เตียวโหลว
เตียวโหลว | |||||||||||
รุ่ยฉีโหลว (瑞石樓; ด้านหลัง) และ จิ่นเจียงโหลว (錦江樓; ด้านหน้า) สองเตียวโหลวของหมู่บ้านจิ่นเจียงหลี่ (錦江里村) | |||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 碉楼 | ||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 碉樓 | ||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | หอตรวจการณ์ | ||||||||||
|
เตียวโหลว (ภาษาจีนกลาง; จีนตัวย่อ: 碉楼; จีนตัวเต็ม: 碉樓; พินอิน: diāolóu) หรือ ติ๊วเหล่า (ภาษากวางตุ้ง; ยฺหวิดเพ็ง: diu1 lau4) หมายถึงหอตรวจการณ์ความสูงกลายชั้นที่พบได้ในหมู่บ้านตามชนบท ส่วนใหญ่พบได้ในไคผิง มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน[1] ในปี ค.ศ. 2007 ยูเนสโกขึ้นทะเบียนให้ บรรดาเตียวโหลวและหมู่บ้านแห่งไคผิง (开平碉楼与村落) เป็นแหล่งมรดกโลก ซึ่งรวมถึงเตียวโหลวที่สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 19-20 ด้วยสถาปัตยกรรมผสมผสานแบบจีนและยุโรป[2]
เตียวโหลวมีการก่อสร้างมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิงจนถึงต้นศตวรรษที่ 20 และมีการสร้างมากที่สุดในสมัยขุนศึกเมื่อทศวรรษ 1920 ถึง 1930 โดยได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนจากชาวจีนโพ้นทะเล และมีการสร้างเตียวโหลวขึ้นมากกว่า 3,000 หอ ปัจจุบันเป็นที่คาดการณ์ว่ามีเตียวโหลวเพียง 1,800 แห่งที่ยังเหลืออยู่ในหมู่บ้านตามชนบทของไคผิง ส่วนใหญ่ถูกทิ้งร้าง[1] นอกจากนี้ยังสามารถพบเตียวโหลวในพื้นที่อื่น ๆ ของมณฑลกวางตุ้ง รวมถึงในเซินเจิ้นและตงกว่าน[3]
ในปลายศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 ด้วยความไม่มั่นคงทางสังคมและความอดอยาก[4] ไคผิงกลายมาเป็นศูนย์กลางสำคัญหนึ่งของการอพยพไปโพ้นทะเล ร่วมกับพื้นที่อื่น ๆ ในแถบเซย์ยับ[5] เตียวโหลวที่สร้างขึ้นในสมัยต้นศตวรรษที่ 20 จำนวนมากสร้างขึ้นตามศูนย์กลางของการอพยพเหล่านี้ เงินทุนจากชาวจีนอพยพไปโพ้นทะเลได้ถูกส่งกลับมายังตระกูล หมู่บ้าน หรือเผ่าของตน และถูกนำไปใช้สร้างหอสังเกตการณ์[1] แม้ว่าเตียวโหลวจะสร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการป้องกันการรุกรานจากผู้บุกรุก แต่บางเตียวโหลวก็ใช้งานเพื่อการอยู่อาศัยด้วย บ้างสร้างขึ้นโดยครอบครัวเดี่ยว ๆ และบ้างวร้างขึ้นโดยหลายครอบครัวไปจนถึงจากชุมชนของหมู่บ้าน ไคผิงได้กลายมาเป็นหม้อหลอมวัฒนธรรมที่ชาวจีนโพ้นทะเลนำกลับมา[6] ซึ่งแสดงออกผ่านการก่อสร้างเตียวโหลวด้วยองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของยุโรปมาผสมผสาน[1]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 Batto, Patricia R.S. (July–August 2006). แปลโดย Jonathan Hall. "The Diaolou of Kaiping (1842–1937): Buildings for dangerous times". China Perspectives (ภาษาอังกฤษ). 2006 (4). doi:10.4000/chinaperspectives.1033. สืบค้นเมื่อ 25 May 2017.
...the diaolou were built in the countryside, in villages and on the initiative of the peasants themselves. Contrary to normal expectations, thanks to emigration we can see a certain “cosmopolitanism” among the peasants in Kaiping... the diaolou are the epitome of overseas Chinese culture, embodied in stone.
- ↑ "Kaiping Diaolou and Villages". UNESCO World Heritage Centre. United Nations Educational, Scientific, and Cultural Organization.
- ↑ "凤岗碉楼记". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 October 2016. สืบค้นเมื่อ 9 May 2016.
- ↑ Woon, Yuen-fong (1984). Social organization in South China, 1911–1949: the case of the Kuan lineage in K'ai-p'ing county. Ann Arbor, MI: Center for Chinese Studies, University of Michigan. ISBN 0-89264-051-0.
- ↑ Pan, Lynn (1999). The Encyclopedia of the Chinese Overseas. Cambridge, MA: Harvard University Press. p. 36. ISBN 0674252101.
- ↑ Pan, Lynn (1999). The Encyclopedia of the Chinese Overseas. Cambridge, MA: Harvard University Press. pp. 28–29. ISBN 0674252101.