ข้ามไปเนื้อหา

เซียนเปย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เซียนเปย์
อักษรจีนตัวเต็ม鮮卑
อักษรจีนตัวย่อ鲜卑
แผ่นป้ายม้าบิน วัฒนธรรมเซียนเปย์ มณฑลมองโกเลียใน ประเทศจีน ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาลถึงคริสต์ศตวรรษที่ 1
รัฐเซียนเปย์ (ศตวรรษที่ 1-3)

เซียนเปย์ (/ʃjɛnˈb/; จีนตัวย่อ: 鲜卑; จีนตัวเต็ม: 鮮卑; พินอิน: Xiānbēi) เป็นชนร่อนเร่โบราณซึ่งสันนิษฐานว่าอาจเป็นชนชาติในตระกูลโพรโต-มองโกล[1] ที่ครั้งหนึ่งเคยอาศัยอยู่ในทุ่งหญ้าสเตปป์ในยูเรเชียตะวันออก ในบริเวณที่เป็นประเทศมองโกเลีย เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีนในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีทฤษฎีอื่น ๆ ที่หนักแน่นว่าชนเซียนเปย์เป็นสมาพันธ์หลายเชื้อชาติที่มีอิทธิพลจากกลุ่มชนมองโกลและกลุ่มชนเติร์ก[2][3] กลุ่มชนเซียนเปย์มาจากกลุ่มชนตงหูที่แตกออกเป็นชนเผ่าอูหฺวานและเซียนเปย์หลังถูกชนเผ่าซฺยงหนูตีแตกพ่ายเมื่อปลายศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์กาล ชาวเซียนเปย์ส่วนใหญ่เป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของชนร่อนเร่ที่มีอำนาจมากกว่าและราชวงศ์ฮั่น จนกระทั่งขึ้นมีชื่อเสียงในปี ค.ศ. 87 จากการสังหารโยฺวหลิว ผู้เป็นฉาน-ยฺหวีของชนเผ่าซฺยงหนู

หลังจากพ่ายแพ้หลายครั้งในช่วงปลายยุคสามก๊ก ชาวเซียนเปย์ก็อพยพลงใต้และตั้งรกรากใกล้กับชุมชนชาวฮั่นและยอมเป็นประเทศราช จึงได้รับบรรดาศักดิ์เป็นกง เนื่องจากเผ่าเซียนเปย์มู่หรง, ทั่วป๋า และตฺว้าน เป็นหนึ่งในห้าชนเผ่าที่เป็นประเทศราชของราชวงศ์จิ้นตะวันตกและจิ้นตะวันออก จึงมีส่วนร่วมในการก่อจลาจลของห้าชนเผ่าในฐานะพันธมิตรของราชวงศ์จิ้นตะวันออกเพื่อต่อต้านอนารยชนอีกสี่เผ่าคือซฺยงหนู, เจี๋ย, ตี และเชียง[4][5]

มีช่วงหนึ่งที่ชาวเซียนเปย์พ่ายแพ้และถูกพิชิตโดยราชวงศ์เฉียนฉินที่นำโดยชาวตี ก่อนที่จะล่มสลายไม่นานหลังจากพ่ายแพ้ในยุทธการที่แม่น้ำเฝย์โดยราชวงศ์จิ้นตะวันออก ต่อมาชาวเซียนเปย์ได้ก่อตั้งราชวงศ์ของตนเองและรวมจีนตอนเหนืออีกครั้งภายใต้ราชวงศ์เว่ย์เหนือ รัฐเหล่านี้มีทั้งที่ต่อต้านและส่งเสริมการทำให้เป็นจีน แต่มีแนวโน้มไปทางส่งเสริมและได้รวมเข้ากับประชากรจีนทั่วไปโดยราชวงศ์ถัง[6][7][8] [9][10] ราชวงศ์เว่ย์เหนือยังจัดให้ชนชั้นสูงชาวฮั่นแต่งงานกับลูกสาวของราชวงศ์ชาวทั่วป๋าในช่วงทศวรรษที่ 480[11] มากกว่าร้อยละ 50 ของเจ้าหญิงชาวทั่วป๋าเซียนเปย์แห่งราชวงศ์เว่ยเหนือแต่งงานกับชายชาวฮั่นทางตอนใต้จากพระราชวงศ์และขุนนางจากราชวงศ์ใต้ที่แปรพักตร์และย้ายไปทางเหนือเพื่อเข้าร่วมกับราชวงศ์เว่ย์เหนือ

อ้างอิง

[แก้]
  1. Kradin N. N. (2011). "Heterarchy and hierarchy among the ancient Mongolian nomads". Social Evolution & History.
  2. Wolfgang-Ekkehard Scharlipp Die frühen Türken in Zentralasien, Darmstadt 1992, p. 10
  3. Bartolʹd, V. V. (2007). Turkestan down to the Mongol invasion (ภาษาอังกฤษ). [London]: E.J.W. Gibb Memorial Trust. p. 25. ISBN 978-0906094006. สืบค้นเมื่อ 15 January 2023.
  4. de Crespigny 2017.
  5. Theobald, Ulrich. "Xianbei 鮮卑". Chinaknowledge.de. สืบค้นเมื่อ 24 January 2022.
  6. "The Sixteen States of the Five Barbarian Peoples 五胡十六國". Chinaknowledge.de.
  7. Gernet, Jacques (1996). A History of Chinese Civilization. Cambridge University Press. pp. 186–87. ISBN 9780521497817.
  8. Tanigawa, Michio; Fogel, Joshua (1985). Medieval Chinese Society and the Local "community". University of California Press. pp. 120–21. ISBN 9780520053700.
  9. Van Der Veer, Peter (2002). "Contexts of Cosmopolitanism". ใน Vertovec, Steven; Cohen, Robin (บ.ก.). Conceiving Cosmopolitanism: Theory, Context and Practice. Oxford University Press. pp. 200–01. ISBN 9780199252282.
  10. Dardess, John W. (2010). Governing China: 150–1850. Hackett. p. 9. ISBN 9781603844475.
  11. Rubie Sharon Watson (1991). Marriage and Inequality in Chinese Society. University of California Press. pp. 80–. ISBN 978-0-520-07124-7.

บรรณานุกรม

[แก้]

 

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]