เอเอช-64 อาพาชี
เอเอช-64 อาปาเช่ | |
---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |
บทบาท | เฮลิคอปเตอร์จู่โจม |
ชาติกำเนิด | สหรัฐ |
บริษัทผู้ผลิต | ฮิวจ์ส เฮลิคอปเตอร์ส แมคดอนเนลล์ ดักลาส โบอิง |
จำนวนที่ผลิต | 1,048 ในปีพ.ศ. 2551[1] |
ประวัติ | |
สร้างเมื่อ | พ.ศ. 2528-ปัจจุบัน |
เที่ยวบินแรก | 30 กันยายน พ.ศ. 2518 |
สายการผลิต | อกุสต้าเวสท์แลนด์ อาปาเช่ |
เอเอช-64 อาปาเช่ (อังกฤษ: AH-64 Apache) (ออกเสียงในภาษาอังกฤษ สำเนียงอเมริกันว่า อ่า-พ้า-ชี่ แต่ชื่อเรียกในภาษาไทยที่รับรู้กันโดยทั่วไปคือ อาปาเช่ [2]) เป็นเฮลิคอปเตอร์โจมตีสองเครื่องยนต์ สี่ใบพัด พร้อมล้อสามล้อ และห้องนักบินแบบเรียงเดียวสำหรับสองที่นั่ง อาปาเช่ถูกพัฒนาในชื่อ โมเดล 77 โดยฮิวจ์ส เฮลิคอปเตอร์สให้กับโครงการของกองทัพบกสหรัฐเพื่อแทนที่เอเอช-1 คอบรา มันได้ทำการบินครั้งแรกในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2518 เอเอช-64 มีจุดเด่นที่ปืนกล เอ็ม230 ขนาด 30 ม.ม. คาลิเบอร์ที่จมูกของมัน เอเอช-64 ยังใช้เอจีเอ็ม-114 เฮลไฟร์และไฮดรา 70 สี่ตำแหน่งบนปีกทั้งสองข้าง เอเอช-64 ยังมีระบบการอยู่รอดที่ดีเยี่ยมสำหรับเครื่องบินและลูกเรือในการต่อสู้ เช่นเดียวกับในกรณีที่มันตกเพื่อช่วยเหลือนักบิน
กองทัพบกเลือกเอเอช-64 แทนที่จะเป็นเบลล์ วายเอเอช-63 ในปีพ.ศ. 2519 ทำให้ฮิวจ์ส เฮลิคอปเตอร์สนั้นรางวัลเป็นสัญญาในการสร้าง ในปีพ.ศ. 2525 กองทัพบกยืนยันการผลิตเต็มรูปแบบ แมคดอนเนลล์ ดักลาสยังทำการผลิตและพัฒนาต่อหลังจากที่ซื้อบริษัทฮิวจ์ส เฮลิคอปเตอร์สมาจากซัมมา คอร์เปอร์เรชั่นในปีพ.ศ. 2527 ในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 235 เอเอช-64ดี อาปาเช่ลองโบว์ลำแรกได้ทำการบินและการผลิตครั้งแรกนั้นก็ถูกส่งให้กับกองทัพบกในปีพ.ศ. 2540 ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2540 โบอิงและแมคดอนเนลล์ ดักลาสรวมเข้าด้วยกันเพื่อกลายเป็นบริษัทโบอิง คอมพานี ในปัจจุบันโบอิงได้ทำการผลิตเอเอช-64 ต่อไป
การพัฒนา
[แก้]เฮลิคอปเตอร์โจมตีที่ล้ำสมัย
[แก้]หลังจากการยกเลิกเอเอช-56 เชยีนตามโครงการของกองทัพอากาศและกองนาวิกโยธินสหรัฐฯ อย่างเอ-10 ธันเดอร์โบลท์ 2 และแฮร์ริเออร์ จัมพ์ เจ็ท กองทัพบกสหรัฐฯ ได้มองหาอากาศยานที่จะมาทำหน้าที่ต่อต้านยานเกราะซึ่งอยู่ใต้คำสั่งของกองทัพบก ในข้อสัญญาคีย์เวสท์ในปีพ.ศ. 2491 ห้ามให้กองทัพบกบังคับการเครื่องบิน กองทัพบกต้องการอากาศยานที่ดีกว่าเอเอช-1 คอบราทั้งในด้านอำนาจการยิง การทำงาน และพิสัย มันอาจต้องสามารถบินเรียบตามพื้นได้[3] เมื่อมาถึงจุดนี้กองทัพบกสหรัฐฯ ได้ประกาศร้องขอเฮลิคอปเตอร์โจมตีใดๆ ก็ตามที่ทันสมัยขึ้นในวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515[4]
ข้อเสนอดังกล่าวมีบิษัทผู้ผลิตยอมรับทั้งสินห้าบริษัทด้วยกัน คือ เบลล์ โบอิง เวอร์ทอล (ทำงานร่วมกับกรัมแมน) ฮิวส์ ล็อกฮีด และซิคอร์สกี้ ในปีพ.ศ. 2516 กระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ ได้ทำการเลือกเบลล์และฮิวส์ [5]
แต่ละบริษัทสร้างเฮลิคอปเตอร์ต้นแบบและเข้าสู่โปรแกรมทดสอบการบิน แบบ 77/วายเอเอช-64เอของฮิวส์เริ่มทำการบินครั้งแรกในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2518 ในขณะที่แบบ 409/วายเอเอช-61เอของเบลล์ทำการบินในวันที่ 1 ตุลาคม[5] หลังจากประเมินผลการทดสอบกองทัพบกได้เลือกวายเอเอช-64เอของฮิวส์ในปีพ.ศ. 2519 เหตุผลที่เลือกวายเอเอช-64เอยังรวมทั้งใบพัดหลักสี่ใบที่ทนทานกว่าและความไม่เสถียรของวายเอเอช-63[6]
เอเอช-64เอเข้าสู่ช่วงที่สองของโครงการ ขั้นตอนนี้มีเพื่อสร้างเอเอช-64 ก่อนการผลิตสามลำ และพัฒนาวายเอเอช-64เอต้นแบบสองลำและสำหรับทดสอบภาคพื้นดินหนึ่งลำ[7] อาวุธและระบบเซ็นเซอร์ยังถูกรวมและทำการทดสอบไปด้วย[5] มันยังรวมทั้งขีปนาวุธเฮลไฟร์แบบใหม่[7]
เข้าสู่การผลิต
[แก้]ในพ.ศ. 2524 เอเอช-64เอสามลำก่อนการสร้างถูกยื่นให้กับกองทัพบกสหรัฐฯ ให้ทำการทดสอบครั้งที่สอง การทดสอบของกองทัพบกนั้นสมบูรณ์แต่ก็ได้ทำารตัดสินใจให้พัฒนาเครื่องยนต์ ที700-จีอี-701 แบบใหม่ที่ให้กำลัง 1,690 แรงม้า[5] ในช่วงท้ายพ.ศ. 2524 เอเอช-64 ถูกตั้งชื่อว่า"อาพาชี่"ตามเผ่าพื้นเมืองของอเมริกัน ฮิวส์ถูกนำเข้าผลิตอย่างเต็มรูปแบบในปีพ.ศ. 2525[5] ในปีพ.ศ. 2526 เฮลิคอปเตอร์ทำการผลิตครั้งแรกถูกนำเสนอที่ฮิวส์ในรัฐอริโซน่า ในพ.ศ. 2527 ฮิวส์ เฮลิคอปเตอร์ถูกซื้อโดยแมคดอนเนลล์ ดักลาสด้วยเงินจำนวน 470 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[8] เฮลิคอปเตอร์ตอ่มากลายมาเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทโบอิงด้วยผู้ประสานงานของโบอิงและแมคดอนเนลล์ในเดือนสิงหาคมพ.ศ. 2540 ในปี 2529 ราคาที่เพิ่มขึ้นหรือบานปลายของเอเอช-64 คือ 7.03 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และราคาประมาณอยู่ที่ 13.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ [8]
ในช่วงกลางถึงปลายปีพ.ศ. 2523 แมคดอนเนลล์ ดักลาสศึกษาแบบพัฒนาของ"เอเอช-64บี"ที่มีห้องนักบินแบบใหม่ ระบบควบคุมการยิงใหม่ และการพัฒนาอื่นๆ ในปี 2531 ได้มีการลงทุนเข้าโครงการพัฒนาเพื่อพัฒนาเซ็นเซอร์และอาวุธและระบบดิจิตอลต่างๆ อย่างไรก็ดีเทคโนโลยีที่พัฒนาแล้วก็ปรากฏตัว มันถูกตัดสินใจยกเลิกโครงการพัฒนา สิ่งนี้นำไปสู่เอเอช-64ดี อาปาเช่ลองโบว์ที่ดีกว่าในช่วงกลางถึงปลายปี 2533[9]
ในพ.ศ. 2547 บริษัทเจเนรัลอิเลคทริคเริ่มผลิตเครื่องยนต์ที700-จีอี-701ดีที่ทรงพลังมากขึ้น มันมีกำลัง 2,000 แรงม้า[10] ราคาทั้งสิ้นของโครงการเอเอช-64ดีอยู่ที่ 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตลอดเดือนเมษายนพ.ศ. 2550[11]
การออกแบบ
[แก้]เอเอช-64 มีขุมกำลังเป็นเครื่องยนต์เทอร์โบชาฟท์แบบเจเนรัลอิเลคทริค ที700 สองเครื่องพร้อมกับท่อไอเสียทั้งสองด้าน อาปาเช่มีใบพัดหลักสี่ใบและใบพัดหางสี่ใบ ลูกเรือจะนั่งเรียงตามหลังกันโดยมีนักบินนั่งอยู่ด้านหลังเหนือนักบินผู้ช่วยหรือพลปืนที่อยู่ด้านหน้า ห้องนักบินและถังเชื้อเพลิงจะหุ้มด้วยเกราะที่ทำให้มันยังสามารถบินได้ถึงแม้ถูกยิงด้วยกระสุนขนาด 23 ม.ม.[12][13]
เฮลิคอปเตอร์นี้ติดอาวุธเป็นปืนกล เอ็ม230 ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับหมวกของนักบินหรือควบคุมผ่านระบบมองกลางคืนได้ เอเอช-64 ยังติดตั้งอาวุธที่ปีกทั้งสองข้างของมันซึ่งจะประกอบด้วยขีปนาวุธต่อต้านรถถังแบบเอจีเอ็ม-114 เฮลไฟร์ จรวดไฮดรา 70 ขนาด 70 ม.ม.และขีปนาวุธอากาศสู่อากาศแบบเอไอเอ็ม-92 สติงเกอร์สำหรับป้องกันตัว[14]
เอเอช-64 ถูกออกแบบมาให้ทนทานกับสภาพแวดล้อมที่แนวหน้าและปฏิบัติการได้ทั้งในตอนกลางวันหรือกลางคืนและในสภาพอากาศที่ย่ำแย่โดยใช้อุปกรณ์อิเลคทรอนิคของมัน อย่าง ระบบมองกลางคืน พลุล่อเป้า และหมวกแบบพิเศษ
ประวัติการใช้งาน
[แก้]สหรัฐอเมริกา
[แก้]อาปาเช่ถูกใช้ต่อสู้ครั้งแรกในการรุกรานปานามาเมื่อพ.ศ. 2532 เอเอช-64เอ อาปาเช่และเอเอช-64ดี อาปาเช่ลองโบว์มีบทบาทสำคัญในสงครามในตะวันออกกลางซึ่งรวมทั้งสงครามอ่าวเปอร์เซีย ปฏิบัติการเอ็นดัวริงฟรีดอมในอัฟกานิสถาน และปฏิบัติการปลดปล่อยอิรัก อาปาเช่ถูกพิสูจน์ว่าเป็นนักล่ารถถังชั้นยอดและยังได้ทำลายยานเกราะนับร้อยซึ่งส่วนใหญ่เป็นของกองทัพอิรัก
ในปฏิบัติการดีเซิร์มสตอร์มเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2534 เอเอช-64เอจำนวนแปดลำที่นำทางโดยเอ็มเอช-53 เพฟโลว์สี่ลำ ถูกใช้เพื่อทำลายที่มั่นเรดาร์ของอิรักเพื่อทำให้เครื่องบินทิ้งระเบิดสามารถเข้าไปในอิรักได้โดยไม่ถูกตรวจจับ[5] นี่เป็นการโจมตีครั้งแรกของดีเซิร์มสตอร์ม[5] อาปาเช่บรรทุกจรวดแบบไฮดรา 70 เฮลไฟร์ และถังเชื้อเพลิงสำรอง[15] ในช่วง 100 ชั่วโมงของสงครามบนพื้นมีเอเอช-64 ทั้งสิ้น 277 ลำเข้าร่วม อาปาเช่ได้ทำลายรถถังกว่า 500 คัน ยานเกราะขนบุคคลและยานพาหนะอื่นๆ จำนวนมากในปฏิบัติการดีเซิร์ทสตอร์ม[5]
การวางพลในบอลข่านได้เกิดขึ้นในช่วงความขัดแย้งในบอสเนียและคอซอวอในปลายปีพ.ศ. 2533 แต่อาปาเช่ก็เจอกับปัญหาซึ่งลดความมีประสิทธิภาพของพวกมัน วิกฤติยังรวมทั้งการขาดการฝึกฝนของลูกเรือและขาดแคลนอุปกรณ์มองกลางคืน ถังเชื้อเพลิง และความอดทนของอากาศยาน อาพาชี่หนึ่งลำตกขณะทำการฝึกในอัลบาเนียเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2542 ในที่สุดทั้งกองบินในบอลข่านก็ถูกทิ้งไว้สองสัปดาห์ในเดือนธันวาคมพ.ศ. 2543 นายพลดิก โคดี้นายทหารผู้บังคับบัญชากองพลขนส่งทางอากาศที่ 101 ในตอนนั้นได้เขียนบันทึกด้วยคำรุนแรงต่อหัวหน้ากองทัพบกถึงความผิดพลาดในการฝึกฝนและอุปกรณ์[16]
ในปฏิบัติการปลดปล่อยอิรักมีอาปาเช่หลายลำได้รับความเสียหายในการต่อสู้ซึ่งรวมทั้งหนึ่งลำที่ถูกยึดได้โดยทหารอิรักใกล้กับคาบาร์ลาในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2546 และได้เผยแพร่ในโทรทัศน์ของอิรัก เฮลิคอปเตอร์ที่ถูกยึดถูกทำลายด้วยการโจมตีทางอากาศหนึ่งวันหลังจากที่มันตก[17] การโจมตีในวันที่ 24 มีนาคมเพื่อจัดการกับกองพลยานเกราะของริพับลิกันการ์ดไม่ประสบความสำเร็จอย่างมาก ทางการสหรัฐฯ อ้างว่ามันเป็นเพราะลูกเรือรถถังได้วางกับดักในภูมิประเทศที่ซับซ้อนโดยใช้ปืนกลหนักของพวกเขาให้ได้ผลอย่างดี[18][19] ในขณะที่ฝ่ายอิรักอ้างว่าอาปาเช่หนึ่งลำถูกยิงตกโดยชาวนาที่ใช้ปืนไรเฟิล[20] เฮลิคอปเตอร์ดังกล่าวไม่เสียหายและทั้งนักบินและนักบินผู้ช่วยก็ไม่ได้รับบาดเจ็บ
เอเอช-64ดีของอเมริกันปัจจุบันบินในอิรักและอัฟกานิสถานโดยปราศจากเรดาร์ระยะไกลเนื่องจากไม่มีภัยคุกตามของยานเกราะต่อกองกำลังของรัฐบาลร่วม[21] อาปาเช่ส่วนมากที่ได้รับความเสียหายอย่างหนักสามารถทำภารกิจต่อไปได้และบินกลับฐานอย่างปลอดภัย ตัวอย่างเช่น อาปาเช่ 33 ลำที่ใช้ในการโจมตีเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2546 มี 30 ลำที่ได้รับความเสียหายจากการยิงของอิรักจนไม่สามารถซ่อมเแซมได้แต่มีเพียงลำเดียวเท่านั้นที่ไม่สามารถบินกลับฐาน[19] เมื่อถึงปี 2551 มีเฮลิคอปเตอร์อาปาเช่ 11 ลำที่ถูกยิงตกโดนศัตรูตลอดทั้งสงครามและอีก 15 ลำตกในอิรักเพราะสาเหตุอื่น
อิสราเอล
[แก้]กองทัพอากาศอิสราเอลใช้อาปาเช่เพื่อทำการโจมตีเป้าหมายมากมายด้วยขีปนาวุธนำวิถี เอเอช-64เอได้โจมตีและทำลายค่ายทหารบางส่วนของกลุ่มเฮซบอลลาห์ในเลบานอนเมื่อพ.ศ. 2533 เป็นการโจมตีในหลายสภาพอากาศและทั้งวันทั้งคืน ในอัล-อาซ่า อินทิฟาด้า กองทัพอิสราเอลได้ใช้อาปาเช่เพื่อสังหารกลุ่มผู้นำฮามาสอย่างอาห์เมด ยาซินและแอดนัน อัลกูลด้วยขีปนาวุธนำวิถี ในความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและเลบานอนในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคมเมื่อปีพ.ศ. 2549 มีเฮลิคอปเตอร์อาปาเช่ของกองทัพอากาศอิสราเอลสองลำชนกันทำให้นักบินหนึ่งคนเสียชีวิตและอีกสามคนบาดเจ็บสาหัส อีกอุบัติเหตุหนึ่งคือเอเอช-64ดี ลองโบว์ของกองทัพอิสราเอลตกที่สังหารนักบินสองคนเนื่องมาจากการขัดข้องทางทคนิค[22]
สหราชอาณาจักร
[แก้]สหราชอาณาจักรใช้อาปาเช่ลองโบว์รุ่นดัดแปลงที่เรียกว่าเวสท์แลนด์ ดับบลิวเอเอช-64 อาปาเช่และถูกเรียกว่าอาปาเช่ เอเอช มาร์ค1 โดยกองทัพบกอังกฤษ เวสท์แลนด์ได้สร้างดับบลิวเอเอช-64จำนวน 67 ลำ[23] ภายใต้ใบอนุญาตจากโบอิงที่แทนที่เครื่องยนต์ด้วยโรลส์-รอยซ์ที่ทรงพลังกว่า ใบพัดที่พับได้วำหรับการปฏิบัติการในกองทัพเรือเป็นอีกการเปลี่ยนแปลงหนึ่งที่สำคัญซึ่งทำให้อาปาเช่ของอังกฤษสามารถทำงานร่วมกับปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบกได้โดยบินออกจากเรือที่บรรทุกมันมา เวสท์แบนด์อาปาเช่ได้เข้ามาแทนที่เวสท์แลนด์ลิงซ์ เอเอช7 ในฐานะเฮลิคอปเตอร์จู่โจมของกองทัพบกอังกฤษ ดับบลิวเอเอช-64 ในปัจจุบันถูกวางพลในอัฟกานิสถานที่ซึ่งพวกมันทำหน้าที่โดดเด่นในการสนับสนุนกองกำลังของสหราชอาณาจักรและรัฐบาลร่วมในทางตอนใต้ของประเทศ[24] ดับบลิวเอเอช-64 อาปาเช่ของอังกฤษใช้เรดาร์ควบคุมการยิงของลองโบว์ในอัฟกานิสถานโดยกล่าวว่ามันช่วยเพิ่มความระวังต่อสถานการณ์[25]
เนเธอร์แลนด์
[แก้]กองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์ได้สั่งซื้อเอเอช-64ดี อาปาเช่จำนวน 30 ลำเมื่อปีพ.ศ. 2539[26] เอเอช-64ดีของเนเธอร์แลนด์นั้นไม่ใช้ลองโบว์ การใช้งานครั้งแรกของพวกเขาเกิดขึ้นในแอฟริกา พวกมันยังถูกวางพลร่วมกับเอเอช-64 ของสหรัฐฯ ในการเข้าสนับสนุนกองกำลังของนาโต้ในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ในปี 2547 เอเอช-64 ของเนเธอร์แลนด์ถูกวางพลในกองกำลังผสมที่อิรัก[27] ในเวลาเดียวกันอาปาเช่ของเนเธอร์แลนด์ถูกวางพลที่คาบูลเพื่อช่วยเหลือกองทัพอากาศอิสราเอล ในเดือนกุมภาพันธ์พ.ศ. 2549 เนเธอร์แลนด์ได้ช่วยกองกำลังนาโต้ในอัฟกานิสถานด้วยการเพิ่มทหารขึ้นเป็น 1,400 นายและเอเอช-64 ก็ถูกส่งไปสนับสนุนเช่นกัน[28]
ผู้ใช้งานรายอื่น
[แก้]ในเดือนกันยายนพ.ศ. 2546 กรีซได้สั่งซื้อเอเอช-64ดีจำนวน 12 ลำโดยมีมูลค่าทั้งสิ้น 675 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (รวมทั้งอาวุธและอื่นๆ) โดยตกลำละ 56.25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สิงคโปร์ได้ซื้อเอเอช-64ดี ลองโบว์อาปาเช่ทั้งสิ้น 20 ลำในระหว่างพ.ศ. 2542 และพ.ศ. 2544 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ซื้อเอเอช-64เอทั้งสิ้น 30 ลำในปีพ.ศ. 2534 และ 2537 ซึ่งพวกมันในตอนนี้ได้พัฒนาเป็นเอเอช-64ดี[29] คูเวตได้สั่งซื้อเฮลิคอปเตอร์ลองโบว์จำนวน 16 ลำ[30] ประเทศอื่นๆ ที่มีอาปาเช่ก็ได้แก่อียิปต์ ญี่ปุ่น และซาอุดิอาระเบีย[31]
เกาหลีใต้กำลังทบทวนแผนในการซื้อเอเอช-64ดีจำนวน 36 ลำในขณะกำลังพัฒนาเฮลิคอปเตอร์โจมตีภายในประเทศโดยมีหุ้นส่วนจากยูโรคอปเตอร์ซึ่งเฮลิคอปเตอร์ดังกล่าวจะมีพื้นฐานมาจากยูโรคอปเตอร์ไทเกอร์[32]
ญี่ปุ่นได้สั่งซื้อเอเอช-64ดีจำนวน 50 ลำ[33] พวกมันจะถูกสร้างภายใต้ใบอนุญาตโดยอุตาหกรรมฟูจิด้วยการส่งเฮลิคอปเตอร์ลำแรกให้กับญี่ปุ่นในปี 2549 [34][35] หลังจากที่เริ่มการส่งในปี 2548[36] อาพาชี่ที่สร้างโดยฟูจิจะใช้ชื่อว่าเอเอช-64ดีเจบี[34]
สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) วางแผนที่จะซื้อเอเอช-64ดีจำนวน 30 ลำให้กับกองทัพบกในปี 2551[37] อินเดียได้ประกาศหาข้อเสนอสำหรับเฮลิคอปเตอร์จู่โจม 22 ลำให้กับกองทัพอากาศอินเดีย อาปาเช่ลองโบว์เป็นหนึ่งในหลายแบบที่เข้าแข่งขันในการสั่งซื้อของกองทัพอากาศอินเดีย[38] แต่โบอิงออกจากการแข่งขันในเดือนตุลาคมพ.ศ. 2551[39]
แบบต่างๆ
[แก้]เอเอช-64เอ
[แก้]เอเอช-64เอเป็นรุ่นต้นตำหรับในการผลิตของเฮลิคอปเตอร์จู่โจม มันมีขุมกำลังเป็นเครื่องยนต์เทอร์โบชาฟท์แบบจีอี ที700 ลูกเรือจะนั่งเรียงตามหลังกันในห้องนักบินที่หุ้มเกราะ
เฮลิคอปเตอร์รุ่นนี้มีอาวุธเป็นปืนกล เอ็ม230 ขนาด 30 ม.ม.ซึ่งเชื่อมติดกับหมวกของพลปืน เอเอช-64เอจะบรรทุกสิ่งอื่นๆ ที่ปีกทั้งสองข้างของมันที่รวมทั้งขีปนาวุธต่อต้านรถถังแบบเอจีเอ็ม-114 เฮลไฟร์ จรวดไฮดรา 70 ขนาด 70 ม.ม. และขีปนาวุธอากาศสู่อากาศแบบเอไอเอ็ม-92 สติงเกอร์เพื่อป้องกันตัว
เอเอช-64บี
[แก้]ในปีพ.ศ. 2534 หลังจากปฏิบัติการดีเซิร์มสตอร์มเอเอช-64บีเป็นการพัฒนาจากเอเอช-64เอจำนวน 254 ลำ การพัฒนารวมทั้งใบพัดแบบใหม่ ระบบจีพีเอส ระบบนำร่อง และวิทยุแบบใหม่ สภาได้อนุมัติเงินจำนวน 82 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเริ่มการพัฒนาอาปาเช่ รุ่นบี โครงการบีถูกยกเลิกในปี 2535[5] วิทยุ การนำร่อง และจีพีเอสได้ถูกนำไปติดตั้งในอาปาเช่แบบเอในเวลาต่อมา
เอเอช-64ซี
[แก้]ด้วยทุนจากสภาในปลายปี 2534 ส่งผลในโครงการพัฒนาเอเอช-64เอเป็นเอเอช-64บี+ ทุนอีกมากเปลี่ยนแผนไปพัฒนาเอเอช-64ซี รุ่นซีนั้นมีความคล้ายคลึงกับลองโบว์ยกเว้นเรดาร์ขนาดใหญ่และเครื่องยนต์แบบใหม่ อย่างไรก็ดีในปีพ.ศ. 2536 รุ่นซีก็ถูกระงับ[5]
การพัฒนายังคงดำเนินต่อไป อย่างไรก็ตามเนื่องมาจากความแตกต่างเดียวระหว่างแบบซีกับแบบดีคือเรดาร์ซึ่งสามารถย้ายไปติดกับอีกแบบหนึ่งได้ การตัดสินใจก็คือทั้งสองแบบไม่แตกต่างกัน
เอเอช-64ดี
[แก้]รุ่นที่ก้าวหน้าอย่างเอเอช-64ดีอาปาเช่ลองโบว์ติดตั้งเซ็นเซอร์และระบบอาวุธที่พัฒนา หัวใจของการพัฒนาที่เหนือกว่าแบบเอก็คือเรดาร์ทรงโดมแบบเอเอ็น/เอพีจี-78 ที่ติดตั้งอยู่ที่ด้านบนของใบพัดหลัก ด้วยตำแหน่งที่สูงขึ้นของเรดาร์ทรงโดมทำให้การตรวจจับวิถีโค้งของขีปนาวุธจากศัตรูได้ในขณะที่มันซ่อนตัวอยู่หลังสิ่งกีดขวาง นอกเหนือจากนั้นโมเดมวิทยุผสมผสานกับเซ็นเซอร์ซึ่งทำให้อาพาชี่แบบบดีนั้นมีข้อมูลของเป้าหมายร่วมกับเอเอช-64ดีลำอื่นได้หากลำหนึ่งมองไม่เห็นเป้าหมาย สิ่งนี้ทำให้กลุ่มของอาปาเช่สามารถเข้าปะทะศัตรูจำนวนมากได้โดยเปิดเผยเพียงแค่เรดาร์ทรงโดมของเอเอช-64ดีลำใดลำหนึ่ง
อากาศยานนี้ถูกติดตั้งด้วยเครื่องยนต์ที700 จีอี 701ซีที่ทรงพลังมากกว่าและห้องนักบินที่รวมเป็นห้องเดียว โครงสร้างส่วนหน้าถูกขยายเพื่อรองรับระบบใหม่ นอกจากนี้มันยังมีความสามารถในการอยู่รอด การสื่อสาร และการนำร่อง
บล็อก 2 อาปาเช่ลำแรกถูกส่งให้กับกองทัพบกสหรัฐฯ ในเดือนกุมภาพันธ์พ.ศ. 2546 บล็อก 2 มีระบบการสื่อสารแบบดิจิตอลเพื่อการสื่อสารผ่านทางอินเทอร์เน็ต[40]
บล็อก 3 เป็นการพัฒนาในปี 2551 ที่มีรวมทั้งการทำให้ระบบเป็นดิจิตอลมากขึ้น ระบบวิทยุที่เชื่อมต่อกัน ระบบขับเคลื่อนและเครื่องยนต์ที่พัฒนา ความสามารถในการควบคุมยูเอวี ใบพัดเหล็กผสมแบบใหม่ และล้อลงจอดที่พัฒนา การทดสอบใบพัดใหม่ประสบความสำเร็จในเดือนมีนาคมพ.ศ. 2547 มันเพิ่มความเร็วของอาพาชี่ อัตราการไต่ระดับ และความจุ[40]
อาปาเช่รุ่นส่งออก
[แก้]รุ่นอื่นจำนวนมากได้ถูกดัดแปลงมาจากทั้งเอเอช-64เอและเอเอช64ดีสำหรับการส่งออก ทางอังกฤษได้สร้างเวสท์แลนด์ ดับบลิวเอเอช-64 อาปาเช่ที่มีพื้นฐานมาจากเอเอช-64ดีพร้อมกับระบบมากมายที่แตกต่างออกไปและรวมทั้งเครื่องยนต์ที่ใหม่และทรงพลังยิ่งขึ้น
ซีอาปาเช่
[แก้]เอเอช-64เอรุ่นสำหรับกองทัพเรือถูกเสนอให้กับกองนาวิกโยธินและกองทัพเรือสหรัฐฯ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2527 ถึงพ.ศ. 2530[6] คอนเซปท์มากมายมีทั้งการเปลี่ยนล้อที่ใช้ลงจอด การบิน และอาวุธที่ได้รับการปรับปรุง[41] การให้ทุนกับรุ่นของกองทัพเรือนั้นไม่สำเร็จและทางนาวิกโยธินก็ยังคงใช้เอเอช-1 ซูเปอร์คอบราต่อในปี 2551[6]
ประเทศผู้ใช้งาน
[แก้]- กองทัพอากาศอียิปต์ได้สั่งซื้อเอเอช-64เอจำนวน 36 ลำในปีพ.ศ. 2538 และถูกพัฒนาให้เป็นเอเอช-64ดีในปีพ.ศ. 2548[33] อียิปต์มีเอเอช-64ดีในปฏิบัติการ 35 ลำเมื่อเดือนมกราคมพ.ศ. 2551[42]
- กองทัพกรีกมีเอเอช-64เอจำนวน 20 ลำและเอเอช-64ดีจำนวน 12 ลำในการสั่งซื้อเมื่อปี 2548[33] กรีซมีเอเอช-64เอจำนวน 20 ลำและเอเอช-64ดีจำนวน 8 ลำในปี 2551[42]
- กองทัพอากาศอิสราเอลมีเอเอช-64เอจำนวน 37 ลำและเอเอช64ดีจำนวน 11 ลำในคลังแสงเมื่อเดือนมกราคมปี 2551[42]
- กองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่นได้สั่งซื้อเอเอช-64ดีจำนวน 50 ลำในปี 2548[33] และมีใช้งานอยู่ 2 ลำในเดือนมกราคมพ.ศ. 2551[42]
- กองทัพอากาศคูเวตได้สั่งซื้อเอเอช64ดีจำนวน 16 ลำในปีพ.ศ. 2547[43] พร้อมกับมีเอเอช-64ดีจำนวน 6 ลำใช้งานในเดือนมกราคมพ.ศ. 2551[42]
- กองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์ได้รับเอเอช-64ดีจำนวน 30 ลำเมื่อปีพ.ศ. 2548[33] พร้อมกับมีเอเอช-64ดีจำนวน 29 ลำในปี 2551[42]
- กองทัพอากาศซาอุดิอาระเบียมีเอเอช-64เอจำนวน 12 ลำ พวกมันจะถูกพัฒนาให้เป็นเอเอช-64ดี ลองโบว์ในปีพ.ศ. 2553[44]
- กองทัพอากาศสิงคโปร์มีเอเอช-64ดีจำนวน 18 ลำในเดือนมกราคมพ.ศ. 2551[42]
- กองทัพอากาศสหรัฐฯอาหรับเอมิเรตส์ได้รับเอเอช-64เอจำนวน 30 ลำในปี 2548[33] ทางกองทัพมีเอเอช-64เอจำนวน 12 ลำและเอเอช-64ดีจำนวน 14 ลำในเดือนมกราคมปี 2551[42]
- กองทัพบกสหรัฐฯ มีเอเอช-64 จำนวน 698 ลำในเดือนมกราคมพ.ศ. 2551[42]
- ผู้สร้าง บริษัท โบอิง ,แมคดอนเนลล์ ดักลาส,และฮิวส์
- เครื่องยนต์ 2 ยีอี ที 700-จีอี-701ซี ให้แรงขับ 1,890 แรงม้า
- ยาว 15.47 เมตร
- สูง 4.95 เมตร
- กว้าง 5.23 เมตร
- พื้นที่ใบพัดประธาน 168.11 ตารางเมตร
- พื้นที่ใบพัดหาง 6.13 ตารางเมตร
- น้ำหนักเปล่า 5,352 กิโลกรัม
- น้ำหนักสูงสุด 10,107 กิโลกรัม
- จำนวนใบพัดหลัก 4 แฉก
- เพดานบินใช้งาน 6,400 เมตร
- เพดานบินตรวจการณ์ 4,115 เมตร
- ความเร็วสูงสุด 365 กิโลเมตร/ชั่วโมง
- รัศมีทำการ 407 กิโลเมตร
- อาวุธ ปืนใหญ่อากาศ เอ็ม 230 เชนกัน ขนาด 30 มม. อัตรายิง 625 นัด/นาที
- อาวุธต่อต้านรถถัง เอจีเอ็ม 114 เฮลไฟล์
- จรวดขนาด 2.75 นิ้ว
- อาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศขนาดเบานำวิถีด้วยอินฟราเรด
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Boeing AH-64 Apache". Jane's: All the World's Aircraft. Jane's Information Group. 13 ตุลาคม พ.ศ. 2543. สืบค้นเมื่อ 2006-06-17.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ Dictionary.com
- ↑ Bishop 2005, pp. 5-6.
- ↑ OAVCSA 1973, p. 10.
- ↑ 5.00 5.01 5.02 5.03 5.04 5.05 5.06 5.07 5.08 5.09 Bishop 2005.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 Donald 2004.
- ↑ 7.0 7.1 The Boeing AH-64 Apache, vectorsite.net, July 1, 2007.
- ↑ 8.0 8.1 Donald 2004, p. 119.
- ↑ Donald 2004, pp. 150-153.
- ↑ "T700-GE-701D Engine Awarded U.S. Army Qualification" เก็บถาวร 2008-11-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, GE Aviation, 4 November 2004.
- ↑ AH-64D Apache Longbow, Deagel.com
- ↑ Donald 2004, p 110.
- ↑ INTRODUCTION FILM FOR A NEW GENERATION OF ATTACK HELICOPTER - THE AH-64 APACHE เก็บถาวร 2009-03-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Official US Army video at Real Military Flix
- ↑ "Helicopter rescue bid for Marine"
- ↑ Taylor, Thomas. "Lightning in the Storm" Hippocrene Books (2003). ISBN 0-7818-1017-5.
- ↑ Apaches Are Ailing Warriors
- ↑ "Downed Apache Blown Up"[ลิงก์เสีย]
- ↑ "U.S. Apache pilots taken prisoner", CNN.
- ↑ 19.0 19.1 Fred Kaplan. "Chop the Chopper: The Army's Apache attack-helicopter had a bad war". Slate. สืบค้นเมื่อ 2007-03-10.
- ↑ "A city and regime steel for reckoning to come". Sydney Morning Herald, 26 March 2003.
- ↑ Defense News[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Boeing Leads Inquiry Into Israeli Apache Crash"[ลิงก์เสีย]
- ↑ "British Army Receives 67th Apache In Ceremony Held At The Farnborough Airshow 2004" เก็บถาวร 2008-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, AgustaWestland, 21 July 2004.
- ↑ "UK troops in first Taleban action", BBC, 23 May 2006.
- ↑ "Brits See Longbow As Key To Apache Ops", DefenseTech.org, November 27, 2007.
- ↑ "Boeing Delivers 30th AH-64D Apache to Royal Netherlands Air Force"
- ↑ "Six Apaches to Iraq to boost security" เก็บถาวร 2007-05-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, government.nl news archive
- ↑ "More Dutch troops for Afghanistan", BBC
- ↑ UAE’s 30-Helicopter Apache Upgrade Program Underway
- ↑ Kuwait Runs Apache Longbow Contract to $262.2 M
- ↑ $67.6M to Convert US and Foreign AH-64s to AH-64D Apache Longbows
- ↑ "South Korea Bids to Buy Second-Hand US Attack Choppers". The Korea Times.
- ↑ 33.0 33.1 33.2 33.3 33.4 33.5 Bishop 2005, pp. 40-44.
- ↑ 34.0 34.1 The Boeing AH-64 Apache. Vectorsite.net, 01 July 2007. Retrieved on November 7, 2008.
- ↑ Fuji Heavy Industries Delivers First Apache Longbow Helicopter to Japanese Government under Boeing Licensing Agreement. Retrieved on November 7, 2008.
- ↑ Boeing AH-64D Longbow Apache.[ลิงก์เสีย] Retrieved on November 7, 2008.
- ↑ "Taiwan to Buy Apaches to Counter China Threat". Defense News. 2007-07-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-30. สืบค้นเมื่อ 2007-10-07.
- ↑ India seeks 22 attack helicopters. Retrieved on November 9, 2008.
- ↑ Govindasamy, Siva. "Bell, Boeing quit Indian attack helicopter contest". Flight International, 10 October 2008.
- ↑ 40.0 40.1 "AH-64A/D Apache Attack Helicopter, USA". สืบค้นเมื่อ 2008-02-16.
- ↑ McDonnell Douglas AH-64 "Sea Apache" project, Aviastar.org, accessed November 11, 2007.
- ↑ 42.0 42.1 42.2 42.3 42.4 42.5 42.6 42.7 42.8 "World Military Aircraft Inventory". 2008 Aerospace Source Book. Aviation Week and Space Technology, January 28, 2008.
- ↑ Donald 2004, p. 157.
- ↑ [http://www.worldtribune.com/worldtribune/WTARC/2008/me_saudis0668_11_04.asp Saudis are top arms buyer in developing world. Retrieved on November 16, 2008.
- ↑ Octavio Diez:Combat Helicopters,Udyat,Spain,2006.ISBN 84-931055-2-X