เขตโทโยฮิระ
(เปลี่ยนทางจาก แขวงโทโยฮิระ)
เขตโทโยฮิระ 豊平区 | |
---|---|
![]() สำนักงานเขตโทโยฮิระ | |
![]() ที่ตั้งของเขตโทโยฮิระ (เน้นสีม่วง) ในซัปโปโระ | |
พิกัด: 43°00′48″N 141°23′28″E / 43.01333°N 141.39111°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 43°00′48″N 141°23′28″E / 43.01333°N 141.39111°E | |
ประเทศ | ![]() |
ภูมิภาค | ฮกไกโด |
จังหวัด | ![]() |
กิ่งจังหวัด | อิชิการิ |
นคร | ซัปโปโระ |
ก่อตั้ง | 1 เมษายน ค.ศ. 1972 |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 46.23 ตร.กม. (17.85 ตร.ไมล์) |
ประชากร (31 สิงหาคม ค.ศ. 2021) | |
• ทั้งหมด | 224,958 คน |
• ความหนาแน่น | 4,900 คน/ตร.กม. (13,000 คน/ตร.ไมล์) |
เขตเวลา | UTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น) |
สัญลักษณ์ | |
• ดอกไม้ | สึกูบาเนะอาซางาโอะ (พิทูเนีย) |
สำนักงาน | |
• ที่อยู่ | 10-1-1 Hiragishi Rokujyo, Toyohira-ku, Sapporo-shi, Hokkaido 062-8612 |
• โทรศัพท์ | 011-822-2400 |
เว็บไซต์ | www |
เขตโทโยฮิระ (ญี่ปุ่น: 豊平区; โรมาจิ: Toyohira-ku) เป็นเขตหนึ่งในนครซัปโปโระ ในจังหวัดฮกไกโด เขตนี้ถูกจัดตั้งขึ้นมาเมื่อปี ค.ศ. 1972 ในคราวที่นครซัปโปโระได้เป็นเจ้าภาพจัดมหกรรมโอลิมปิกฤดูหนาว 1972
ชื่อ โทโยฮิระ นั้น มาจากภาษาไอนุ ซึ่งมีความหมายว่า "หินผาพังทลาย" เขตนี้มีดอกไม้สัญลักษณ์คือพิทูเนีย และเขตโทโยฮิระยังมีตัวมาสคอต คือ โคริง ที่มีลักษณะเป็นแอปเปิล และ เมตัง ที่มีลักษณะเป็นแกะ
จุดที่น่าสนใจ[แก้]
- ซัปโปโระโดม - สนามกีฬาในร่มขนาดใหญ่ที่สุดของฮกไกโด เป็นสนามเหย้าของสโมสรเบสบอลฮกไกโด นิปปอนแฮม ไฟต์เตอร์ส และสโมสรฟุตบอลคอนซาโดเล ซัปโปโระ
- หอดูดาวฮิตสึจิงาโอะกะ - ผู้เยี่ยมชมสามารถมองทิวทัศน์ของนครซัปโปโระจากบนเนินเขา และยังเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์ของ วิลเลียม เอส. คลาร์ก บิดาแห่งฮกไกโด
- สึกิซามุโดม - สนามกีฬาในร่ม และสถานที่จัดงานสำคัญ
- ศูนย์การกีฬาจังหวัดฮกไกโด (คิตะเยล) - สนามกีฬาในร่ม
- สึกิซามุยิมเนเซียม - สนามกีฬาน้ำแข็งในร่ม
การคมนาคม[แก้]
สายนัมโบกุ
- สถานีนากาโนชิมะ (N11)
- สถานีฮิรางิชิ (N12)
- สถานีมินามิฮิรางิชิ (N13)
สายโทไซ
- สถานีกักกุเอ็มมาเอะ (H10)
- สถานีโทโยฮิราโกเอ็ง (H11)
- สถานีมิโซโนะ (H12)
- สถานีสึกิซามุชูโอ (H13)
- สถานีฟูกูซูมิ (H14)
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เขตโทโยฮิระ
- เว็บไซต์ทางการ (ในภาษาญี่ปุ่น)
![]() |
บทความเกี่ยวกับสถานที่ในประเทศญี่ปุ่นนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |