ข้ามไปเนื้อหา

เฉิน ตู๋ซิ่ว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เฉิน ตู๋ซิ่ว
陳獨秀
เฉิน ตู๋ซิ่ว ในราวช่วงต้นทศวรรษที่ 1940
เลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน
ดำรงตำแหน่ง
23 กรกฎาคม พ.ศ. 2464 – 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2471
(6 ปี 344 วัน)
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปเซี่ยง จงฟา
ประธานคณะกรรมการบริหารพรรคคอมมิวนิสต์จีน
ดำรงตำแหน่ง
23 กรกฎาคม พ.ศ. 2464 – 7 สิงหาคม พ.ศ. 2470
(6 ปี 15 วัน)
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปยุบเลิกตำแหน่ง
เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน
ดำรงตำแหน่ง
23 กรกฎาคม พ.ศ. 2464 – 7 สิงหาคม พ.ศ. 2470
(6 ปี 15 วัน)
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปยุบเลิกตำแหน่ง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด8 ตุลาคม พ.ศ. 2422
อานชิง มณฑลอานฮุย จักรวรรดิชิง
เสียชีวิต27 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 (62 ปี)
เจียงจิน ฉงชิ่ง มณฑลเสฉวน สาธารณรัฐจีน
เชื้อชาติจีน
พรรคการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีน (2464–72)
คู่สมรสเกา เสี่ยวหลาน (高晓岚)
เกา จฺวินม่าน (高君曼)
บุตร7
ศิษย์เก่าวิทยาลัยฉิวชื่อ (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยเจ้อเจียง)
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม陳獨秀
อักษรจีนตัวย่อ陈独秀
Courtesy name
ภาษาจีน仲甫
Pen name
อักษรจีนตัวเต็ม三愛
อักษรจีนตัวย่อ三爱
ความหมายตามตัวอักษรThree Loves

เฉิน ตู๋ซิ่ว (จีน: 陳獨秀; พินอิน: Chén Dúxiù; เวด-ไจลส์: Ch'en Tu-hsiu; 8 ตุลาคม พ.ศ. 2422 – 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2485) เป็นนักปฏิวัติสังคมนิยม นักการศึกษา นักปรัชญา และนักเขียนชาวจีน เขาเป็นผู้ร่วมก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีนกับหลี่ ต้าจาวในปี พ.ศ. 2464 และดำรงตำแหน่งเลขาธิการคนแรกของพรรคระหว่างปี พ.ศ. 2464–2470 เฉินมีบทบาทสำคัญในการปฏิวัติซินไฮ่ที่โค่นล้มราชวงศ์ชิง และยังเป็นผู้นำในขบวนการ 4 พฤษภาคม เพื่อการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และประชาธิปไตยในช่วงต้นยุคสาธารณรัฐจีน หลังจากถูกขับออกจากพรรคคอมมิวนิสต์จีนในปี พ.ศ. 2472 ช่วงเวลาหนึ่ง เฉินยังเป็นผู้นำขบวนการลัทธิทรอตสกีในจีนอีกด้วย

บ้านบรรพบุรุษของเฉินอยู่ที่เมืองอานชิง มณฑลอานฮุย ซึ่งเขาได้ก่อตั้งวารสารภาษาจีนพื้นถิ่นอันทรงอิทธิพล นั่นคือ “ซินชิงเหนียน” (新靑年) เพื่อสนับสนุนการโค่นล้มรัฐบาลชิง เฉินได้เข้าร่วมสมาคมผู้ภักดียฺเว่เฟย์ (ยฺเว่หวังฮุ่ย) (จีน: 岳王會; พินอิน: Yuèwáng huì) ซึ่งแยกตัวออกมาจากสมาคมเกอเหล่าฮุ่ย ในมณฑลอานฮุยและหูหนาน[1]

ประวัติ[แก้]

วรรณกรรม[แก้]

ผลงานทางปัญญาและข้อพิพาท[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Chao, Anne S. (2017). "The Local in the Global: The Strength of Anhui Ties in Chen Duxiu's Early Social Networks, 1901–1925". Twentieth-Century China. 42 (2): 113–137. doi:10.1353/tcc.2017.0015. ISSN 1940-5065.