ข้ามไปเนื้อหา

แทมมี ดักเวิร์ธ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แทมมี ดักเวิร์ธ
Tammy Duckworth
ดักเวิร์ธ ใน ค.ศ. 2017
สมาชิกวุฒิสภาสหรัฐ
จาก รัฐอิลลินอย
เริ่มดำรงตำแหน่ง
3 มกราคม ค.ศ. 2017
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ ดิก เดอร์บิน
ก่อนหน้ามาร์ก เคิร์ก
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ
จาก รัฐอิลลินอย เขต 8
ดำรงตำแหน่ง
3 มกราคม ค.ศ. 2013 – 3 มกราคม ค.ศ. 2017
ก่อนหน้าโจ วอลช์
ถัดไปราชา กฤษณมูรติ
ผู้ช่วยเลขาธิการกิจการทหารผ่านศึก
สำหรับกิจการสาธารณะและระหว่างรัฐบาล
ดำรงตำแหน่ง
24 เมษายน ค.ศ. 2009 – 30 มิถุนายน ค.ศ. 2011
ประธานาธิบดีบารัก โอบามา
ก่อนหน้าลิเซตต์ เอ็ม. มอนเดลโล
ถัดไปมิเชล กัลลูซิส
ผู้อำนวยการกรมกิจการทหารผ่านศึกรัฐอิลลินอย
ดำรงตำแหน่ง
21 พฤศจิกายน ค.ศ. 2006 – 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009
ผู้ว่าการร็อท บลาโกเจวิจ
ปัท ควิน
ก่อนหน้ารอย ดอลกอส
ถัดไปแดเนียล แกรนท์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
ลัดดา แทมมี ดักเวิร์ธ

(1968-03-12) 12 มีนาคม ค.ศ. 1968 (56 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
เชื้อชาติอเมริกัน ไทย
พรรคการเมืองเดโมแครต
คู่สมรสไบรอัน โบล์สบีย์
บุตร2
บุพการี
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยฮาวาย-มานัว
มหาวิทยาลัยจอร์จวอชิงตัน
มหาวิทยาลัยคาเปลลา
ลายมือชื่อ
เว็บไซต์Government website
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ สหรัฐอเมริกา
สังกัด กองทัพบกสหรัฐ
กองกำลังพิทักษ์มาตุภูมิแห่งรัฐอิลลินอย
ประจำการ2535–2557
ยศ พันโท
หน่วย กองบินทหารที่ 106, กองพลทหารราบที่ 28
ผ่านศึกสงครามอิรัก (ได้รับบาดเจ็บในขณะปฎิบัติหน้าที่)
รางวัล Purple Heart
Meritorious Service Medal
Air Medal
Army Commendation Medal with Oak leaf cluster
Army Reserve Components Achievement Medal with four Oak leaf clusters
Combat Action Badge
Senior Army Aviator Badge

ลัดดา แทมมี ดักเวิร์ธ (อังกฤษ: Ladda Tammy Duckworth; เกิด 12 มีนาคม ค.ศ. 1968) นักการเมืองชาวอเมริกัน เป็นสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐจากรัฐอิลลินอย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐจากรัฐอิลลินอย เขต 8[1] และอดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการทหารผ่านศึกสหรัฐ

ประวัติ

[แก้]

ลัดดา เกิดเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2511 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของร้อยเอกแฟรงก์ แอล. ดักเวิร์ธ กับนางละไม สมพรไพลิน[2] บิดาเป็นทหารผ่านศึกสหรัฐในสงครามโลกครั้งที่สองและสงครามเวียดนาม มารดาเป็นชาวไทยเชื้อสายจีนจากจังหวัดเชียงใหม่[3] ครอบครัวของลัดดาโยกย้ายไปในหลายประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตามหน้าที่การงานของบิดาซึ่งเป็นทหาร แต่จากการที่เธอเคยพำนักอยู่หลายประเทศ นอกจากใช้อังกฤษเป็นภาษาหลัก เธอยังสามารถสื่อสารภาษาไทยในระดับดีมาก และอินโดนีเซียในระดับปานกลาง[4]

เธอเข้ารับการศึกษาจากโรงเรียนสิงคโปร์อเมริกัน, โรงเรียนนานาชาติกรุงเทพ, และโรงเรียนนานาชาติจาร์กาตา[5] เธอสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเพรสซิเดนต์ วิลเลียม แมกคินลีย์ ไฮสกูล ระดับอุดมศึกษาปริญญาตรีสาขารัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาวายวิทยาเขตมานัว, ปริญญาโทสาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจากมหาวิทยาลัยจอร์จวอชิงตัน และปริญญาเอกสาขาบริการประชาชนจากมหาวิทยาลัยคาเปลลา[6]

พันโทหญิงลัดดา แทมมี ดักเวิร์ธ สมรสแล้วกับพันตรีไบรอัน ดับเบิลยู. โบล์สบีย์ เจ้าหน้าที่กองพลสื่อสาร และสหายผ่านศึกในสงครามอิรัก[7] มีลูกสาว 2 คน โดยการทำเด็กหลอด (IVF) เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2557[8] และ พ.ศ. 2561

อาชีพทหาร

[แก้]
พันโทแทมมี ดักเวิร์ธ และพันตรีไบรอัน โบล์สบีย์ สามี

เธอสมัครเข้าร่วมกองทัพสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2535 และเลือกที่จะเป็นนักบินเฮลิคอปเตอร์

ระหว่างที่เธอเข้าร่วมรบในสงครามรุกรานอิรัก เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 เฮลิคอปเตอร์ ยูเอช-60 แบล็กฮอว์ก ที่เธอเป็นนักบินผู้ช่วย ถูกยิงลูกระเบิดเข้ามาในเครื่อง และเกิดระเบิดตรงที่เธอนั่ง ทำให้สูญเสียขาทั้งสองข้าง และแขนข้างขวาพิการ อย่างไรก็ตามแพทย์ก็ได้ทำการต่อแขนข้างขวาให้แก่เธอ แต่เธอต้องนั่งบนรถเข็น และใช้ขาเทียมในเวลาต่อมา[9]

บทบาททางการเมือง

[แก้]

เธอได้รับเลือกเป็นตัวแทนพรรคเดโมแครตในการเลือกตั้งกลางเทอม ที่รัฐอิลลินอย เป็นตัวแทนพรรคในการวิพากษ์วิจารณ์นโยบายอิรัก ของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุชหลายครั้ง ผลการเลือกตั้งเธอพ่ายแพ้คู่แข่งจากพรรครีพับลิกันไปอย่างสูสี ซึ่งห่างเพียงร้อยละ 2[10]

ลัดดาเป็นหนึ่งในตัวเลือกของพรรคเดโมแครต ในตำแหน่งวุฒิสมาชิกจากรัฐอิลลินอย ที่ว่างลงหลังบารัก โอบามา ไปดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา[11] ในต้นปี พ.ศ. 2552 แทมมี ดักเวิร์ธ ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงกิจการทหารผ่านศึกของสหรัฐ[12]

ในปี พ.ศ. 2555 เธอได้ลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขต 8 รัฐอิลลินอย ซึ่งเขตดังกล่าวถือเป็นเขตที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติสูง ประชากรส่วนใหญ่ร้อยละ 84 เป็นคนผิวขาว ส่วนคนเอเชียมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 6 จากจำนวนประชากรทั้งหมด 653,000 คน[5] ในการนี้เธอได้รับเสียงสนับสนุนจำนวนมากโดยเฉพาะจากชาวไทยที่พำนักในชิคาโก ซึ่งชาวไทยกลุ่มดังกล่าวต่างให้การสนับสนุนลัดดา[5] และตัวเธอเองก็ให้สัมภาษณ์กับ วีโอเอ ภาคภาษาไทย เกี่ยวกับการสนับสนุนของชาวไทย ความว่า "รู้สึกดีใจที่ได้รับการสนับสนุนจากชาวไทยและให้กำลังใจในการเข้าสู่สนามเลือกตั้งในครั้งนี้และจะใช้เงินที่ได้รับบริจาคอย่างคุ้มค่าเพราะการหาเสียงในสหรัฐต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก"[5]

ในวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 เธอได้รับชัยชนะการเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยมีคะแนนชนะโจ วอลช์ คู่แข่งจากพรรครีพับลิกัน ร้อยละ 55 ต่อร้อยละ 45 หรือคิดเป็น 120,774 ต่อ 99,922 คะแนน[9] เธอเป็นสตรีทุพพลภาพคนแรกที่ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแห่งสหรัฐอเมริกา

ในปี พ.ศ. 2559[13] เธอได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง​ และกลายเป็นสมาชิกวุฒิสภาของสหรัฐ​​ รวมถึงเป็นวุฒิสมาชิกคนแรกของสหรัฐฯ ที่ให้กำเนิดบุตรขณะดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "พันตรีหญิงลัดดา ผู้สมัครส.ส.สหรัฐสายเลือดไทยคนแรก ชนะเลือกตั้งที่อิลลินอยส์" (Press release). ข่าวสด. 7 พฤศจิกายน 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 มิถุนายน 2014. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2012.
  2. Michel, Lou (30 พฤศจิกายน 2008). "When Tammy Duckworth Speaks for Vets, It is From Experience". Buffalo News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 ธันวาคม 2008.
  3. O'Connor, Joseph; Nguyen, Son (24 สิงหาคม 2019). "US Senator is a woman who speaks Thai - Tammy Duckworth visits Thailand to foster American ties". Thai Examiner (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2020.
  4. Slevin, Peter (19 กุมภาพันธ์ 2006). "After War Injury, an Iraq Vet Takes on Politics". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2007.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 "ชาวไทยในชิคาโกหนุน"ลูกครึ่งไทย"คนแรกลุ้นเป็น ส.ส.สหรัฐ เผยชีวิตสุดอึด!!". ประชาชาติธุรกิจ. 30 สิงหาคม 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 กรกฎาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2012.
  6. "Countdown to commencement". capella.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 เมษายน 2015.
  7. Brown, Mark (14 กุมภาพันธ์ 2007). "Duckworth's husband Iraq-bound". Chicago Sun-Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2007. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2007.
  8. "แทมมี่ ดักเวิร์ธ พบประชาชน". สำนักข่าวไทย. 8 พฤศจิกายน 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 กรกฎาคม 2013.
  9. 9.0 9.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Tam
  10. "Election 2006 Results: State Races, Illinois". CNN. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2007.
  11. Silva, Mark (1 สิงหาคม 2008). "Obama's seat: Jesse Jackson Jr. willing: Who would be willing to accept an open seat from Illinois in the U.S. Senate?". ชิคาโกทริบูน, Washington Bureau blog "The Swamp". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 พฤษภาคม 2012.
  12. ""โอบามา"ตั้ง"แทมมี ดักเวิร์ธ" ผช.รัฐมนตรีก.ทหารผ่านศึก". คมชัดลึก. 5 กุมภาพันธ์ 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2009.
  13. ""ลัดดา แทมมี่ ดัคเวิร์ธ" ชนะเลือกตั้งส.ส.หญิงเชื้อสายไทยคนแรกในประวัติศาสตร์สหรัฐ" (Press release). มติชน. 7 พฤศจิกายน 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2012. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2012.
  14. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ชาวต่างประเทศ (พันตรีหญิง ลัดดา แทมมี ดั๊กเวิร์ด) เก็บถาวร 2017-09-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เล่ม ๑๒๗, ตอน ๑ข, หน้า ๑๗. 15 มกราคม พ.ศ. 2553.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]