เทศบาลตำบลจอมพลเจ้าพระยา

พิกัด: 13°03′29.4″N 101°11′52.7″E / 13.058167°N 101.197972°E / 13.058167; 101.197972
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลตำบลจอมพลเจ้าพระยา
ทต.จอมพลเจ้าพระยาตั้งอยู่ในจังหวัดระยอง
ทต.จอมพลเจ้าพระยา
ทต.จอมพลเจ้าพระยา
ที่ตั้งสำนักงานเทศบาลตำบลจอมพลเจ้าพระยา
พิกัด: 13°03′29.4″N 101°11′52.7″E / 13.058167°N 101.197972°E / 13.058167; 101.197972
ประเทศ ไทย
จังหวัดระยอง
อำเภอปลวกแดง
จัดตั้ง • 29 กรกฎาคม 2523 (สุขาภิบาลจอมพลเจ้าพระยา)
 • 25 พฤษภาคม 2542 (ทต.จอมพลเจ้าพระยา)
พื้นที่
 • ทั้งหมด2.84 ตร.กม. (1.10 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2565)[1]
 • ทั้งหมด388 คน
 • ความหนาแน่น136.61 คน/ตร.กม. (353.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.05210602
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 999 หมู่ที่ 3 ถนนบ้านค่าย–บ้านบึง ตำบลตาสิทธิ์ อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง 21140
เว็บไซต์jompoljaopraya.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลตำบลจอมพลเจ้าพระยา เป็นเทศบาลตำบลซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 3 ตำบลตาสิทธิ์ ในอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาลจอมพลเจ้าพระยาที่ตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2523[2] และยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลปี พ.ศ. 2542[3] ปัจจุบันเป็นเทศบาลตำบลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ประชากรน้อยที่สุดในประเทศไทย[4]

โรงงานอุตสาหรกรรมในเขตตำบลมาบยางพรและตำบลตาสิทธิ์ (เทศบาลตำบลจอมพลเจ้าพระยา)

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

เทศบาลตำบลจอมพลเจ้าพระยามีอาณาเขตติดต่อกับเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใกล้เคียงดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตาสิทธิ์
  • ทิศใต้ ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเขาคันทรง (อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี)
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตาสิทธิ์
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตาสิทธิ์

ลักษณะภูมิประเทศ[แก้]

ลักษณะภูมิประเทศของเทศบาลตำบลจอมพลเจ้าพระยา มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเนินลูกคลื่น สลับสูงต่ำความลาดเท 3.5% ลักษณะเป็นดินร่วนปนทรายระบายน้ำได้ดี และมีอ่างน้ำหนองค้างคาว (สปริงเวย์) ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ พื้นที่ของเทศบาลฯ แบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ลักษณะ คือ

  • พื้นที่ที่เป็นแหล่งที่พักอาศัย ที่ตั้งของหน่วยงานราชการ และการพาณิชย์ของภาคเอกชน
  • พื้นที่ทางการเกษตร
  • พื้นที่ที่เป็นที่ตั้งของภาคอุตสาหกรรม (นิคมอุตสาหกรรมเหมราชอีสเทิร์นซีบอร์ด)

การศึกษาและศาสนา[แก้]

การศึกษาภายในเขตเทศบาล ประกอบด้วยโรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาฯ คือ โรงเรียนชุมชนบริษัทน้ำตาลตะวันออก และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลจอมพลเจ้าพระยา ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลจอมพลเจ้าพระยาส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และมีวัดอยู่ในเขตเทศบาล 1 วัด คือ วัดจอมพลเจ้าพระยา

ประชากร[แก้]

พื้นที่เทศบาลในระยะเวลาที่เริ่มจัดตั้งเป็นสุขาภิบาลในปี พ.ศ. 2523 มีประชากรทั้งสิ้น 2,519 คน ปัจจุบันมีจำนวนประชากรเหลือเพียง 388 คน แบ่งเป็นชาย 196 คน หญิง 190 คน (เดือนธันวาคม 2565)[4] เป็นเทศบาลตำบลที่มีประชากรน้อยที่สุดในจังหวัดระยองและประเทศไทย

      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน

* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

หมู่บ้าน พ.ศ. 2565[5] พ.ศ. 2564[6] พ.ศ. 2563[7] พ.ศ. 2562[8] พ.ศ. 2561[9] พ.ศ. 2560[10] พ.ศ. 2559[11]
หนองค้างคาว (บางส่วน) 388 669 695 882 928 944 1,015
รวม 388 669 695 882 928 944 1,015

อ้างอิง[แก้]

  1. ประชากรในเขตท้องถิ่นเทศบาลตำบลจอมพลเจ้าพระยา อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง พ.ศ. 2565 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลจอมพลเจ้าพระยา อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 97 (114 ง): 2550–2553. วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2523
  3. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
  4. 4.0 4.1 กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  5. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  6. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
  7. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
  8. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
  9. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
  10. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
  11. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]