution: How Overseas Footballers Changed the English Game. London: Aurum Press Ltd.
  • Ramsden, J. (2006). Don't Mention the War: The British and the Germans since 1890. London: Little, Brown Book Group.
  • Streppelhoff, R. (2009). Zwei Deutsche in England: Die Fußballkarrieren von Bernd Trautmann und Alois Eisenträger. In Peiffer, L. (Hrsg.), SportZeiten. Sport in Geschichte, Kultur und Gesellschaft. (S. 33–51). Göttingen: Werkstatt
  • Clay, Catrine (2010). Trautmann's Journey: From Hitler Youth to FA Cup Legend. Yellow Jersey.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]