โคเพตดาก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เทือกเขาโกเปต แด๊ก)
โคเพตดาก
کپه‌داغ
โคเพตดาก มองจากที่ราบอาฮัล
จุดสูงสุด
ยอดKuh-e Quchan
ความสูง
เหนือระดับน้ำทะเล
3,191 เมตร (10,469 ฟุต)
ข้อมูลเชิงขนาด
ยาว650 กม. (404 ไมล์)
ชื่อ
ชื่อท้องถิ่นKöpetdag; کپه‌داغ
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
แผนที่ประเทศอิหร่านแสดงตำแหน่งของเทือกเขา
ประเทศเติร์กเมนิสถาน และ อิหร่าน
พิกัดเทือกเขา38°4′N 57°22.4′E / 38.067°N 57.3733°E / 38.067; 57.3733พิกัดภูมิศาสตร์: 38°4′N 57°22.4′E / 38.067°N 57.3733°E / 38.067; 57.3733

โคเพตดาก (อังกฤษ: Kopet Dag, Kopet Dagh, Koppeh Dagh; เติร์กเมน: Köpetdag; เปอร์เซีย: کپه‌داغ) หรือ เทือกเขาเติร์กเมน-โคราซาน (Turkmen-Khorasan Mountain Range)[1] เป็นเทือกเขาที่ตั้งอยู่ระหว่างพรมแดนอิหร่านเติร์กเมนิสถาน มีความยาวประมาณ 650 กิโลเมตร (400 ไมล์) วางตัวอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลแคสเปียนเรื่อยไปจนถึงแม่น้ำฮารีในอัฟกานิสถาน[2] ยอดเขาที่สูงที่สุดฝั่งเติร์กเมนิสถานอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงอาชกาบัต มีความสูง 2,940 เมตร (9,646 ฟุต) ส่วนฝั่งอิหร่านคือภูเขาคูชาน (Mount Quchan) มีความสูง 3,191 เมตร (10,469 ฟุต)[3]

คำว่า "kopet" หรือ "koppeh" ในภาษาเปอร์เซีย แปลว่า "กอง" ส่วนคำว่า "dag" หรือ "dagh" ในภาษาตุรกี แปลว่า "ภูเขา" "Kopet Dagh" หรือ "Koppeh Dagh" จึงมีความหมายว่า "ภูเขาที่เป็นกอง"

ในทางธรณีวิทยา โคเพตดากก่อตัวขึ้นในสมัยไพลโอซีนกับสมัยไมโอซีน เกิดจากการชนกันของแผ่นอาระเบียกับแผ่นอิหร่าน ก่อนจะชนกับแผ่นยูเรเชียอีกที หินของเทือกเขาส่วนใหญ่เป็นหินตะกอนยุคครีเทเชียสตอนต้น มีส่วนน้อยมาจากยุคจูแรสซิก[4][5] เทือกเขาแห่งนี้ยังคงมีการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาและเกิดแผ่นดินไหวหลายครั้งที่มีขนาด 7.0[6]

พื้นที่ป่าของเทือกเขาโคเพตดากมีพืชพรรณหลายชนิดที่สำคัญกับมนุษย์ เช่น ทับทิม องุ่น มะเดื่อ แอปเปิล ลูกแพร์ เชอร์รี ลูกพรุน และอัลมอนด์

มีการขุดค้นเมืองนิซา (Nisa) ซึ่งเป็นเมืองโบราณของชาวพาร์เธียใกล้กับกรุงอาชกาบัต ในปัจจุบันมีการเปิดรีสอร์ตสกีที่ฝั่งประเทศเติร์กเมนิสถาน โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่สมัยซาปาร์มูรัต นียาซอฟ (Saparmurat Niyazov) อดีตประธานาธิบดีเติร์กเมนิสถาน[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. ,"خرِبِت كُپِتدَگ: Iran". สืบค้นเมื่อ 2010-09-09..
  2. Microsoft Encarta World Atlas, 2001, Microsoft Corporation
  3. Kopet-Dag Range, Encyclopedia Britannica, www.britannica.com
  4. Geological Map of Iran, National Geoscience Database of Iran, www.ngdir.ir
  5. Geological Map of the Middle East, published by Geological Survey of Iran, Second Edition, 1993
  6. Oct. 5, 1948 - More than 110,000 people were killed by 7.3 quake. Staff (11 January 2005) "World's worst natural disasters since 1900" CBS News
  7. Turkmen government announces new construction projects เก็บถาวร 2014-01-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Universal Newswires, accessed on November 15, 2012.